More

    เคล็ดลับ!! ผ่อนรถไม่ไหว คืนรถได้แบบไม่ต้องเสียส่วนต่าง

    ถอยรถมาใช้ได้ไม่นาน ผ่อนรถไม่ไหว อยากคืนรถได้แบบไม่ต้องเสียส่วนต่าง ต้องทำอย่างไร? ด้วยภาวะทางเศรษฐกิจ ค่าครองชีพก็สูง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็เยอะ จนเป็นเหตุให้หมดกำลังจะผ่อนต่อจนทำให้อยากคืนภาระก้อนนี้ต้องทำอย่างไร วันนี้ลองมาศึกษาดูว่า หากเราผ่อนรถไม่ไหวจะสามารถแก้ปัญหาแบบไหนได้บ้าง

    ผ่อนรถไม่ไหว คืนรถได้ไหม

    ปัจจุบันข่าวการยึดรถพุ่งสูงถึง 44% ในปี 2567 หนี้รถยนต์พุ่งจนคนผ่อนรถไม่ไหว ทำให้หลายคนตัดสินใจคืนรถ แต่ลืมไปว่ายังมีสิ่งที่สำคัญค้ำคออยู่อย่าง สัญญาเช่าซื้อ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าเราจะต้องเสียส่วนต่างหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสัญญาเช่าซื้อนี้ โดยในสัญญาจะระบุไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ​

    1. ประวัติดี (จ่ายค่ารถทุกงวด)

    กรณีผ่อนรถไม่ไหว แต่ไม่เคยผิดชำระหนี้หรือค้างชำระค่างวด สามารถคืนรถให้ไฟแนนซ์โดยไม่เสียส่วนต่าง เพียงแค่ติดต่อไฟแนนซ์และทำเรื่องคืนรถได้ทันที โดยจะดำเนินงานในรูปแบบยกเลิกสัญญา เมื่อยกเลิกแล้วจะมีผลทันที ไม่จำเป็นต้องผ่อนต่อ สามารถจบเรื่องได้เลย

    2. ประวัติไม่ดี (ขาดส่งค่างวดรถ)

    กรณีผ่อนรถไม่ไหวและค้างส่งค่างวด 3 เดือนหรือมากกว่า 3 เดือน จะโดนยึดรถและอาจมีภาระหนี้ผูกพันตามมา เพราะในสัญญาระบุว่า “ผู้ให้เช่าซื้อยินยอมให้ผู้เช่าซื้อยกเลิกสัญญาได้โดยส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืน พร้อมเคลียร์ค่างวดที่ค้างชำระทั้งหมดและยินยอมรับผิดในกรณีนำรถออกขายรถขาดราคา” 

    ในกรณีนี้จึงมีความจำเป็นจะต้องชำระหนี้ที่เหลือ และถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่น ติดต่อไม่ได้ เกินในระยะเวลาที่กำหนด จะมีหมายศาลตามมา เพราะฉะนั้น ผู้เช่าซื้อควรเข้าพบเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย และบอกไปตรงๆ ว่าติดปัญหาอะไรที่ทำให้ไม่สามารถผ่อนรถได้ ตรงนี้จะสามารถไกล่เกลี่ยกับตัวแทนว่าต้องการชำระแบบใดต่อ ต้องการผ่อนจ่ายในจำนวนเท่าใด ในส่วนหนี้เสียตรงนี้

    ค่าส่วนต่าง คือ เงินที่ขาดชำระเมื่อผู้ให้เช่าซื้อรถ เอารถคืนแล้วไปขายได้ราคาไม่พอกับค่าเช่าซื้อที่ทำสัญญาไว้ เช่น ทำสัญญาไว้ 500,000 บาท ผ่อนไปแล้ว 100,000 บาท นำไปขายได้ราคา 200,000 บาท มีเสียค่าส่วนต่างอีก 200,000 บาทซึ่งปกติไฟแนนซ์จะให้เราเป็นคนรับผิดชอบ

    แต่ในฎีกาใหม่ บอกว่า ถ้าท่านปฎิบัติถูกต้อง นำรถไปคืนชำระหนี้ที่ค้างก่อนคืนรถครบถ้วน ถือว่าสัญญาเลิกกันไม่มีหนี้ต่อกัน แม้ท่านจะได้ลงชื่อรับผิดส่วนต่างแล้วก็ไม่เป็นไร ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยืนยันแล้วว่า

    “หากเราคืนรถแล้วมีค่าส่วนต่างเกิดขึ้น หรือไฟแนนซ์ทำสัญญาขึ้นใหม่ให้รับผิดชอบส่วนต่างก็จะไม่มีผล ไม่สามารถฟ้องร้องได้สุดท้ายเราจะไม่เสียส่วนต่างที่เกิดขึ้น”

    แต่สิ่งสำคัญก่อนคืนรถ ห้ามผิดสัญญาเช่าซื้อรถ คือ ก่อนจะเอารถไปคืนเราต้องดูว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรที่เรายังติดค้างอีก ไม่ว่าจะเป็นค่างวดรถที่ค้าง ค่าปรับ ค่าทวงถามต่างๆ ควรเคลียร์ให้จบทั้งหมด เมื่อเคลียร์หมดแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไปนี้ก็คือ

    1. นำรถไปตรวจสภาพรถ เพื่อเช็กความเรียบร้อยสมบูรณ์ของรถ

    2. ทำจดหมายยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ (เขียนเองง่ายๆได้เลย)

    3. ไปแจ้งความ ลงบันทึกประจำวัน นำรถไปคืนไฟแนนซ์

    เมื่อทำเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว สามารถขับรถไปคืนที่ไฟแนนซ์ได้เลย แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของไฟแนนซ์แต่ละบริษัท ให้ลองพูดคุยเจรจาไกล่เกลี่ย

    คืนรถให้ไฟแนนซ์ เสียเครดิตไหม ?

    การขอคืนรถ คือ การยกเลิกสัญญา จึงไม่เสียประวัติเครดิตบูโร เว้นแต่ว่าจะผ่อนรถไม่ไหวจนปล่อยให้รถถูกยึด มีการค้างค่างวด แบบนี้จะเสียเครดิตบูโร

    ผ่อนรถไม่ไหว ทำยังไงได้บ้าง

    1. ขอเจรจาโครงสร้างหนี้กับไฟแนนซ์

    หากผ่อนรถไม่ไหวแต่ไม่อยากคืนรถ แนะนำให้ติดต่อไฟแนนซ์เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทางไฟแนนซ์จะเสนอวิธีการช่วยเหลือ เช่น ปรับลดค่างวด ยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระให้นานขึ้น บางที่อาจจะเสนอการผ่อนชำระแบบขั้นบันได โดยการผ่อนน้อยในช่วงที่ขาดสภาพคล่อง และผ่อนมากขึ้นในช่วงที่ปัญหาการเงินเบาลง แต่วิธีนี้อาจจะต้องเจอกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เมื่อรู้ตัวแล้วว่าผ่อนรถไม่ไหว อย่าปล่อยให้ค้างชำระค่างวดเด็ดขาด เพราะจะทำให้เสียเครดิตบูโร เป็นไปได้ให้รีบติดต่อไฟแนนซ์เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็ว

    2. รีไฟแนนซ์

    การรีไฟแนนซ์จะช่วยให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง ผ่อนต่องวดน้อยลง หรือผ่อนได้นานขึ้น โดยจะเลือกรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมหรือเปลี่ยนธนาคารก็ได้ หากกู้เพิ่มยังอาจมีโอกาสได้เงินส่วนต่างจากการรีไฟแนนซ์มาใช้จ่ายอีกด้วย

    3. เปลี่ยนสัญญา / ขายดาวน์

    การเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถที่ยังผ่อนไม่หมด ซึ่งเป็นการตัดสินใจเปลี่ยนสัญญาหรือเปลี่ยนชื่อคนผ่อนรถหรือจะเรียกวิธีนี้ว่าการขายดาวน์ก็ได้ ซึ่งจะมีการชำระเงินอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่

    3.1. จ่ายสดเต็มจำนวน

    เหมาะสำหรับคนที่ต้องการปิดจบ โดยผู้ที่ซื้อรถต่อจะต้องจ่ายเงินสด เพื่อให้เรานำเงินก้อนนี้ไปปิดไฟแนนซ์ จากนั้นให้ไฟแนนซ์โอนกรรมสิทธิ์รถไปให้ผู้ซื้อคนใหม่นั่นเอง

        • ยกตัวอย่าง ตกลงซื้อขายรถ 400,000 บาท แต่รถติดไฟแนนซ์อยู่ 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องนำเงินปิดยอด 300,000 บาท อีก 100,000 บาท ต้องจ่ายให้ผู้ขายซึ่งเป็นเงินส่วนที่ดาวน์รถไปนั่นเอง

    *ห้ามส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้ซื้อรายใหม่จนกว่าจะมีเอกสารจากทางไฟแนนซ์ยืนยันว่าได้เปลี่ยนชื่อผู้เช่าซื้อเรียบร้อยแล้ว

    3.2. ผู้ซื้อขอผ่อนต่อเอง

    เหมาะกับผู้ซื้อที่ไม่สะดวกจ่ายเป็นเงินก้อน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสัญญากับทางไฟแนนซ์เพื่อให้เขาเป็นผู้ผ่อนรถต่อ


    CR : Noburo

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts