More
    spot_img

    รีวิว 5 จุดเด่น/จุดด้อย Honda City 1.0Turbo RS ใหม่

    กลับมาอีกครั้งกับการรีวิวรถยนต์ของทีมงาน car2day ในวันนี้เรามากับรถซับคอมแพ็คยอดนิยม ที่ผันตัวมาช่วงชิงตลาดในกลุ่ม eco car อย่าง Honda City ใหม่ รหัส GN1  เครื่อง 1.0 ลิตร turbo ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้จะเน้นไปที่จุดเด่นจุดด้อยของ Honda City ใหม่ รุ่นท็อป RS รวมไปถึงสิ่งที่น่าสนใจที่ยังไม่มีใครพูดถึงมากนัก

    5 จุดเด่น ใน Honda City Turbo 

    1. จุดเด่นแรกเลยคือมิติตัวถังที่ใหญ่และยาวขึ้นในทุกมิติ โดยยาวกว่ารุ่นเดิม 113 มม. และกว้างขึ้นอีก 53 มม. แต่กลับมีฐานล้อที่สั้นลง 11 มม. ซึ่งโดยรวมถือว่าใหญ่กว่าคู่แข่งคลาสเดียวกันแทบทั้งหมด โดยมีขนาดตัวรถที่ได้เปรียบคู่แข่งคลาสเดียวกันในทุกมิติ Honda City มีความยาวตัวรถที่ 4,553 มม. กว้าง 1,748 มม. สูง 1,467 มม. ซึ่งมากกว่า Nissan Almera ที่ยาว 4,495 มม. กว้าง 1,740 ยาวกว่ามาสด้า 2 ซีดาน ซึ่งสั้นที่สุดเพียง 4,340 มม. และยาวกว่า ซูซูกิ เซียส ที่ดูใหญ่สุดอยู่ 48 มม. แถม Honda City ใหม่ยังกว้างกว่าถึง 18 มม. อีกด้วย

    2. ไฟหน้าและไฟท้ายสวยและทันสมัยสไตล์ยุโรป โดยเฉพาะรุ่น RS ที่มีไฟหน้าแบบ LED หลายดวงแยกกัน ซึ่งส่องสะท้อนผ่านรีเฟลกเตอร์ที่เรียงเป็นแถวยาว คล้ายกับไฟแบบ Matrix LED กับใน Audi และ Mercedes Benz ซึ่ง Honda ใช้มาตั้งแต่ Civic, Accord และ CR-V ในรุ่นท็อป ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีส่องสว่างที่ล้ำหน้ากว่าไฟ LED แบบพื้นๆในคู่แข่ง เช่นเดียวกับไฟท้ายแบบ LED Tube ซึ่งออกแบบคล้ายกับไฟท้ายของ BMW Series 3 ใหม่ ได้อย่างสวยงามและลงตัว รวมถึงแม็กขอบ 16 และวัสดุตกแต่งสีดำเงาแบบ glass black ที่ทำให้รถดูดีขึ้น แม้จะดูแลรักษายากหน่อยแต่ก็คุ้มกับความสวยงามที่ได้มา แถมไฟท้ายแบบ LED Tube ดีไซน์คล้ายรถยุโรป ที่ชื่อรุ่นขึ้นต้นด้วยเลข 3 ก็สวยงามลงตัว รวมถึงการตกแต่งจุดต่างๆด้วยวัสดุ

