More

    อยากวิ่งบนสะพานบ้าง แต่ทำไมไม่ได้ ก็เสียภาษีเหมือนกันนะ ?!

    ต้องบอกว่าช่วงนี้กลับมาเป็นประเด็นอีกระลอก แต่ไม่ถึงกับโหนกระแสให้เป็นข่าวใหญ่ สำหรับเหล่าบรรดานักบิดสองล้อที่ต้องทำเวลาไมว่าจะไปส่งของ ส่งข้าว วิ่งเอกสาร หรือแม้แต่ขี่มุดหนีรถติดไปทำงาน แล้วต้องทดเวลาด้วยการ “วิ่งขึ้นสะพาน” โดยเฉพาะสะพานข้ามแยกในดวงใจที่รถติดมหาศาลในเมืองหลวงกรุงเทพยามนี้

    มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพาน

    แน่นอนว่าเรื่องรถสองล้อขี่ขึ้นไปบนสะพานนั้น ตามปกติแล้ว “ไม่สามารถทำได้” แต่ทำอย่างไรได้ก็คนมันรีบจริงๆ งานนี้จึงกลายเป็นคำถามว่า รีบจริงหรือแค่ต้องการความสะดวกกันแน่ ?!  ด้วยเหตุนี้เลยทำให้คนในทีมงานเรากลับมาถกกันว่าอีกครั้งถึงเรื่องนี้ แต่แท้จริงแล้วรถมอเตอร์ไซค์ หรือศัพท์ทางการว่า จักรยานยนต์ ซึ่งต่อไปเราจะเรียกว่า มอเตอร์ไซค์ สามารถใช้สะพานข้ามแยกได้หรือไม่ เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้คำตอบกันแล้วว่าทำไม แต่ก็มีอีกหลายคนยังสงสัยอยู่ วันนี้ เรา Car2day จะไขข้อข้องใจแบบชัดๆ

    มอเตอร์ไซค์

    ก่อนอื่นต้องท้าวความไปถึงข้อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนก่อน “แล้วจะรู้ว่า” ทำไม มอเตอร์ไซค์ไม่สามารถใช้สะพานข้ามแยกได้ แม้ว่าจะเสียภาษีประจำปีเหมือนกัน ซึ่งล่าสุดได้มีการ ร่าง ออกมาอีกครั้งแล้วว่า จะให้รถมอเตอร์ไซค์วิ่งเลนขวาสุดได้รวมถึงวิ่งขึ้นสะพานได้ แต่ที่สุดแล้วก็ยังไม่ผ่าน พ.ร.บ. เมื่อดูจาก กฎหมายมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิด เดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย

    รถมอเตอร์ไซค์ สะพาน

    เรามาขยายความเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่ ห้าม มอเตอร์ไซค์ ขึ้นสะพานข้ามแยก สะพานยกระดับ สะพานข้ามแม่น้ำ รวมถึงอุโมงค์ลอดทางร่วมทางแยก ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาจราจรช่วงเวลาคับคั่ง “ซึ่งลักษณะทางกายภาพของสะพาน หรืออุโมงนั้น จะเห็นว่าไม่มีช่องทางจราจรไว้สำหรับรถขนาดเล็ก” (ที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำ) หรือพูดให้เห็นภาพ คือจะมีช่องทางเดินรถ หรือ เจ้าเลนถนนเพียงแค่ 2 เลน และมองลึกลงไปอีกชั้น จะพบความเป็นจริงที่ว่า ทั้งสะพาน อุโมงถูกสร้างชิดขอบทางด้านขวาทั้งหมด หรือเลนขวานั่นเอง พูดแบบนี้ จะงง  อธิบายเพิ่มเป็นภาษาชาวบ้าน ตามหลักการแล้ว ประเทศไทยกำหนดให้วิ่งชิดขอบทางด้านซ้ายตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งเลนด้านขวา ตั้งแต่เลนที่ 2 ไปมีไว้สำหรับใช้แซงเมื่อมีรถจอดกีดข้างเลนซ้าย แต่ไม่ได้มีไว้ให้วิ่งตลอด เมื่อแซงแล้วต้องกลับเข้ามาวิ่งในเลนซ้ายตามเดิม ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตาม เมื่อเอาสิ่งนี้มาประกอบกับ จะรู้ว่าทำไม่ มอเตอร์ไซค์ถึงถูกกำหนดไม่ให้วิ่งขึ้นสะพาน หรือลงอุโมง ก็เพราะว่า สิ่งก่อสร้างนี้อยู่เลนขวานั้นเอง

    รถมอเตอร์ไซค์ สะพาน

    ลองคิดดูว่า หากให้รถจักรยานยนต์ใช้ความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ลงไปวิ่งรวมกับรถยนต์ที่ใช้ความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่วิ่งอยู่เลนขวา ความเร็วที่ต่างกันนี้แหละ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นซึ่งขัดกับจุดประสงค์ในการแก้ปัญหา เนื่องด้วยกายภาพของสะพานข้ามแยกบางแห่งไม่มีพื้นที่ข้างทาง และเป็นเลนแคบๆ ขณะที่บางแห่งเป็นสะพานที่มีระยะทางยาว หรือลักษณะโค้ง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีก แน่นอนว่าหากเป็นทางโค้งอาจทำให้การมองเห็นมีปัญหา และมีโอกาสพุ่งชนได้ง่าย และหากรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นวิ่งบนสะพานจะทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบ และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ทำให้ ‘ประชาชน’ ผู้ใช้ ‘รถ’ ใช้ ‘ถนน’ ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า การเพิ่มความสะดวก

    รถมอเตอร์ไซค์ สะพาน

    สรุปแล้ว การที่มอเตอร์ไซค์ ขึ้นไปวิ่งบนสะพานข้ามแยก ก็ยังไม่สารถมาทำได้อยู่ดี ถึงแม้ว่าวันนี้ รถมอเตอร์ไซค์ จะมีเครื่องยนต์ทรงพลังมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะว่า พ.ร.บ. กำหหนดไว้ให้วิ่งชิดขอบทางด้านซ้ายนั้นเอง แต่ทั้งนี้สะพานข้ามแม่น้ำ ข้ามจังหวัดทั่วไปที่ถูกละเว้นไว้ ก็วิ่งข้ามได้ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทว่าก็ต้องวิ่งชิดขอบทางด้านซ้ายสุด หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็วิ่งเลนซ้านนั่นเอง อะไรที่ทำแล้วเสี่ยงภัย ก็เลี่ยงดีกว่า อย่าไปฝืนทำ มันอันตราย เราเอาก็ไม่ได้บอกว่าไม่อยากให้ขึ้นไปวิ่ง เพราะอย่างน้อยก็ลดเวลา ได้มาก แต่จริงอยากให้มองถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เสียเวลานิดหน่อย แต่ถึงที่หมายช้าหน่อย เป็นเราเองก็เลือกอย่างหลัง

    อ้างอิง : สถิติของกรมการขนส่ง ระบุว่า มอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุถึง 37,859 ครั้ง เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด และมีสัดส่วนการเสียชีวิตมากกว่า 70 % ที่น่าสนใจคือจากผลวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อเมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ชี้ให้เห็นต้นตอของอุบัติเหตุมาจาก “รถยนต์” ที่ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดพุ่งชนมอเตอร์ไซค์ มากถึง 60 % ในขณะที่อุบัติเหตุซึ่งมีสาเหตุจากผู้ขี่มอเตอร์ไซค์ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดเอง นั้นอยู่ที่ 49 % สิ่งนี้น่าจะตอบคำถามได้อีกข้อ ว่าทำไม่ ถึงไม่ควรวิ่งบนสะพาน

    เครดิตภาพจาก pptvhd36.com

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts