More

    9 วิธี แก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดขา เวลาขับรถนาน ๆ

    เชื่อว่าทุกคนคงเคยมีอาการ “ปวดหลัง” บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย สาเหตุการปวดมาจากการทำงานหนัก ขับรถเป็นเวลานาน มักเกิดจากการทำท่าทางซ้ำ ๆ ในท่าเดิม ๆ วันนี้เราจะมาลองวิธีการบรรเทาอาการปวดหลังเวลาขับรถนาน ๆ เผื่ออาจจะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากอาการเหล่านี้ได้ 

    9 วิธีจัดระเบียบท่านั่งให้เหมาะสมกับการขับรถที่ดี เพื่อลดอาการปวดขา ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย

    1. นั่งให้แผ่นหลัง สะโพก และต้นขา ชิดเบาะมากที่สุด เพื่อให้เบาะโอบรับสรีระของร่างกาย ไม่ให้เราเกร็งขณะขับรถจนเกินไป
    2. ปรับระยะห่างที่นั่ง ระยะที่เหมาะสมคือระยะที่เข่าของคุณจะงอเล็กน้อยเวลาเหยียบเบรกจนสุด นอกจากจะ ทำให้เหยียบเบรก หรือคันเร่งได้อย่างเต็มที่
    3. ปรับความสูงของที่นั่ง เพื่อให้ได้ทัศนวิสัยที่ดี มองเห็นได้รอบรถ และมองเห็นกระจกแต่ละส่วนได้ชัดเจน ไม่ต้องชะเง้อให้ปวดคอไปอีก
    4. ปรับเบาะที่นั่งเงยขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้สามารถเหยียบคันเร่ง หรือเบรกได้ง่ายขึ้น และให้เบาะนั่งรับกับต้นขาได้ดีขึ้น
    5. ปรับพนักพิงให้ได้องศาที่เหมาะสม เพื่อสร้างระยะห่างจากพวงมาลัย ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมรถได้ง่ายขึ้น
    6. ปรับเบาะรองศีรษะ ให้ตรงกับระดับความสูงของศีรษะของผู้ขับ และระยะห่างระหว่างศีรษะกับ เบาะรองศีรษะควรอยู่ที่ประมาณ 2 เซนติเมตร
    7. จับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกาเพราะเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับหัวไหล่ ลดอาการเมื่อยไหล่ และยังทำให้หมุนพวงมาลัยได้ง่าย ไม่หลุดมือ
    8. ปรับองศาพวงมาลัย ให้อยู่ในองศาที่เมื่อจับพวงมาลัยแล้วรู้สึกถนัดมากที่สุด ไม่รู้สึกว่าต้องเอื้อม หรือเกร็งไหล่
    9. ปรับระยะพวงมาลัย โดยก่อนปรับ ให้ลองยืดแขนไปพาดอยู่บนพวงมาลัยดู หากข้อมือไม่ได้อยู่บนพวงมาลัย ให้ปรับระยะพวงมาลัยจนตรงกับระยะข้อมือของเรา โดยที่ตัวยังแนบอยู่กับที่นั่ง เมื่อปรับได้ระยะที่ถูกต้องแล้ว แขนของเราจะงอเล็กน้อยเวลาจับพวงมาลัย ซึ่งทำให้ง่ายต่อการควบคุม

    ท่านั่งที่ถูกต้องไม่ว่าจะขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ก็สามารถช่วยลดและบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ ถ้าหากต้องเดินทางไกล ๆ ก็สามารถจอดรถแวะพักสักหน่อย เพื่อยืดเส้น ยืดสาย อย่าฝืนขับเป็นเวลานานเพื่ออาจจะส่งผลกระทบกับร่างกายในระยะยาวได้


    บทความอื่น ๆ

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts