ลืมต่อภาษีรถยนต์ เป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับการต่อภาษี ต่อทะเบียนรถยนต์ เพราะหากไม่เสียภาษีอย่างถูกต้องนั้น คือการกระทำผิดต่อกฎหมาย อาจส่งผลกระทบสำหรับผู้ที่มีรถยนต์ได้
ภาษีรถยนต์คืออะไร
ภาษีรถยนต์ คือ ภาษีรูปแบบหนึ่งที่คนมีรถทุกคนจะต้องจ่ายให้กับกรมสรรพสามิต รถทุกคันจะมีป้ายภาษีรถยนต์ประจำปีแปะอยู่ที่กระจกด้านหน้าของรถยนต์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ป้ายวงกลม ซึ่งในตัวเอกสารจะระบุปีที่ต่อภาษี วันหมดอายุ เลขทะเบียนรถยนต์ ยี่ห้อรถ และลายเซ็นต์นายทะเบียน โดยปกติแล้วทุกๆ ปี เจ้าของรถทุกคนจะต้องทำการต่อภาษีประจำปี
ลืมต่อภาษีรถยนต์ ขาดได้ไม่เกินกี่ปี
อธิบายคำว่าทะเบียนขาดก่อน คำว่า “ขาด” ในที่นี้หมายถึง “การขาดการต่อภาษีทะเบียนกับกรมขนส่ง” ซึ่งในแต่ละปีรถเรามีค่าใช้จ่ายประจำปีตามกฎหมายก็คือ พ.ร.บ. และ ต่อภาษีทะเบียนรถ
สำหรับการต่อทะเบียนรถหรือจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี เราจะได้รับป้ายสี่เหลี่ยมหรือป้ายวงกลมจากกรมขนส่งที่ระบุวันที่ต่อภาษีในปีถัดไป ซึ่งถ้าไม่ไปทำการจ่ายภาษีในวันที่กำหนด ก็จะถือว่าเป็นการขาดต่อภาษีทะเบียนรถ นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ทะเบียนรถขาด” โดยปกติแล้วรถยนต์จะขาดการต่อทะเบียนได้ไม่เกิน 3 ปี ในป้ายภาษีจะมีบอกวันสิ้นอายุของการต่อทะเบียนรถไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเจ้าของรถสามารถต่อภาษีก่อนกำหนดได้ไม่เกิน 90 วัน หากเกินกำหนดจะถูกปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระหรือไปทำการต่อทะเบียน
วิธีต่อพ.ร.บ. ต่อภาษี รถยนต์และรถจักรยานยนต์ อัปเดตปี 2567
ค่าปรับภาษีรถยนต์
1. กรณีต่อภาษีล่าช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน ของค่าต่อทะเบียนจริงจนถึงวันชำระ
2. สามารถชำระค่าภาษี ล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนครบกำหนดหมดอายุ
3. ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทันที ต้องทำเรื่องจดทะเบียนใหม่ พร้อมเสียค่าปรับและค่าภาษีทั้งหมด
4. รถที่ไม่ต่อภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
5. รถที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
6. หากขาดต่อทั้งภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. ปรับ 20,000 บาท
7. ใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายชำระภาษีรถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
8. หากเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ต้องจ่ายค่าเสียหายเอง 100%
หากทะเบียนรถขาดเกิน 5 ปี สามารถต่อได้ไหม??
สำหรับการต่อทะเบียนนั้น พยายามอย่าให้ขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี เพราะจะถือว่าเป็นการ “แจ้งจอด” และจะมีจดหมายจากกรมขนส่งมาถึงเจ้าของรถให้ระงับการใช้งานรถยนต์และเลขทะเบียนรถคันนั้นจะถูกยกเลิกทันที
เจ้าของรถจะต้องนำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน ทำการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ที่สำคัญคือเมื่อทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี จะต้องดำเนินการขอทะเบียนรถใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี และจะไม่สามารถใช้ทะเบียนเดิมได้อีกต่อไป
สำหรับรถที่ขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี ต้องทำการขอทะเบียนใหม่
- นำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน
- ชำระภาษีที่ค้างย้อนหลัง สูงสุด 3 ปี
- แจ้งขอใช้รถอีกครั้ง พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม
- ซื้อ พ.ร.บ. รถใหม่
เอกสารที่ต้องใช้ในการขอทะเบียนใหม่
- บันทึกการระงับทะเบียน
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
- พ.ร.บ. ที่ทำใหม่
- หนังรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (ถ้ารถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
- หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)
- ดำเนินการที่กรมขนส่งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ทั้งนี้การขาดต่อภาษีรถยนต์ รวมไปถึงการขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไปด้วย ทำให้นอกจากจะเสียเงินค่าปรับกรณีขาดต่อภาษีรถยนต์แล้ว ก็ยังต้องเสียค่าปรับกรณีขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่เกิน 2,000 บาทอีกด้วย
ฉะนั้นหากท่านใดที่มีรถยนต์ อย่าให้ภาษีรถของคุณขาดนานเกินถึง 3 ปีโดยเด็ดขาด มิเช่านั้นอาจจะต้องเสียทั้งเงินและเสียทั้งเวลาไปเดินเรื่องขอเลขทะเบียนใหม่
CR : กรมการขนส่งทางบก