ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทยยังคงลดลงต่อเนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ กำลังซื้อจำกัดและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
ฉุดตลาดรถยนต์ลดลงติดต่อกัน 45,190 คัน ลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,305 คัน ลดลง 22.6% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 26,885 คัน ลดลง 26.5% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 14,970 คัน ลดลง 39.2%
ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด17,090 คัน คิดเป็นสัดส่วน 38% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่รถยนต์ HEV ยังคงได้รับความนิยม โดยมียอดขายอยู่ที่ 8,658 คัน เติบโตขึ้น 33% คิดเป็นสัดส่วน 51% ของตลาด xEV และรถยนต์ BEV มียอดขาย 7,654 คัน เพิ่มขึ้น 16% คิดเป็นสัดส่วน 45% ของตลาด xEV ทั้งหมด
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายนแนวโน้มจะยังคงทรงตัว แต่ยังคงเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวช้า และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมถึงภาวะอุทกภัย อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
สำหรับตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือน 399,611 คัน ลดลง 23.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 154,194 คัน ลดลง 20.6% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 245,417 คัน ลดลง 25.8% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 139,532 คัน ลดลง 40.0%
เป็นที่น่าสังเกตุว่ายอดขายรถยนต์สะสม 8 เดือนในส่วนของรถยนต์นั่งทาง BYD ทำยอดโตขึ้นถึง 3,003.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.7% ด้วยตัวเลข 14,926 คัน จากปริมาณการขายรวม 154,194 คัน ลดลง 20.6% ทั้งนี้เกิดจากการเปิดรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีรวมถึงแคมเปญลดราคาสูงสุด 3 แสนกว่าบาท
นอกจากนี้ทาง ISUZU ไปได้สวยกับ ISUZU MU-X The Next Peak หลังเปิดขาย 3 เดือนกว่าตั้งแต่ 18 มิถุนนายน มียอดจองรวมทุกรุ่นของ MU-X มากกว่า 6,300 คัน โดยยอดจองทั้งหมดที่ได้มานั้นส่วนใหญ่เป็นรุ่น RS และมีสัดส่วนมากถึง 42% และก็ได้ยอดจองมากขึ้นจากกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ที่ไม่เคยสัมผัส MU-X มาก่อนและมีสัดส่วนถึง 57% เรียกว่าเป็นการตอบที่ดีอย่างยิ่ง
และจากการตอบรับอย่างล้นหลามของ ISUZU MU-X The Next Peak ทำให้กำลังการผลิตของรุ่นท็อปสุดอย่าง RS ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการจนมียอดค้างส่งมอบโดยทาง ISUZU จะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่สนใจ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 45,190 คัน ลดลง 25%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,843 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,145 คัน ลดลง 46% ส่วนแบ่งตลาด 13.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,005 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
อันดับที่ 4 บีวายดี 3,457 คัน เพิ่มขึ้น 53.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 2,041 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 4.5%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,305 คัน ลดลง 22.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,554 คัน ลดลง 33.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,302 คัน ลดลง 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 18.0%
อันดับที่ 3 บีวายดี 2,170 คัน เพิ่มขึ้น 351.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,375 คัน เพิ่มขึ้น 48.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 1,177 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 26,885 คัน ลดลง 26.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,289 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,145 คัน ลดลง 46.0% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 1,703 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 1,501 คัน ลดลง 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.6%
อันดับที่ 5 บีวายดี 1,287 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถ PPV*) ปริมาณการขาย 14,790 คัน ลดลง 39.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,086 คัน ลดลง 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 47.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,275 คัน ลดลง 47.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,501 คัน ลดลง 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 666 คัน ลดลง 43.0% ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
อันดับที่ 5 นิสสัน 280 คัน ลดลง 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 1.9%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 2,667 คัน ลดลง 47.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 1,158 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 822 คัน ลดลง 59.8% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 542 คัน ลดลง 52.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.3%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 113 คัน ลดลง 51.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
อันดับที่ 5 นิสสัน 32 คัน ลดลง 57.9% ส่วนแบ่งตลาด 1.2%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 12,303 คัน ลดลง 37.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,264 คัน ลดลง 21.4% ส่วนแบ่งตลาด 50.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,117 คัน ลดลง 51.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 959 คัน ลดลง 47.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 553 คัน ลดลง 40.9% ส่วนแบ่งตลาด 4.5%
อันดับที่ 5 นิสสัน 248 คัน ลดลง 17.3% ส่วนแบ่งตลาด 2.0%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 399,611 คัน ลดลง 23.9 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 151,907 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 59,189 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 14.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 53,946 คัน ลดลง 11.2% ส่วนแบ่งตลาด 13.5%
อันดับที่ 4 บีวายดี 20,878 คัน เพิ่มขึ้น 41.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.2%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 18,263 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.6%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 154,194 คัน ลดลง 20.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 44,131 คัน ลดลง 34.6% ส่วนแบ่งตลาด 28.6%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 30,555 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่งตลาด 19.8%
อันดับที่ 3 บีวายดี 14,926 คัน เพิ่มขึ้น 3,003.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.7%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 12,345 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 8,875 คัน ลดลง 22.6% ส่วนแบ่งตลาด 5.8%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 245,417 คัน ลดลง 25.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 107,776 คัน ลดลง 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 59,189 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 23,391 คัน เพิ่มขึ้น 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 14,730 คัน ลดลง 43.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
อันดับที่ 5 บีวายดี 5,952 คัน ลดลง 58.4% ส่วนแบ่งตลาด 2.4%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถ PPV*) ปริมาณการขาย 139,532 คัน ลดลง 40.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 64,144 คัน ลดลง 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 46.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 51,711 คัน ลดลง 47.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 14,730 คัน ลดลง 43.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 5,869 คัน ลดลง 54.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
อันดับที่ 5 นิสสัน 2,081 คัน ลดลง 33.0% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 24,481 คัน ลดลง 43.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,736 คัน ลดลง 43.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,247 คัน ลดลง 45.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 5,564 คัน ลดลง 33.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,656 คัน ลดลง 45.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
อันดับที่ 5 นิสสัน 278 คัน ลดลง 66.8% ส่วนแบ่งตลาด 1.1%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 115,051 คัน ลดลง 39.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 55,408 คัน ลดลง 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 48.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 43,464 คัน ลดลง 48.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 9,166 คัน ลดลง 47.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 4,213 คัน ลดลง 56.7% ส่วนแบ่งตลาด 3.7%
อันดับที่ 5 นิสสัน 1,803 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 1.6%
ทางด้าน