    3. การปรับโฉมครั้งที่ 7 ของ city ในตลาดโลก และเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 4 ในบ้านเรา จากรหัส GM6 ปี 2014 มาเป็น GN1 ครั้งนี้ City ใหม่มาพร้อมขุมพลัง 3 สูบ 12 วาล์ว แบบ down sizing รหัส P10A แทนเครื่องวีเทค 1.5 รหัส L15A บล็อกฮิตที่ประจำการทั้งใน Jazz, City และ Freed โฉมที่แล้ว///เครื่องยนต์ขนาด 1.0 ลิตร เทอรโบ ใน Honda City ใหม่ นั้นเด่นที่ความแรงแซงหน้าคู่แข่งทั้งเครื่องพันโบด้วยกัน และกินเรียบไปจนถึงเครื่องที่ใหญ่กว่าในอีโคคาร์ และรถซับคอมแพ็คเกือบทุกรุ่น ด้วยตัวเลข 122 แรงม้า พร้อมแรงบิด 173 นิวตันเมตร มากกว่า Almera เครื่อง 1 ลิตรพ่วงโบเหมือนกัน ที่มีม้าแค่ 100 ตัว และแรงบิดเพียง 153 นิวตัน นอกจากนี้เครื่อง P10A ยังเด่นในด้านเทคโนโลยีที่ เช่น การใช้อินเตอร์แบบน้ำระบายความร้อนให้เทอร์โบ โดยว่าไว้ด้านข้างเครื่องยนต์ ซึ่งระบายความร้อนได้ดีในประเทศที่รถติดอย่างบ้านเรา รวมถึงเวสต์เกตที่ควบคุมด้วยไฟฟ้า ที่น่าจะทำงานได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ///นอกจากนี้ยังเด่นในเรื่องของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเทอร์โบของ brog warner ที่ระบายความร้อนด้วยอินเตอร์แบบน้ำวางอยู่ข้างเครื่อง ซึ่งระบายความร้อนได้ดีในประเทศที่รถติดอย่างบ้านเรา รวมถึงเวสต์เกตที่ควบด้วยไฟฟ้า ที่น่าทำงานได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

    4. เกียร์ CVT ใน Honda City ใหม่ เป็นอีกหนึ่งจุดเด่น ที่แตกต่างจากเกียร์แบบสายพานทั่วๆไปในคู่แข่ง โดยออกแบบเกียร์ ให้มีจังหวะการเปลี่ยนอัตราทดแบบเกียร์ทอร์ค เมื่อลากสุดๆราว 5,500 รอบในแต่ละเกียร์ ทำให้ขับสนุกกว่าเกียร์  CVT ทั่วๆไป และยังไม่มีอาการกระตุกที่ความเร็วต่ำเมืาอเทียบกับ CVT ในอีโคคาร์บางรุ่น

    5. เด่นที่จำนวนถุงลมนิรภัย ที่มีถึง 6 จุดทั้งคู่หน้า, ด้านข้าง และม่านนิรภัยในรุ่น RS ซึ่งมากกว่ารถซับคอมแพ็คบางคันที่มีแค่ 2 เต็มที่ก็ 4 จุดเท่านั้น นอกจากนี้ Honda ยังใจป้ำติดตั้งระบบ Honda Connect มาให้ในรุ่นท็อป ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานะรถ สั่งสตาร์ตเครื่อง สั่งเปิดแอร์ เปิดไฟหน้า รวมถึงเตือนเช็คระยะและอื่นๆอีกเพียบ ซึ่งตรงนี้ไม่มีติดตั้งมาให้ในคู่แข่งคลาสเดียวกัน

    5 จุดด้อยใน Honda City Turbo

    1. แม้มิติตัวถังจะได้เปรียบคู่แข่งก็ตาม แต่ในทางกลับกัน  Honda City ใหม่ กลับมีภาพรวมของเส้นสายตลอดคันที่ไม่ลงตัว คือช่วงหัวใหญ่ ช่วงกลางและท้ายเล็กเมื่อเทียบกับทั้ง Nissan Almera และ Mazda 2 ซึ่งมีเส้นสายที่ดูลงตัวกว่า อีกจุดคือชุดครีบ ดิฟฟิวเซอร์ ใต้กันชนหลังลายคาร์บอน ที่ดูเหมือนชุดแต่งราคาถูก ถ้าเป็นดำด้านไปเลยน่าจะดูดีกว่า

