เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ต้อนรับเดือนเมษายนเดือนที่อบอ้าวที่สุดแต่ยอดขายรถยนต์ในไทยไม่ร้อนแรงตามเดือน ชะลอตัวอยู่ที่ 46,738 คัน ลดลง 21.5%
สาเหตุหลักๆแน่นอนว่ามาจากภาคเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อยังคงจำกัด และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินสำหรับตลาดรถยนต์เดือนเมษายนชะลอตัวอยู่ที่ 46,738 คัน ลดลง 21.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วแบ่งเป็นกลุ่มตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 17,288 คัน ลดลง 14.4% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 29,450 คัน ลดลง 25.1% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 17,689 คัน ลดลงถึง 34%
ในส่วนของตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก xEV มียอดขายทั้งหมด 15,161 คัน คิดเป็นสัดส่วน 32.4% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 27% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV เติบโตขึ้น 56% ด้วยยอดขาย 10,208 คัน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 4,282 คัน ลดลง 4% แต่ยังคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมที่จะจบยอดในวันนี้นั้นมีแนวโน้มจะดีขึ้นจากเดือนเมษายนแต่ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงฟื้นตัวช้า
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 46,738 คัน ลดลง 21.5 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,422 คัน ลดลง 0.7 % ส่วนแบ่งตลาด 41.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,856 คัน ลดลง 48.6 % ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,743 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 2,217 คัน ลดลง 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
อันดับที่ 5 ฟอร์ด 2,016 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 4.3%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 17,288 คัน ลดลง 14.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,500 คัน ลดลง 24.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,442 คัน ลดลง 9% ส่วนแบ่งตลาด 19.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,665 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
อันดับที่ 4 เอ็มจี 1,159 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
อันดับที่ 5 บีวายดี 680 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3.9%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 29,450 คัน ลดลง 25.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,922 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 47.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,856 คัน ลดลง 48.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,301 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 2,015 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 552 คัน ลดลง 59.3% ส่วนแบ่งตลาด 1.9%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 17,689 คัน ลดลง 34%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,647 คัน ลดลง 15.6% ส่วนแบ่งตลาด 48.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,091 คัน ลดลง 48.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,015 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 542 คัน ลดลง 59.6% ส่วนแบ่งตลาด 3.1%
อันดับที่ 5 นิสสัน 250 คัน ลดลง 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 1.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) ปริมาณการขาย 3,622 คัน ลดลง 26.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 1,335 คัน ลดลง 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 1,044 คัน ลดลง 37.7% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,012 คัน เพิ่มขึ้น 20.9% ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 192 คัน ลดลง 56.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
อันดับที่ 5 นิสสัน 39 คัน ลดลง 58.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.1%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 14,067 คัน ลดลง 35.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,312 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 52%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,047 คัน ลดลง 50.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,003 คัน ลดลง 50.6 % ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 350 คัน ลดลง 61.3% ส่วนแบ่งตลาด 2.5%
อันดับที่ 5 นิสสัน 211 คัน เพิ่มขึ้น 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 1.1%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 210,494 คัน ลดลง 23.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 78,232 คัน ลดลง 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 31,300 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 30,847 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
อันดับที่ 4 บีวายดี 10,944 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 9,804 คัน ลดลง 29.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 82,903 คัน ลดลง 15.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,131 คัน ลดลง 37.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 17,640 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 21.3%
อันดับที่ 3 บีวายดี 8,655 คัน ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 6,619 คัน ลดลง 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 8%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 4,989 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 6%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 127,591 คัน ลดลง 28.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 56,101 คัน ลดลง 5.4% ส่วนแบ่งตลาด 44%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 31,300 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 24.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 13,207 คัน เพิ่มขึ้น 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 7,946 คัน ลดลง 42.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.2%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 3,185 คัน ลดลง 55.1% ส่วนแบ่งตลาด 2.5%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 74,114 คัน ลดลง 42.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 33,895 คัน ลดลง 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 27,572 คัน ลดลง 50.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 7,946 คัน ลดลง 42.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 3,166 คัน ลดลง 55.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.3%
อันดับที่ 5 นิสสัน 1,122 คัน ลดลง 31.4% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) ปริมาณการขาย 13,436 คัน ลดลง 42.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 4,983 คัน ลดลง 42.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,212 คัน ลดลง 46.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,151 คัน ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 23.5%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 924 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
อันดับที่ 5 นิสสัน 166 คัน ลดลง 62.2% ส่วนแบ่งตลาด 1.2%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 60,678 คัน ลดลง 42.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,912 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 47.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 23,360 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,795 คัน ลดลง 49.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 2,242 คัน ลดลง 57.1% ส่วนแบ่งตลาด 3.7%
อันดับที่ 5 นิสสัน 956 คัน ลดลง 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.6%