ถึงในช่วงที่หน่วยงานจราจรและกรมการขนส่งทางบกเอาจริงกับการตรวจจับผู้ขับขี่รถบนท้องถนนแบบผิดกฎหมาย โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่ หลายคนที่อายุเพิ่งจะถึงวัยที่ครบกำหนดและสามารถทำใบขับขี่ได้และหลายคนที่ใบขับขี่หมดอายุ วันนี้มาลองดูขั้นตอนควรรู้ในการทำใบขับขี่กันค่ะ
ใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถ เอกสารสำคัญที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบุคคลนี้ผ่านการทดสอบและอบรมกฎระเบียบ กฎหมายจราจรต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว สามารถขับรถมอเตอร์ไซค์ได้ โดยที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามใด ๆ แบบถูกกฎหมาย
สำหรับการทำใบขับขี่ หรือสอบใบขับขี่ใหม่ ปัจจุบันมีขั้นตอนและวิธีการที่เปลี่ยนไปบ้างเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid 19 ทำให้กรมการขนส่งทางบกปรับเปลี่ยนวิธีเพื่อลดความแออัดของผู้ที่เดินทางมาใช้บริการ
อายุเท่าไรถึงจะสามารถทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้และความจุซีซีของรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเท่าไรถึงจะสามารถทำได้ การทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ จะมีเรื่องของความจุ หรือ ซี.ซี. ของมอเตอร์ไซค์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งออกเป็น ดังนี้
- ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ความจุไม่เกิน 110 ซี.ซี. จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
- ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล (ชั่วคราว) ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์สาธารณะ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และมีใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลชนิดชั่วคราวมาก่อนแล้ว
ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ มีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล หรือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใช้สำหรับการขับขี่ในชีวิตประจำวันทั่วไป มีอายุการใช้งาน 5 ปี
- ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์สาธารณะ หรือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ใช้สำหรับการรับจ้าง บรรทุกรับ-ส่งคน หรือประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างจะต้องทำใบขับขี่ประเภทนี้ มีอายุการใช้งาน 3 ปี
เอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบในการทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์
- บัตรประชาชนตัวจริง
- ใบรับรองแพทย์
-
-
- กรณีเป็นชาวต่างชาติให้ใช้เป็นหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตแทนบัตรประชาชน
-
-
ขั้นตอนทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์
- ขั้นตอนที่เปลี่ยนไปของการทำใบขับขี่ในยุคใหม่นี้ คือจะต้องทำการจองคิวล่วงหน้าผ่านผ่านทาง แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือที่เว็บไซต์ gecc.dlt.go.th
- เดินทางไปยังสำนักงานขนส่งตามวัน เวลา ที่ได้นัดหมายไว้ พร้อมยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
- เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้แก่ ทดสอบตาบอดสี (เขียว เหลือง แดง), ทดสอบสายตาทางลึก, ทดสอบสายตาทางกว้าง และทดสอบปฎิกิริยาเท้า โดยการเหยียบเบรกหลังเห็นไฟสัญญาณ
- เข้ารับการอบรมข้อควรรู้และกฎหมายจราจรต่าง ๆ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงเช้าและช่วงบ่าย
- สอบข้อเขียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยต้องตอบถูกอย่างน้อย 45 ข้อ จากจำนวน 50 ข้อ
- สอบปฏิบัติการขับขี่รถในวันถัดไป หรือวันที่สะดวก โดยจะมีท่าที่ใช้ในการสอบทั้งหมด 5 ท่า ได้แก่
-
- ขี่มอเตอร์ไซค์ตามเครื่องหมายจราจร
- ขี่มอเตอร์ไซค์ทรงตัวบนทางแคบ โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
- ขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านโค้งแคบ รูปตัว Z หรือโค้งหักศอก
- ขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านโค้ง รูปตัว S
- ขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านสิ่งกีดขวาง เป็นรูปซิกแซก
-
- เมื่อผ่านการทดสอบแล้วจะเป็นขั้นตอนการถ่ายรูปทำใบขับขี่ และชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้
-
- ค่าใบขับขี่ 100 บาท
- ค่าคำขอ 5 บาท
-
ทั้งนี้ ใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ได้รับมานั้นจะเป็นใบขับขี่ชนิดชั่วคราวซึ่งมีอายุ 2 ปีด้วยกัน ผู้ขับขี่สามารถดำเนินการเปลี่ยนใบขับขี่จากชนิดชั่วคราว 2 ปี เป็นแบบ 5 ปี ได้ล่วงหน้าก่อนใบขับขี่หมดอายุ ภายใน 90 วัน โดยจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหรือที่เว็บไซต์ตามขั้นตอนเดิม และ เตรียมเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน ใบรับรองแพทย์ และใบขับขี่ฉบับปัจจุบัน ติดต่อยื่นเรื่องกับเจ้าหน้าที่ตามวันเวลาที่นัดหมาย ทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย รับใบขับขี่ใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้ารับการอบรมและสอบปฎิบัติ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก
บทความอื่น ๆ