    2. ห้องโดยสารดูสวยแต่ไม่ดึงดูด นอกจากความกว้างขวางนั่งสบาย คอนโซลน่าดีไซน์ไม่ตื่นตาเท่าไหร่นัก หน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้ว แม้จะใช้งานได้หลากหลาย เชื่อมต่อ Apple carplay ได้ไม่แพ้เจ้าอื่น และสามารถสั่งการผ่านปุ่มที่พวงมาลัยได้ก็ตาม แต่วัสดุที่เลือกใช้นั้นดูธรรมดาไม่โดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อเทียบกับคู่แจ่งอย่าง Mazda 2

    3. เครื่องยนต์ 3 สูบมีอาการสั่นกระพือที่รอบเดินเบา อัตราเร่งโดยรวมคือช่วงสปีดต้นอาจไม่เร้าใจเหมือนตัวเลขที่เคลม เมื่อกดคันเร่งออกตัวเต็มแรงมีอาการรอจังหวะจนถึง 1,000 รอบถึงจะมีแรงดึงนิดหน่อยไม่หนักมาก พร้อมไต่ความเร็วไปถึง 100 กม./ชม. ใช้เวลาประมาณ 12 วินาทีกว่าๆ////ส่วนในเรื่องความประหยัดนั้น ตัวเลขที่ได้ในวันขับทดสอบในลักษณะวิ่งช้าบ้าง เร็วบ้างบางช่วงแบบใช้งานปกติคือ 14-15 กม./ลิตร ซึ่งก็ถือว่าไม่กินมากแต่ก็ไม่ประหยัดจนต้องทึ่ง แต่ที่ประหยัดลงแน่นอนคือภาษี ต่อปีไม่ถึง 1 พันบาท

    4. City ใหม่ไม่มีชุดออยส์เกียร์สำหรับช่วยระบบความร้อนให้กับระบบเกียร์ ตรงนี้จะมีผลต่อเกียร์หรือไม่ในระยะยาวคงต้องคอยติดตามดูกันอีกที ที่สำคัญเติม E85 ไม่ได้นะสำหรับรุ่นนี้////ช่วงล่างขับแล้วดูไม่แตกต่างจากรุ่นเดิมมากนัก จากช่วงล่างแบบเดิมอิสระด้านหน้า ด้านหลังทอร์ชั่นบีม ซึ่งเน้นความคล่องตัวเป็นจุดขาย วงเลี้ยว 5.0 ลัดเลี้ยวไปมาในที่แคบได้สบาย ความนุ่มนวลถือว่ารับได้ แม้ยังมีอาการเด้งเล็กน้อยคล้ายรุ่นเดิม แต่ก็ไม่นิ่มยวบยาบจนเสียอาการ

    5. ออฟชั่นความปลอดภัยน้อยมาก ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับ Passive มากกว่า Active Safety คือเน้นปกป้องมากกว่าป้องกัน ซึ่งเน้นแค่ถุงลมนิรภัย แต่สิ่งที่ขาดคือ Honda sensing พวกระบบเตือนการชนพร้อมช่วยเบรก ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน ไม่ต้องถึงขั้นมีระบบประคองรถให้อยู่ในเลนก็ได้ แต่อย่างน้อยก็ควรมี ระบบเตือนรถในจุดอับสายตา หรือ blind spot มาให้หน่อยก็ยังดี เพราะว่าอุปกรณ์เหล่านี่ในคู่แข่งอย่าง Almera นั้นมีเกือบครบ

    สรุปแล้วจากจุดเด่นจุดด้อยที่ว่ามาทั้งหมด น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหารถซับคอมแพ็คเครื่องเล็กที่แรงกว่ารถเครื่องพันห้า และประหยัดใกล้เคียงอีโคคาร์ Honda City ใหม่ ถือว่าตอบโจทย์ แต่ถ้าคุณเป็นพวกที่เน้นออฟชั่น โดยเฉพาะระบบความปลอดภัยคงต้องชั่งใจดูอีกนิด..ว่านี่อาจเป็นทางเลือกที่พอได้หรือไม่กับค่าตัวรุ่นท็อป 739,000 บาท ต้องถามใจคุณเอาเอง

    ABOUT THE AUTHOR

    spot_img
    spot_img
    spot_img
    spot_img

    Latest Posts