เศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อยังคงจำกัด ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อฉุดตลาดรถยนต์ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 ลดลง 24.6% รวม 163,756 คัน
ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 65,615 คัน ลดลง 15.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 98,141 คัน ลดลง 29.7% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่ 56,425 คัน ลดลง 44.4%
ในส่วนของเดือนมีนาคม 2567 ด้วยยอดขายรวม 56,099 คัน ลดลง 29.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,342 คัน ลดลง 25.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 33,757 คัน ลดลง 32.6% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่ 19,648 คัน ลดลง 45.5%
ช่วงเดือน มีนาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งยอดขายที่ลดลง เป็นผลมาจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาคเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลให้กำลังซื้อยังคงจำกัด และควบคู่ไปกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโตลดลงที่ 25.1% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลงที่ 32.6% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
ในขณะเดียวกัน HEV มียอดขาย 12,689 คัน เพิ่มขึ้น 68.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ดันตลาด xEV เดือนมีนาคมเติบโตขึ้น 19.5% ในส่วนของ BEV ยอดขายเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5,167 คัน ลดลง 25.6%* และ PHEV ยอดขาย 897 ลดลง 27.1%*
*เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ สามารถเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และรวมถึงการเริ่มส่งมอบรถยนต์ใหม่ที่จองในงาน บางกอก มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เป็นปัจจัยบวกและเริ่มส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 56,099 คัน ลดลง 29.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,582 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,861คัน ลดลง 48.3 % ส่วนแบ่งตลาด 15.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,219 คัน ลดลง 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 3,012 คัน ลดลง 26.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.4%
อันดับที่ 5 ฟอร์ด 1,745 คัน ลดลง 57.2% ส่วนแบ่งตลาด 3.1%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,342 คัน ลดลง 25.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,606 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,869 คัน ลดลง 31% ส่วนแบ่งตลาด 21.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,039 คัน เพิ่มขึ้น 14% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
อันดับที่ 4 เอ็มจี 1,393 คัน เพิ่มขึ้น 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
อันดับที่ 5 ซูซูกิ 932 คัน ลดลง 14.4% ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 33,757 คัน ลดลง 32.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,976 คัน ลดลง 5% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,861 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 3,350 คัน เพิ่มขึ้น 7% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 1,744 คัน ลดลง 57.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.2%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 973 คัน ลดลง 57.4% ส่วนแบ่งตลาด 2.9%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 19,648 คัน ลดลง 45.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,629 คัน ลดลง 34.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,865 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 40%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,744 คัน ลดลง 57.2% ส่วนแบ่งตลาด8.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 972 คัน ลดลง 57.2% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
อันดับที่ 5 นิสสัน 325 คัน ลดลง 42.8% ส่วนแบ่งตลาด 1.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) ปริมาณการขาย 3,436 คัน ลดลง 46.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 1,262 คัน ลดลง 46.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 1,160 คัน ลดลง 50.0% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 682 คัน ลดลง 42.4% ส่วนแบ่งตลาด19.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 298 คัน ลดลง 35.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
อันดับที่ 5 นิสสัน 34 คัน ลดลง 74% ส่วนแบ่งตลาด 1.0%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 16,212 คัน ลดลง 45.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,367 คัน ลดลง 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,705 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,062 คัน ลดลง 63.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 674 คัน ลดลง 62.7% ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
อันดับที่ 5 นิสสัน 291 คัน ลดลง 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 1.8%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์เดือนมกราคม – มีนาคม 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 163,756 คัน ลดลง 24.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 58,810 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 25,104 คัน ลดลง 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 15.3%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 24,444 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
อันดับที่ 4 บีวายดี 10,047 คัน เพิ่มขึ้น 81.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 7,587 คัน ลดลง 30.8% ส่วนแบ่งตลาด 4.6%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 65,615คัน ลดลง 15.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,631 คัน ลดลง 40.8% ส่วนแบ่งตลาด 25.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 14,198 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 21.6%
อันดับที่ 3 บีวายดี 7,975 คัน ส่วนแบ่งตลาด 12.2%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 4,954 คัน ลดลง 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 3,830 คัน ลดลง 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.8%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 98,141 คัน ลดลง 29.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 42,179 คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 43%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 24,444 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,906 คันเพิ่มขึ้น 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 5,931 คัน ลดลง 46.3 % ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 2,633 คัน ลดลง 54.2% ส่วนแบ่งตลาด 2.7%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 56,425 คัน ลดลง 44.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 25,248 คัน ลดลง 35.7%ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 21,481 คัน ลดลง 50.6% ส่วนแบ่งตลาด38.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 5,931 คัน ลดลง 46.3%ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 2,624 คัน ลดลง 54.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
อันดับที่ 5 นิสสัน 872 คัน ลดลง 34.7% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) ปริมาณการขาย 9,814 คัน ลดลง 46.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 3,648 คัน ลดลง 45.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 3,168 คัน ลดลง 48.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,139 คัน ลดลง 39.9% ส่วนแบ่งตลาด 21.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 732 คัน ลดลง 47.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
อันดับที่ 5 นิสสัน 127 คัน ลดลง 63.3% ส่วนแบ่งตลาด 1.0%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 46,611 คัน ลดลง 44%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,600 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 46.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,313 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,792 คัน ลดลง 49.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,892 คัน ลดลง 56.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.1%
อันดับที่ 5 นิสสัน 745 คัน ลดลง 24.7% ส่วนแบ่งตลาด 1.6%