ต่อให้คุณขับรถเก่งมากแค่ไหน มั่นใจว่าที่ผ่านมาไม่เคยชนเลยสักครั้ง ใครเตือนเท่าไรก็ไม่สน ควรหยุดและฟังได้แล้วนะคะ สิ่งที่คาดเดาไม่ได้เลยก็คืออุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทไม่ว่าจะจากเราหรือผู้อื่น การเคารพกฎจราจร มารยาทบนท้องถนน แต่ละคนมีจิตสำนึกไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คุณขับรถได้อย่างปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อภัยบนท้องถนนนั่นก็คือสติ หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจในการขับรถของเราไปให้ไม่จดจ่อหรือตั้งใจขับ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่พาไปสู่อุบัติเหตุได้ ดังนั้นควรมีสติและจดจ่อกับการขับรถทุกครั้ง ไม่ว่าจะขับช้าหรือเร็ว ควรหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ คือ
เชื่อว่าอุบัติเหตุส่วนมากในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะชนท้าย เฉี่ยวกันตามทางเล็กทางน้อย เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถถึง 90% ซึ่งเข้าใจว่าบางครั้งอาจจะต้องดูเส้นทางหรือคุยติดต่อประสานงานในขณะที่ขับเดี๋ยวนั้น แต่ถ้าคุณคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักแล้ว วิธีแก้ไขมีอยู่มากมาย เช่น หากมีสายสำคัญเข้าควรหาที่จอดที่ปลอดภัยแล้วคุยธุระให้เสร็จเสียก่อน เพราะการขับไปด้วยคุยไปด้วย จะทำให้เราขาดสติในการดูรถให้ทั่วถึง หรือบางคนสมัยนี้ชอบขับไปด้วยพิมพ์แชทไปด้วย เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรอย่างยิ่งเลยนะคะ ต่อให้เป็นในขณะที่ติดไฟแดงอยู่ก็เช่นกัน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก ควรงดพฤติกรรมนี้โดยเด็ดขาดนะคะ
**ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หากฝ่าฝืนกฎจะถูกปรับ 400-1,000 บาท แนะนำใช้เป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้เกี่ยวกับโทรศัพท์แทน เช่น หูฟัง อุปกรณ์ที่วางตั้งโทรศัพท์ มันจะช่วยให้ขับขี่ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น
ในปัจจุบันนี้โทษเมาแล้วขับมีมาตรการเข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากพ.ร.บ.จราจรทางบกกำหนดไว้ว่า “ห้ามผู้ขับขี่ดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถทุกชนิด” หากผู้ขับขี่ฝ่าฝืนกฎและพบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 40,000 บาท หรือโทษทั้งจำทั้งปรับ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ถาวร โทษขนาดนี้แล้วก็ยังไม่วายมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรนี้กันอยู่มากมาย สถิติในการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับนั้น นับเป็น หมื่นๆเคสต่อวันกันเลยทีเดียว เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงแต่เสี่ยงอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงไปถึงชีวิตตัวคุณเองและผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้นเมื่อทราบถึงผลเสียที่จะได้รับกันแล้ว พฤติกรรมนี้ไม่ใช่แค่ควรหลีกเลี่ยง แต่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาด
พฤติกรรมนี้มองเป็นความประมาทอย่างไร ก็คือ ตัวของเราเองสามารถรู้สภาพร่างกาย ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าต่างๆ ด้วยตัวคุณเองได้ หากต้องกลับบ้านในขณะที่ง่วงนอน หรืออ่อนเพลียมากๆ แล้ว ควรหาวิธีการแก้ง่วงต่างๆ ที่นี่ มาช่วยดึงสติ เพื่อให้คุณถึงที่หมายอย่างปลอดภัย เพราะเพียงแม้แต่คุณหลับแค่ไม่กี่เสี้ยววินาที ก็อาจะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้เช่นกัน เอาเป็นว่า !! ถ้าคุณรู้สึกง่วงนอน รู้สึกเหนื่อยล้าให้รีบจอดรถในจุดพักรถ เพื่อแวะนอนสักงีบก่อน หรือจะลองดื่มกาแฟ ลูกอม ล้างหน้าล้างตาก็จะช่วยให้เราหายง่วงได้นะคะ
หากใครที่มีพฤติกรรมชอบขับรถคร่อมเลน ซึ่งบางคนมือใหม่กะระยะเลนกับรถไม่ถูก ไม่ยอมเลือกไปทางซ้ายหรือทางขวาสักเลน อาจจะเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนได้โดยไม่รู้ตัว มีผลให้ผู้ขับขี่คนอื่นเสี่ยงอันตรายตามไปด้วย ซึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ว่า การขับรถคร่อมเลนหรือทับเส้นทึบแนวแบ่งช่องรถ โดยไม่ได้เปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถนั้นจะมีความผิดตามกฎหมายจราจรทางบกจะมีโทษปรับอยู่ที่ 500 – 1,000 บาท แล้วยิ่งสมัยนี้มีกล้องคอยตรวจจับถนนทุกเส้นทางอีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากต้องเสี่ยงอุบัติเหตุหรือเสียค่าปรับแล้วละก็ควรทำตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดนะคะ
5. เเซงแบบกระชั้นชิดหรือปาดหน้า
ต่อให้คุณรีบมากแค่ไหน ก็ไม่ควรเอาเปรียบหรือเป็นชนวนต้นตอที่จะพาผู้อื่นไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เพราะการขับรถด้วยการแซงแบบกระชั้นชิด หรือปาดหน้าเข้าไปนั้นทำให้ผู้อื่นไม่ทันระมัดระวังตัว อาจเกิดการตกใจเฉี่ยวชนหรือเบรคกระทันหันเป็นเหตุให้รถเสียหลักหรือพลิกคว่ำได้ ดังนั้นผู้ขับขี่ทุกคนควรคำนึงถึงสิ่งนี้เมื่อต้องการจะเลี้ยวหรือแซงควรกะระยะหรือชะลอความเร็ว ดูระยะความปลอดภัยในการแซง หรือเปลี่ยนเลนให้ดีเสียก่อน และควรเปิดสัญญาณไฟให้ผู้อื่นทราบ
6. เปลี่ยนเลนโดยไม่เปิดสัญญาณไฟ
พบเห็นบ่อยมากไม่ว่าจะเลี้ยวเข้าซอย หรือผ่านสี่แยกต่างๆ มักจะมีผู้ขับขี่ที่ไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือบนถนนทางหลวง ก็เปลี่ยนเลนกันโดยไม่ให้สัญญาณใดๆ ซึ่งเรื่องเล็กๆแค่นี้ แต่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุใหญ่ก็เป็นได้ ดังนั้นควรเปิดสัญญาณไฟทุกครั้งก่อนจะเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลนส์อย่างน้อยๆ 30 เมตร เพื่อให้ผู้อื่นได้สังเกตุได้ชัดเจน หากคุณไม่เปิดแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมหละก็ งานนี้ตัวคุณเองที่เป็นฝ่ายผิดกฎหมายนะจ๊ะ
7. เร่งรถเมื่อเห็นสัญญาณไฟเหลือง
ความจริงแล้วสัญญาณไฟเหลืองนี้ทำขึ้นมาเพื่อเตือนให้ชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถกันนะจ๊ะ ไม่ใช่เหยียบมิดไมล์เพื่อที่จะผ่านไปให้ทันก่อนไฟแดง ทางที่ดีช่วยเสียเวลาติดไฟแดงสักนิดดีกว่ารีบจนทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุและอาจเสียเวลามากกว่าเดิมด้วยซ้ำ หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเค้ามีกฎหมายการฝ่าสัญญาณไฟเหลืองกันด้วย หากฝ่าฝืนกฎจะมีโทษปรับ 1,000 บาท ในกรณีที่ขับเลยเส้นหยุดรถไปก่อนไฟเหลืองอันนี้ไม่ผิดกฎหมาย
หนึ่งในมารยาทขับรถที่สำคัญในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน คือหากคุณรีบมาก แล้วรถช่องทางด้านขวาก็ขับช้าไม่ทันใจซะเหลือเกิน อยากจะให้เค้าหลีกทางให้ จึงแสดงออกด้วยการขับรถจี้ท้ายนั้น เป็นความคิดที่ผิดมาก ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะดูไม่มีมารยาทแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย เพราะถ้าหากเกิดรถด้านหน้าเบรคกระทันหันขึ้นมา รับรองว่าได้มีเสยท้ายกันแน่นอน และคนที่เป็นฝ่ายผิดนั้นก็คือรถที่มาชนท้ายด้านหลังนั่นเอง งานนี้ทั้งเสียเวลา เสียหายกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากคุณรีบจริงๆ ควรหาโอกาสในการแซงขึ้นไปจะดีกว่า และควรเว้นระยะให้ห่างอย่างน้อย 50 เมตร หรือระยะปลอดภัย
หากคุณอยู่ในที่เปลี่ยวหรือมองทางแทบไม่เห็น การเปิดไฟสูงอันนี้พอจะช่วยให้มองเห็นเส้นทางได้ชัดเจนขึ้น แต่เมื่อคุณอยู่บนถนนที่มีรถผู้อื่นร่วมด้วยแล้วนั้น การเปิดไฟสูงไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเปิดไฟสูงใส่รถที่สวนกันมา หรือเปิดใส่หลังรถคันอื่น หรือ เปิดเพื่อเร่งไล่รถคันหน้าให้หลีกทาง เพราะเพียงการที่ไฟกระแทกกับสายตาของผู้อื่นไม่กี่วินาทีนั้น ก็เป็นการเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นไฟสูงนี้ควรใช้ในเฉพาะเส้นทางที่เปลี่ยวมืด และไม่มีรถสวนหรือรถในบริเวณนั้นๆ หากเกิดหมอกหรือฝนตกหนักควรใช้เป็นไฟตัดหมอกจะดีกว่า
10. จอดรถในบริเวณที่ห้ามจอด
การจอดรถในที่ห้ามจอดที่มีป้ายหรือสัญลักษณ์บอกนั้น ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งเราควรสังเกตว่าบนฟุตบาทหรือในบริเวณนั้นมีป้ายสัญลักษณ์อะไรเตือนหรือไม่ว่าจอดได้เวลาใด และไม่สามารถจอดได้เวลาใด ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะกำหนดแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงสีขาว-ดำ, ขาว-แดง , ขาว-เหลือง ตามฟุตบาทต่างๆอีกด้วย เพราะเสี่ยงทั้งรถเป็นรอย ถูกเฉี่ยวชน และโดนปรับอีกต่างหาก
ทั้งหมดนี้คือ พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุที่ไม่ควรทำขณะขับรถ เพราะทุกคนต่างใช้รถใช้ถนนร่วมกัน เราต้องคำนึงถึงเพื่อนร่วมทางด้วยการเคารพกฎจราจร แสดงความน้ำใจต่อกัน หากผิดพลาดเล็กน้อยไม่ได้ตั้งใจก็ควรเอ่ยคำขอโทษ หรือขอบคุณที่ผู้อื่นมีน้ำใจต่อเรา เท่านี้ก็ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยนะคะ