เตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงฤดูฝนทุกปี ที่จะต้องเจอกับเหตุการณ์น้ำท่วมขับและรถติดเป็นเวลานาน จุดไหนที่มีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ เช็กได้ที่นี่
เหตุผลที่คุณควรหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำท่วม
- คำแนะนำที่ดีที่สุดหากคุณเจอน้ำท่วมบนถนนก็คือ หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้น แล้วหาเส้นทางอื่นเถอะ ถึงแม้คุณกำลังจะพลาดนัดสำคัญแล้วก็ตาม เพราะมันไม่คุ้มเลยหากคุณไปทันนัด แต่รถคุณพัง
- หลีกเลี่ยงการขับรถผ่านน้ำท่วมที่สูงเกินกว่า 15 เซนติเมตร หากเป็นน้ำที่กำลังไหลอย่างมากที่สุดไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร โดยสรุปคือหากเป็นน้ำขังสูงเท่าข้อเท้า ควรหลีกเลี่ยงทันที เพราะน้ำสามารถเข้าภายในตัวเครื่อง และทำให้เครื่องยนต์หยุดทำงาน หรือแย่กว่านั้นก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับรถได้
- งานวิจัยจากสมาคมยานยนต์ในต่างประเทศพบว่าคนส่วคลองทวีวัฒนานมากยอมเสี่ยงชีวิตด้วยการขับรถลุยน้ำท่วม และผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 1 ใน 4 ตอบว่าพวกเขาคิดจะขับรถฝ่าน้ำที่ลึกกว่า 30 ซม.ที่กำลังไหล ซึ่งเป็นความลึกระดับที่น้ำสามารถพัดให้รถเคลื่อนที่ได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าผู้ใช้รถส่วนมากประเมินพลังของน้ำท่วมต่ำเกินไป
ข้อควรระวังหากต้องขับรถฝ่าน้ำท่วม
หากคุณจำเป็นต้องขับรถฝ่าน้ำท่วมเข้าจริงๆ ควรทำดังนี้
- เมื่อรถลงน้ำเริ่มขับที่ความเร็ว 1-2 กิโลเมตร/ชั่วโมงและเร่งความเร็วที่ 3-4 กิโลเมตร/ชั่วโมงเพื่อทำให้เกิดคลื่นโค้งทำให้น้ำไม่เข้าตัวเครื่อง และถึงแม้ว่าจะเป็นแอ่งน้ำตื้นๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความเร็ว เพราะอาจทำให้รถเหินน้ำ ซึ่งแปลว่าคุณจะสูญเสียการควบคุมได้
- เร่งเครื่องโดยใช้เกียร์ต่ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าสู่ท่อไอเสีย แต่ไม่ควรขับเร็วเพราะอาจทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์ได้
- พยายามขับให้อยู่ตรงกลางถนนหรือส่วนที่สูงที่สุดของถนน เนื่องจากเป็นส่วนที่น้ำตื้นที่สุด
- เมื่อขับพ้นน้ำท่วมมาแล้ว ให้คุณทำผ้าเบรกให้แห้งโดยการเหยียบเบรกซ้ำๆ อย่างเบาๆ
วิธีรับมือเมื่อรถเหินน้ำ
หากคุณสูญเสียการควบคุมรถเนื่องจากมีน้ำมากเกินไปบนถนน จงตั้งสติและอย่าเหยียบเบรกหรือเร่งเครื่องอย่างกะทันหัน
กรมการขนส่งทางบกกล่าวถึงวิธีขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัยไว้ว่า “การขับรถผ่านแอ่งน้ำขังด้วยความเร็วสูงนั้น อาจทำให้รถเกิดอาการเสียหลักได้ ทางที่ดีหากพบเห็นแอ่งน้ำอยู่ข้างหน้า ควรชะลอความเร็วลงเสียก่อน ขณะขับผ่านแอ่งน้ำห้ามเหยียบคันเร่งหรือเบรกเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้รถเสียการควบคุมได้
- ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้าหรือล้อหลัง และใช้ระบบเบรก ABS และระบบกันลื่น traction control ให้แตะเท้าไว้ที่คันเร่งอย่างเบาๆ แล้วบังคับรถอย่างเบามือไปหาที่ว่างที่ใกล้ที่สุด
- ขับเคลื่อนล้อหลังและไม่มีระบบเบรก ABS และระบบกันลื่น traction control ให้ถอนเท้าออกจากคันเร่งและค่อยๆ ควบคุมรถไปจอดในที่โล่ง
12 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพ
ถนนในกรุงเทพที่ควรหลีกเลี่ยงหากฝนตกหนักตามข้อมูลจากกรุงเทพมหานครในปี 2564**
จุดเสี่ยงในฝั่งพระนคร
- เขตจตุจักร 1.ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ
- เขตบางซื่อ 2.ถนนประชาราษฎร์สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน
- เขตหลักสี่ 3.ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปา ถึงคลองเปรมประชากร
- เขตดุสิต 4.ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธนบุรี
- เขตราชเทวี 5.ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์ 6.ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท
- เขตสาทร 7.ถนนจันทน์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศล ถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา 8.ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ ถึงถนนนางลิ้นจี่ 9.ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทน์
จุดเสี่ยงในพื้นที่ฝั่งธนบุรี
- เขตบางขุนเทียน 10.ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม
- เขตบางแค 11.ถนนเพชรเกษม ช่วงจากคลองทวีวัฒนา ถึงคลองราชมนตรี 12.ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ช่วงจากถนนเพชรเกษม ถึงวงเวียนกาญจนาภิเษก
อย่างไรก็ตามการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ หรือรถไฟฟ้า ก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการเดินทางช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกเช่นกัน เพื่อป้องกันรถยนต์ของคุณที่จะประสบปัญหาลุยน้ำและส่งผลเสียตามมาอีกอย่างคาดไม่ถึง