ฤดูฝนนี้เป็นช่วงที่สภาพอากาศทั้งชื้นและเปียกแฉะไปหมด เป็นที่น่าเบื่อของหลายๆคน ที่เวลาขับรถไปไหนมาไหน นอกจากจะทำให้รถเละแล้ว เวลาจะขึ้นรถแล้วต้องตากฝนเข้ามา ทิ้งไว้ข้ามวันก็ต้องมาเจอกลิ่นเหม็นอับจากความชื้นอีก หนักสุดก็เป็นเชื้อราขึ้นตามเบาะ ตามคอนโซล วันนี้ Car2Day เลยขอเสนอวิธีกำจัดเชื้อราและวิธีการป้องกันมาฝากให้ทุกคนได้หายกังวลใจกับเจ้าเชื้อราร้ายนี้กัน ก็ทำให้ภายในแฉะได้อีกเหมือนกัน
สาเหตุของรถเหม็นอับในช่วงฤดูฝน
หากคุณขึ้นรถแล้วรู้สึกมีกลิ่นเหม็นอับ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า เชื้อรากำลังจะบุกรถคุณอย่างแน่นอน อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะต่อให้คุณไม่ได้ขับรถไปลุยฝน ลุยน้ำที่ไหน ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น
- ทำน้ำหกใส่เบาะ ใส่พื้นรถ แล้วลืมเช็ด
- เผลอลืมเปิดกระจกรถทิ้งไว้ขณะฝนตก
- สวมรองเท้าเปียกขึ้นรถเป็นประจำ
- เสื้อผ้าชื้นแฉะ เบาะผ้าเปียกชื้น
- ระบบแอร์หมักหมมเพราะความชื้น
- ท่อน้ำแอร์รั่วซึมใต้คอนโซล
เมื่อทราบสาเหตุต่างๆ ตามนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการกระทำนี้เด็ดขาด หรือหากลีกเลี่ยงไม่ได้ให้รีบจัดการทำความสะอาด อย่าให้เหลือคราบเปียก หรือความชื้น เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
หากรถของคุณมีคราบเชื้อราแอบแฝงอยู่จะสังเกตได้อย่างไร
- กลิ่น สิ่งที่สัมผัสได้ก่อนอย่างอื่นเลยนั่นคือ กลิ่น เชื้อรามักจะส่งกลิ่นอับชื้น หากว่าเราเปิดแอร์ สตาร์ทรถแล้ว ได้กลิ่นอับชื้อที่ไม่น่าจะใช่กลิ่นน้ำยาแอร์ที่คุ้นเคย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่ามีเชื้อราแน่ๆ
- สังเกตด้วยตาเปล่า เชื้อรานั้นมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นจุดด่างดวงๆ บางชนิดมีขนด้วย ไม่ว่าจะเป็นสีดำ ขาว เขียว แดง เหลือง น้ำตาล มักพบได้ตามจุดอับที่ถูกแสงน้อย หรือบริเวณที่บุผ้าหรือหนังแท้ซึ่งเมื่อหากโดนความชื้น ให้ลองสังเกตที่ เพดานรถ พรมที่พื้น เบาะผ้า พวงมาลัยรถ ด้ามจับเบรคมือ ประตูข้าง เบาะหลัง
หากเชื้อราขึ้นรถ จะเกิดอะไรขึ้น เป็นอันตรายไหม?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับรถคุณ นอกจากกลิ่นเหม็นอับที่จะอยู่ติดรถไปอีกนาน หากไม่รีบกำจัด ก็ยังจะทำให้รถของคุณเป็นรอยด่าง และเราจะรู้สึกสกปรก ไม่สบายใจ เวลาหายใจ ระบบอากาศไหลเวียนในรถไม่ถ่ายเทไปตลอด ซึ่งนอกจากส่งผลร้ายกับรถไม่พอ ยังส่งผลร้ายต่อคุณได้อีกด้วย หากเราได้สูดเข้าไปบ่อยๆ นานๆ เข้า จะมีอาการดังนี้
- ปัญหาระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก จาม ภูมิแพ้ หายใจไม่คล่อง หอบหืบ รุนแรงสุดอาจทำให้ปอดอักเสบได้
- ปัญหาต่อผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ
- ปัญหาต่อดวงตา เช่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้ อาจะทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลา ตาแดง เยื่อตาอักเสบได้
- ปัญหาระบบประสาท เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว
ที่ร้ายแรงที่สุดเลยนั่นคือ อาจส่งผลให้เป็นพิษก่อมะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งกลุ่มที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก คือ ผู้สูงอายุ เด็ก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคภูมิแพ้ ดังนั้นให้หมั่นดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้เชื้อราบุกได้
วิธีกำจัดเชื้อราในรถ
- ก่อนทำการกำจัดเชื้อรา ควรสวมเครื่องมือป้องกัน อย่างเช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง หมวกคลุมผม เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อราโดยตรง
- นำรถไปจอดในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท
- น้ำส้มสายชู อุปกรณ์ที่จะช่วยให้คุณกำจัดเชื้อรา เพียงหาฟร็อกกี้ใส่ แล้วพ่นในบริเวณที่เป็นเชื้อราหรืออาจจะต้องพ่นทั้งรถ แล้วทิ้งเอาไว้ 1 ชั่วโมง
- หลังจากนั้นใช้เครื่องดูดฝุ่นดูสิ่งสกปรกและเชื้อราออกให้เรียบ
- พรมปูพื้นหรือพื้นผิวบริเวณคอนโซล ประตูรถ ให้ใช้น้ำอุ่นผสมผงซักฟอก (ชนิดไม่ผสมแอมโมเนีย) ขัดด้วยแปรงขนอ่อน แล้วใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้แห้ง หรือผึ่งลม
- ให้หาเครื่องฟอกอากาศที่ช่วยกำจัดมลพิษมาไว้ในรถ โดยเลือกแบบที่มีเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์ ซึ่งช่วยทั้งกำจัดฝุ่นละออง Pm2.5 แล้วยังช่วยฆ่าเชื้อโรคภายในรถ มลพิษร้ายต่างๆอีกด้วย
- หากพบเชื้อราขึ้นที่พรมหรือเบาะเป็นจำนวนมาก ควรน้ำรถไปเข้าศูนย์บริการรับล้างรถที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งอบโอโซน ฆ่าเชื้อรา เชื้อโรคไปพร้อมๆ กัน ลงทุนสักหน่อย แต่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็น ไม่เปลืองแรงตัวเอง
เชื้อรานั้นใข้เวลาในการเจริญเติบโต 1-2 วัน หากเรากำจัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาเช็คอีกครั้งว่ายังคงมีกลิ่น หรือมีเชื้อราขึ้นในบริเวณจุดเดิมหรือไม่
วิธีการป้องกันกลิ่นอับและเชื้อราภายในรถ
- ก่อนจะจอดรถ ควรเช็คให้แน่ใจว่าปิดประตูหน้าต่างทุกบานสนิทแล้วทุกครั้ง
- หมั่นเช็คยางรอบประตูรถและหน้าต่างว่ายังไม่เสื่อมสภาพ
- วันที่แดดจ้า ควรนำรถไปจอดตากแดดบ้าง ลดกระจกลงเล็กน้อย เพื่อระบายสิ่งอับชื้นภายในรถ
- หากห้องโดยสารเปียก ให้ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทั้งเบาะ พรมปูพื้น ทันที
- เช็ดช่องแอร์เป็นประจำ ด้วยการใช้สำลีหรือผ้าชุดน้ำส้มสายชู
- หาอุปกรณ์ช่วยดูความชื้อมาไว้ในรถ
วิธีกำจัดเชื้อราง่ายๆ ด้วยตัวเองเช่นนี้ สามารถทำได้ในงบไม่ถึง 100 บาท แต่ทางที่ดี ควรป้องกันเอาไว้ เพราะไม่ใช่ว่าแค่กำจัดง่ายๆแล้วหาย แต่ยังส่งผลไปถึงร่างกายของคุณและคนรอบข้างได้อีกด้วย ในครั้งหน้าหากมีทริคหรือเทคนิคดีๆ อะไรอีก เราจะมาแนะนำให้ความรู้กันอีกครั้ง โปรดติดตามด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง