มาดูกันว่าการตรวจสภาพรถประจำปีนั้น มีความสำคัญอย่างไร และต้องตรวจเช็กอะไร มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
เช็กลิสต์สภาพรถยนต์ประจำปี ต้องเตรียมตัวดังนี้
การตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี หรือที่คุ้นตากันตามป้ายริมทางต่างๆ คือ การตรวจสภาพรถ ตรอ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเสียภาษีรถยนต์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ระบุไว้ว่า “รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หรือนำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถ ผู้โดยสารไปกับรถคันนั้น ผู้ขับขี่รถคันอื่น ๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ” ดังนั้นเราที่ต้องการใช้รถยนต์ก็ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้
ประเภทรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพประจำปีก่อนเสียภาษี โดยทางกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดเอาไว้ดังนี้
- รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท โดยไม่จำกัดอายุการใช้งาน ดังนี้
-
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
-
สามารถนำไปตรวจเช็กสภาพรถประจำปีได้ที่ไหน?
- รถยนต์ที่ท่านสามารถไปจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท ท่านสามารถนำรถไปตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางทางบก หรือที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
- ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์
-
- เจ้าของรถต้องนำรถไปตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น แต่ก็มีกรณียกเว้นดังนี้
-
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม : ท่านจะต้องตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้รถของส่วนราชการ : บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ ให้ตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ก็ได้
- รถที่มีการดัดแปลงสภาพ : กรณีที่มีการดัดแปลงสภาพรถ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ เราจะต้องนำรถไปตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
-
- เจ้าของรถต้องนำรถไปตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น แต่ก็มีกรณียกเว้นดังนี้
-
เมื่อไหร่ที่จะถึงกำหนดตรวจสภาพรถยนต์?
- เราจะต้องนำรถไปตรวจสภาพประจำปีให้เรียบร้อยก่อนที่ภาษีรถยนต์ประจำปีของเราจะหมดอายุ แต่ก็มีเงื่อนไขอีกอย่างก็คือ การตรวจสภาพรถประจำปีของเรานั้นจะสามารถตรวจล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนภาษีรถเราจะหมดอายุเท่านั้น และหากเราลืมที่จะตรวจสภาพรถยนต์หรือดำเนินการล่าช้า เราก็จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มมาจากค่าตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีอีกด้วย
ค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องจ่ายในการตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
- รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
หากตรวจแล้วไม่ผ่านจะต้องทำอย่างไรบ้าง?
- กรณีที่รถเราไม่ผ่านการตรวจ ทางสถานตรวจรถจะแจ้งรายละเอียดให้เราทราบว่าเราจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็ให้เราทำการแก้ไขตามนั้น และรีบนำรถกลับมาตรวจสภาพใหม่อีกครั้งภายใน 15 วัน ส่วนค่าใช้จ่ายก็จะเสียเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของการตรวจครั้งแรก กรณีถ้าเราดำเนินการช้าเกิน 15 วัน หรือ หากเรานำรถไปตรวจสภาพที่สถานที่ตรวจอื่นๆ เราก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนตามปกติ
ตรอ.เขาตรวจเช็กอะไรรถยนต์ของคุณบ้าง?
- การตรวจวัดเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
- รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบกระดาษกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกิน 45%
- ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางเบี่ยงเบนของลำแสง และตรวจวัดค่าความเข้มของแสง
- ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ เช่น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ เป็นต้น
- ตรวจสภาพตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อุปกรณ์ไฟฟ้า พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
- ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบเบรก ระบบเชื้อเพลิง ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
- ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
- ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
เจ้าของรถสามารถนำรถเข้าตรวจ ตรอ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุภาษีประจำปี คราวนี้ก็หมดกังวลกับการตรวจสภาพรถได้แล้วและเมื่อเราแก้ไขจนครบตามรายละเอียดที่แจ้งมาและทางสถานที่ตรวจสอบก็ตรวจเช็กว่าผ่าน เราก็จะได้ใบรับรองการตรวจสถาพรถของเราจากสถานที่ตรวจสภาพ เพื่อที่เราจะนำไปใช้ในการดำเนินการต่อภาษีป้ายทะเบียน