More

    “รถพยาบาลปลอม!!!” เกลื่อนเมือง แนะนำวิธีสังเกตจาก สพฉ.

    “เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แนะวิธีการสังเกตรถพยาบาลปลอม ยอมรับปัจจุบันมีรถที่ดัดแปลงคล้ายรถพยาบาลที่ สพฉ.ไม่ได้รับรองจำนวนมาก สำหรับการรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายขนส่งทางบก ทะเบียนขาวดำ ไม่ใช่ขาวฟ้า หลังจากได้ทะเบียนรถแล้ว สพฉ. จะตรวจสอบมาตรฐานอุปกรณ์ ส่วนการติดตั้งไฟและเสียงสัญญาณ ต้องขออนุญาต จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่า กว่าจะรับรองรถบริการการแทพย์ฉุกเฉินอย่างถูกต้องนั้นมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง”

    จากที่เคยมีกรณีแก๊งค้ายาปลอมรถพยาบาลตบตาเจ้าหน้าที่ขนยาเสพติดจากในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าสู่พื้นที่ภาคกลาง ซึ่งทาง เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลรถที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินรวมถึงรถพยาบาลในขณะนั้น ออกมาบอกว่า มีการตรวจพบคนกลุ่มหนึ่งที่มีการซื้อและดัดแปลงรถให้คล้ายรถพยาบาล ซึ่งไม่ถือว่าเป็นรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งสังเกตุง่ายๆว่ารถของโรงพยาบาลจะติดชื่อหน่วยงาน ชื่อองค์กรชัดเจน

    โดยลักษณะรถพยาบาลปลอมที่ตกเป็นข่าว คือรถสีขาว ติดสติ๊กเกอร์คำว่า แอมบูแล๊น (Ambulance)ส่วนอีกคันเป็นรถที่เคยผ่านการตรวจและรับรองโดย สพฉ. แต่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จึงยุติการรับรองไปหลายปี เพียงแต่เจ้าของรถยังไม่ได้เอาสติ๊กเกอร์รับรองสีเขียวออก และใช้แอบอ้าง

    ขณะที่หนึ่งในรถที่กระทำความผิด เป็นรถพยาบาลหน่วยเสริมของเทศบาลเมืองปทุมธานี ซึ่งมีรถฉุกเฉินจำนวน 13 คัน ถูกเพิกถอนใบรับรองเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมไปแล้ว 4 คัน ซึ่งทางเทศบาลเมืองปทุมธานี กล่าวว่าได้จ้างเอกชนดำเนินการในส่วนรถพยาบาลฉุกเฉิน เนื่องจากท้องถิ่นให้บริการไม่ทั่วถึง จึงให้เอกชนมาร่วมให้บริการด้วย
    เรือโท นายแพทย์ อัจฉริยะ บอกว่า ถึงแม้รถพยาบาลคันนั้นจะอยู่ในการรับรอง ของ สพฉ. แต่นโยบาย คือ ให้รับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ได้ให้เอาเอาไปทำผิดกฎหมาย เช่น ไม่ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด และไม่นำไปขนสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่ไร้จรรยาบรรณ

    สำหรับการรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายขนส่งทางบก ทะเบียนขาวดำ ไม่ใช่ขาวฟ้า หลังจากได้ทะเบียนรถแล้ว สพฉ. จะตรวจสอบมาตรฐานอุปกรณ์ ส่วนการติดตั้งไฟและเสียงสัญญาณ ต้องขออนุญาต จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่า กว่าจะรับรองรถบริการการแทพย์ฉุกเฉินอย่างถูกต้องนั้นมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

    ปัจจุบันมีรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีอยู่ประมาณ 10,000 คัน แบ่งเป็นรถในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดมูลนิธิที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งรถที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินจะต้องต่ออายุใบรับรอง ทุกๆ2 ปี และจดทะเบียนในเขตจังหวัดใด ก็ให้วิ่งในจังหวัดนั้นไม่วิ่งข้ามเขต หากไม่มีเหตุจำเป็น


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts