ความเสี่ยงจากการใช้ยานพาหนะบนท้องถนนที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด ก็คือ ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ ที่จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ ซึ่งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง หรือขับรถล้มเอง แล้วเกิดบาดเจ็บ หากคุณมีการจ่ายภาษี พ.ร.บ. อย่างถูกต้องมาโดยตลอดแล้วอยากทราบว่าสามารถเคลมค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลได้หรือไม่ วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ให้ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกกรณีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด จึงครอบคลุมทั้งกรณีรถล้มเองแบบไม่มีคู่กรณี เฉี่ยวชนแบบมีคู่กรณีแต่ยังไม่สามารถตัดสินถูกผิดได้ หรือแม้กระทั่งถูกชนแล้วหนีก็ตาม
โดยกรณีรถล้มเองแบบไม่มีคู่กรณี ไม่ว่าจะเกิดจากถนนลื่น สะดุดหิน สะดุดเนิน ขับรถชนเสาไฟฟ้าหรือต้นไม้ ถูกสัตว์วิ่งตัดหน้า หรือกรณีใดก็ตาม จัดอยู่ในการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่ง พ.ร.บ. จักรยานยนต์ให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- กรณีได้รับบาดเจ็บ จะได้รับวงเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะ จะได้รับวงเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
- หากเข้าข่ายทั้งสองกรณี จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
ทั้งนี้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ซ้อนท้ายสามารถเบิกค่าชดเชยได้ทั้งคู่ภายใน 180 วัน หลังจากวันที่เกิดเหตุ และเมื่อยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้วจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการ
ต้องเตรียมใช้เอกสารอะไรบ้าง สำหรับยื่นของความคุ้มครอง?
- กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล
-
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ตัวจริง)
-
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร
-
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองผู้พิการ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
-
- กรณีเสียชีวิต
-
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของทายาท
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
-
การยื่นเรื่องเบิกค่าชดเชยจาก พ.ร.บ. สามารถยื่นเรื่องกับทางบริษัทประกันภัย พ.ร.บ.ที่ซื้อไว้ หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยจะต้องดำเนินการภายใน 180 วันนับจากวันเกิดเหตุ จากนั้นจะได้รับค่าชดเชยภายใน 7 วัน
บทความอื่น ๆ