More

    สวิตช์ปิดถุงลมนิรภัย ใช้งานตอนไหน???

    คิดว่าหลายๆ คนคงสงสัยว่า รูกุญแจที่อยู่ริมคอนโซนด้านซ้ายมีไว้ทำไม ถ้าเราเสียบกุญแจแล้วหมุนจะเกิดอะไรขึ้น แล้วสัญลักษณ์ที่อยู่ใกล้ๆ รูกุญแจคืออะไร เรามาหาคำตอบกัน….

    ก่อนอื่นเลยสวิตช์หรือรูกุญแจที่เราเห็น คือ สวิตช์ปิดถุงลมนิรภัย  โดยทั่วไปรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีสวิตช์เปิด-ปิดถุงลมนิรภัยติดตั้งอยู่ที่บริเวณด้านข้างของแผงคอนโซน (ฝั่งผู้โดยสาร) โดยปกติการทำงานของถุงลมนิรภัยจะได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งสามารถช่วยป้องกันอันตรายและบรรเทาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้ 

    แต่รู้หรือไม่ว่า…เมื่อเกิดอุบัติเหตุเซ็นเซอร์การทำงานของ ถุงลมนิรภัย ตรวจจับเเรงสั่นสะเทือนเเละพุ่งพองตัวออกมาอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงมาก เพื่อช่วยลดแรงกระแทกและช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุ แต่ในทางกลับกันถ้าคนนั่งบนเบาะไม่ใช่ผู้ใหญ่การป้องกันการกระแทกจากถุงลมนิรภัยอาจเปลี่ยนเป็นทำให้เกิดอันตรายได้

    แล้ว สวิตช์ปิดถุงลมนิรภัย จะใช้ตอนไหน???

    มีคำเตือนจากคู่มือการใช้รถซึ่งระบุว่าไม่ควรให้เด็กเล็ก หรือเด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 140 ซม.นั่งด้านหน้ารถ หรือให้นั่งตักผู้ใหญ่ตรงที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าแม้ว่าจะรัดด้วยเข็มขัดนิรภัยก็ตาม หรือเเม้แต่การวางเด็กซึ่งนั่งอยู่บนเบาะรองนั่งเสริม ที่นั่งสำหรับเด็กแบบหันไปทางด้านหลัง บนที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้าก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเมื่อ ถุงลมนิรภัย ระเบิดออกมามันจะพุ่งอัดเข้าไปที่าบริเวณใบหน้าของเด็กขณะนั่งเต็มแรง รวมถึงคนแก่หรือผู้ที่กำลังป่วยก็อาจได้รับอันตรายจาก ถุงลมนิรภัย จนได้รับอันตรายด้วยเช่นกัน

    แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ เราสามารถปิดการใช้งานถุงลมด้านหน้าผ่านสวิตช์ปิดถุงลมนิรภัยที่เป็นรูกุญแจเนื่องจากหากถุงลมเกิดพองขึ้นอาจจะเกิดอันตราย ส่งผลทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บร้ายแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้นหากมีเด็กเล็กโดยสารไปในรถด้วย เราขอแนะนำให้ผู้ขับขี่ควรวางให้เด็กนั่งที่เบาะแถวหลังหรือวางคาร์ซีทในเบาะแถวหลัง เพราะจะปลอดภัยที่สุด

    ความเร็วเท่าไหร่ถุงลมถึงจะทำงาน

    สำหรับความเร็วที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัวนั้น พบว่าต้องมีความเร็วมากกว่า 20 กม./ชม. และการทำงานของถุงลมนิรภัยจะพองตัวเมื่อรถยนต์ชนกับเสารถยนต์ประมาณ 30 กม./ชม. สำหรับการชนกับรถที่จอดอยู่กับที่ ชนกับกำแพง ชนคอนกรีต หรือชนนอกศูนย์กลางด้านหน้า ความเร็วของรถยนต์ต้องมากกว่า 40 – 50 กม./ชม. จึงจะทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัวมีการทำงานเกิดขึ้น

    photo : google.com

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts