More

    โตโยต้าแถลงยอดขายตลาดรถยนต์ครึ่งแรกปี 2563 อยู่ในช่วงฟื้นตัว คาดตลาดรวมอยู่ที่ 660,000 คัน

    บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทยจำกัดแถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2563 พร้อมประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2563 คาดการณ์ตลาดรวมอยู่ที่ 660,000 คัน

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและระดับโลก ทำให้ตลาดรถยนต์ในประเทศและส่งออกหดตัวในช่วงไตรมาส 1 และต่อเนื่องถึงไตรมาส 2 ทั้งนี้จากการผ่อนปรนให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องภายใต้มาตรการที่ภาครัฐกำหนด มีการคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

    สถานการณ์ตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2563 

    ตลาดรวมในประเทศของปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน และตั้งเป้าหมายการขายรถยนต์โตโยต้าไว้ที่ 310,000 คัน แต่ทว่าในสถานการณ์ไตรมาสที่ 1 ตัวเลขยอดขายตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 200,000 คัน หรือคิดเป็น 76% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 56,200 คัน คิดเป็น 65% ของยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

    หลังผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ การหยุดสายการผลิตเป็นการชั่วคราวไปแล้วนั้น ตลาดรถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ลดลงไปที่ประมาณ 128,500 คัน คิดเป็น 49% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 38,100 คัน หรือคิดเป็น 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในทางกลับกันหากเราพิจารณาถึงยอดจำหน่ายรายเดือนของช่วงไตรมาสที่ 2 จะเห็นได้ว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงค่อยๆฟื้นตัว อันเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ทยอยออกมาตรการผ่อนคลายต่างๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น

    แนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2563

    จากการฟื้นตัวของทวีปเอเชียทั้งหมดในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ นอกจากแนวโน้มเชิงบวกที่เห็นได้จากยอดจำหน่ายรายเดือนแล้ว ประเทศไทยยังประสบความสำเร็จในการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ซึ่งในขณะนี้มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมงานเป็นจำนวนมาก และเมื่อพิจารณาสัญญาณบวกเหล่านี้แล้ว เราจึงได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2563 เป็น 660,000 คัน คิดเป็น 65% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

    ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2563

    • ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,013 คัน ลดลง 6%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           16,661 คัน      เพิ่มขึ้น     26.1% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      13,366 คัน      ลดลง      53.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า        5,822 คัน      ลดลง      52.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%

    • ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,768 คัน ลดลง 3%

    อันดับที่ 1 ฮอนด้า        4,816 คัน      ลดลง      47.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.2%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า       4,802 คัน      ลดลง      50.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%

    อันดับที่ 3 ซูซุกิ            1,776 คัน      ลดลง      13.1% ส่วนแบ่งตลาด  8.6%

    • ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,245 คัน ลดลง 4%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ                    16,661 คัน       เพิ่มขึ้น     26.1%  ส่วนแบ่งตลาด 44.7%

    อันดับที่ 2  โตโยต้า     8,564 คัน       ลดลง      55.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      2,562 คัน       ลดลง      34.1% ส่วนแบ่งตลาด  6.9%

    • ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

    ปริมาณการขาย 29,576 คัน ลดลง 26.7%                 

    อันดับที่ 1 อีซูซุ          15,368 คัน       เพิ่มขึ้น     29.7% ส่วนแบ่งตลาด 52.0%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า       7,375 คัน       ลดลง      57.2% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ        2,562 คัน      ลดลง      34.1% ส่วนแบ่งตลาด  8.7%

    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,992 คัน

    โตโยต้า 1,262 คัน – มิตซูบิชิ 553 คัน – อีซูซุ 500 คัน – นิสสัน 337 คัน – ฟอร์ด 312 คัน –  เชฟโรเลต 28 คัน

    • ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,584 คัน ลดลง 25%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ          14,868 คัน       เพิ่มขึ้น     33.7% ส่วนแบ่งตลาด 55.9%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า        6,113 คัน      ลดลง      58.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ       2,009 คัน      ลดลง      26.6%   ส่วนแบ่งตลาด  7.6%

    สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2563

    1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 328,604 คัน ลดลง 37.3%                              

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      94,222 คัน      ลดลง      45.1% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ           76,054 คัน      ลดลง      14.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า       41,326 คัน      ลดลง      36.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%

    2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 119,716 คัน ลดลง 42%                                

            อันดับที่ 1 ฮอนด้า        34,518 คัน       ลดลง      29.4%      ส่วนแบ่งตลาด 28.8%

            อันดับที่ 2 โตโยต้า      29,926 คัน       ลดลง      50.4%      ส่วนแบ่งตลาด 25.0%

            อันดับที่ 3 นิสสัน        12,641 คัน       ลดลง      36.9%      ส่วนแบ่งตลาด 10.6%

    3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 208,888 คัน ลดลง 34.2%                     

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           76,054 คัน       ลดลง      14.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      64,296 คัน       ลดลง       42.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      15,416 คัน       ลดลง       38.6% ส่วนแบ่งตลาด  7.4%

    4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

        ปริมาณการขาย 166,409 คัน ลดลง 35.6%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           70,573 คัน      ลดลง      13.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      56,265 คัน      ลดลง      43.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      15,416 คัน      ลดลง      38.6% ส่วนแบ่งตลาด  9.3%

    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 16,977 คัน

    โตโยต้า 6,643 คัน – มิตซูบิชิ 3,818 คัน – อีซูซุ 2,948 คัน – ฟอร์ด 2,098 คัน – นิสสัน 832 คัน – เชฟโรเลต 638 คัน

    5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 149,432 คัน ลดลง 33.7%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           67,625 คัน       ลดลง      11.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.3%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      49,622 คัน       ลดลง      41.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      11,598 คัน       ลดลง      36.3% ส่วนแบ่งตลาด  7.8%

    ABOUT THE AUTHOR

    spot_img
    spot_img
    spot_img

    Latest Posts