สถิติใบสั่งจราจรในปีที่ผ่านมา มีคนไทยชักดาบไม่จ่ายสูงถึง 10 กว่าล้านใบ ซึ่งสาเหตุหลักของการที่คนไทยไม่กลับใบสั่งจราจรนั้น ก็ไม่มีอะไรมาก เพราะหลายคนทราบข้อกฎหมายนี้กันอยู่ว่า ในใบสั่งนั้นมีอายุความเพียง 1 ปี และบทลงโทษนั้นเบาเหลือเกิน จึงเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดกฎจราจรที่ได้รับใบสั่งไม่ได้เกรงกลัวต่อกฎหมายข้อนี้ วันนี้เราจะมาชี้ความกระจ่าง ว่าหากไม่จ่ายค่าปรับตามใบสั่งแล้วนั้น จะมีบทลงโทษอะไรที่รุนแรงขึ้นบ้าง
เมื่อต้นปีนี้ เคยมีข่าวสาวใหญ่รายหนึ่งโดนใบสั่งจราจร มากกว่า 300 ใบ ด้วยความที่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ไหวจะส่งแล้ว จึงรวบรวมความผิด กระทั่งศาลออกหมาย และตามไปจับถึงบ้าน กลายเป็นที่ฮือฮา และวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม ซึ่ง ที่ผ่านมา เคยมีเคสลักษณะอย่างนี้แล้วหลายครั้ง ซึ่งหลายคนได้ตั้งคำถาม ว่า ทำไม “คนไทย” ไม่กลัวการกระทำผิดกฎหมายจราจรเลย ทั้งที่ “ระเบียบจราจรเป็นการสะท้อนวินัยชาติ” ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า มีผู้คนมากมายทำผิดกฎจราจรไม่เว้นแต่ละวัน จำนวนผู้กระทำผิด กับจำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะต้องคอยตามจับนั้น ต่างกันมาก ซึ่งงานทางด้านจราจรก็มากโขอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่คงไม่มีเวลามาตามจับผู้กระทำผิดตามใบสั่งได้ทั้งหมด ไหนจะค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆอีก ซึ่งไม่คุ้มต่องบประมาณที่จัดจ้าง และจัดสรรมา จึงทำให้ใบสั่งก่อนหน้านั้นหมดอายุความไปภายในระยะเวลา 1 ปีเสียก่อน ทำให้มีผู้กระทำผิดกฎจราจรไม่ได้เกรงกลัวต่อข้อกฎหมายนี้กันมากขึ้นนั่นเอง
จากข้อมูล สถิติการออกใบสั่งจราจร ปี 2564 มากกว่า 7 ล้านใบ ในระบบ Police Ticket Management ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยคณะทำงานเทคโนโลยีบังคับใช้กฎหมาย เปิดเผยตัวเลขที่น่าตกใจนี้
ในปี 2563 มีการแจกใบสั่งทั้งสิ้น 15,837,054 ใบ แบ่งเป็นทางไปรษีณีย์ส่งถึง บ้าน 13,446,537 ใบ และเป็นเล่ม 2,390,517 ใบ ผลปรากฏว่า มีผู้มาจ่ายค่าปรับใบสั่งที่ส่งทางไปรษณีย์ 1,100,701 คิดเป็น 8% ส่วนคนมาจ่ายค่าปรับเป็นเล่ม 1,717,975 ใบ คิดเป็น 72% ส่วนคนไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ที่ส่งทางไปรษณีย์ 12,345,836 ใบ คิดเป็น 92% แบบเล่ม 672,542 ใบ คิดเป็น 28%
หลายคนจึงอยากทราบว่า หากเราไม่ไปจ่ายค่าปรับตามใบสั่งแล้วนั้น จะถูกลงโทษในข้อกฎหมายอะไร อย่างไรบ้าง
1. ชำระภาษีประจำปีไม่ได้
ปัจจุบัน มีการเชื่อมข้อมูลใบสั่งลงในระบบออนไลน์ หากจ่ายค่าปรับจราจร เกินกําหนด หรือได้ใบสั่งมาแล้วไม่จ่ายค่าปรับภายใน 30 วัน คุณจะโดนหมายจับ พร้อมโทษปรับ 1,000 บาท และจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ถ้านำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร ฐานไม่ต่อภาษียานพาหนะ มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
2. โดนพักใช้ใบขับขี่
สำหรับกรณีโดนพักใบขับขี่ คุณจะโดนหักคะแนนความประพฤติ ไปตั้งแต่ 1-2 คะแนน หากถูกตัดจนหมด 12 คะแนน จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน (3 เดือน) และต้องเข้ารับการอบรมใบขับขี่ใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ หากทำผิดจนโดนพักใช้ใบขับขี่ 3 ครั้ง ภายใน 3 ปี จะถูกพักใช้นาน 1 ปี และถ้าทำผิดซ้ำอีกในปีถัดไป จะโดนเพิกถอนใบขับขี่ ต้องเสียเวลารออีก 5 ปี ถึงจะทำใหม่ได้
***ส่วนวิธีการคิดคะแนน หากทำความผิดเล็กน้อย คุณก็อาจจะโดนตัด 1 คะแนน ร้ายแรง 2 หรือ 3 คะแนน หากทำผิดอีกก็ตัดไปเรื่อยๆ โดยคุณจะได้คะแนนกลับมาใหม่ก็ต่อเมื่อครบ 1 ปี นับตั้งแต่คุณเริ่มโดนตัดคะแนน
วิธีการแก้ปัญหาการถูกชักดาบใบสั่งในอนาคต สำหรับเรื่องนี้ พล.ต.ต.เอกราช ได้กล่าวเอาไว้ว่า ทางออกของเรื่องนี้คิดว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุด คือ การใช้ระบบการตัดคะแนนความประพฤติ หากได้รับใบสั่งแล้วจงใจไม่เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เราก็จะตัดแต้มคุณ หากตัดหมด 12 คะแนน (คะแนนเริ่มต้น) คุณจะโดนคำสั่งห้ามขับรถ 90 วัน หากยังฝ่าฝืน หรือทำผิดซ้ำซากจะถูกเพิกถอนใบขับขี่ และห้ามขับรถตลอดชีพ ซึ่งใช้มาตรฐานเดียวกันของต่างประเทศ และได้ผลดี นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องวินัยจราจรได้แล้ว ยังส่งผลต่อยอดการเจ็บตายจากอุบัติเหตุด้วย โดยจากสถิติของต่างประเทศ สามารถลดอุบัติเหตุได้ 20%
ทราบอย่างนี้แล้ว ถ้าหากคุณยังจำเป็นจะต้องใช้รถใช้ถนนอยู่เป็นประจำ ทางที่ดีควรเคารถกฎจราจรเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกใบสั่งปรับ ลงโทษ หรือถ้ามีความผิดโดยไม่ได้ตั้งใจแล้ว ก็ควรที่จะไปชำระค่าปรับให้เสร็จสิ้น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีปัญหาตามมาภายหลังให้ยุ่งยากอีกด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง