ตลอด 11 เดือนที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทยยังชะลตัวเช่นเดิมและคาดว่ายอดขายทั้งปีจะไม่ถึง 6 แสนคันอย่างแน่นอนจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจกำลังซื้อจำกัดและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่ยังเป็นปัญหาเรื้อรัง
ส่งผลให้ตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือน (มกราคม-พฤศจิกายน 2567) 518,659 คัน ลดลง 26.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขายสะสม 203,421 คัน ลดลง 23.6% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 315,328 คัน ลดลง 28.5% และรถกระบะขนาด 1 ตัน รวม PPV ยอดขายทั้งหมด 181,286 คัน ลดลง 39.8%
เดือนพฤศจิกายนลดลงติดต่อกัน 42,309 คัน ลดลง 31.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,000 คัน ชะลอตัวที่ 26.7% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 24,309 คัน ชะลอตัวเช่นกันที่ 34.4% และรถกระบะขนาด 1 ตันรวม PPV มียอดขาย 14,435 คัน ลดลง 34.7%
ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 14,988 คัน คิดเป็นสัดส่วน 35% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตลดลง 26% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV 8,373 คัน คิดเป็นสัดส่วน 56% ของตลาด xEV ทั้งหมดเติบโตลดลง 20% และยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 5,870 คัน คิดเป็นสัดส่วน 39% จากยอดขายในกลุ่ม xEV ทั้งหมด ลดลง 36% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ตลาดรถยนต์เดือนธันวาคม มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากยอดจองทั้งหมดรวมทุกยี่ห้อและประเภทรถยนต์ ในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 41 “Thailand International Motor Expo 2024” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่มาพร้อมกับรถยนต์รุ่นใหม่และแคมเปญกระตุ้นตลาดช่วงสุดท้ายปลายปี ที่แต่ละค่ายต่างขนกันมาแบบจัดเต็ม ทำยอดจองได้ถึง 54,513 คัน เติบโตขึ้น 2.38% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการผลักดันตลาดรถยนต์เดือนธันวาคมให้เติบโตขึ้นได้
เป็นที่น่าสังเกตุว่ายอดขายรถยนต์สะสม 11 เดือนในส่วนของรถยนต์นั่งทาง BYD ทำยอดโตลดลง 127.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.8% จากตัวเลข 17,951 คัน จากปริมาณการขายรวม 203,421 คัน ลดลง 23.6% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วปีนี้ถึง 259.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.8% จากตัวเลข 16,230 คัน จากปริมาณการขายรวม 185,421 คัน ลดลง 23.3%
เหตุผลเดิมนั่นคือมีการเปิดรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีทั้งแบบนำเข้าและประกอบไทยทั้ง BYD ATTO 3 MY2024, BYD Dolphin MY2024 CKD, BYD SEALION 6 DM-i CKD, BYD M6 และ BYD SEALION 7 ที่เปิดตัวในงาน Motor Expo 2024
ทางด้าน Mitsubishi ในตลาดรถยนต์นั่งกลับเติบโต 67.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.1% ด้วยต้วเลข 1,461 คัน ทำให้สะสม 111 เดือนทำได้ 16,640 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.2% จากอภินิหาร Mitsubishi XPANDER HEV มาเรื่อยๆแต่โตต่อเนื่อง
นอกจากนี้กลุ่มรถอเนกประสงค์ดัดแปลงจากรถปิกอัพหรือ PPV ISUZU MU-X The Next Peak หลังเปิดขายตั้งแต่ 18 มิถุนนายน กลับเสียแชมป์ PPV อันดับ 1 ที่ครองมาถึง 4 เดือน (มิถุนายน-ตุลาคม) โดยเดือนพฤศจิกายนตกมาเป็นอันดับที่ 2 ด้วยตัวเลข 918 คัน ลดลง 38.8% ส่วนแบ่งการตลาด 31.1% ทำให้สะสม 11 เดือนทำได้ 11,121 คัน ลดลง 43.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.4% จากยอดขาย 32,349 คัน ลดลง 42.0%
สาเหตุเป็นช่วงคาบเกี่ยวการเปิดตัวรุ่นเครื่องใหม่ 2.2 Ddi MAX FORCE พร้อมกับปิกอัพ D-MAX จับตาขุมพลังใหม่..กำหนดโลกจะสามารถกลับมาเป็นที่ 1 ได้หรือไม่?
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 42,309 คัน ลดลง 31.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,107 คัน ลดลง 21.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,068 คัน ลดลง 41.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 4,874 คัน ลดลง 33.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 2,155 คัน ลดลง 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%
อันดับที่ 5 บีวายดี 1,998 คัน ลดลง 55.7% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,000 คัน ลดลง 26.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,751 คัน ลดลง 23.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,829 คัน ลดลง 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 21.3%
อันดับที่ 3 บีวายดี 1,721 คัน ลดลง 48.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,461 คัน เพิ่มขึ้น 67.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 977 คัน ลดลง 47.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.4%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 24,309 คัน ลดลง 34.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,356 คัน ลดลง 20.0% ส่วนแบ่งตลาด 46.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,068 คัน ลดลง 41.7% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,603 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
อันดับที่ 4 ฮอนด้า 1,045 คัน ลดลง 69.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.3%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 694 คัน ลดลง 47.2% ส่วนแบ่งตลาด 2.9%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pickup กับรถ PPV) ปริมาณการขาย 14,435 คัน ลดลง 34.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,521 คัน ลดลง 23.7% ส่วนแบ่งตลาด 45.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,251 คัน ลดลง 44.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,603 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 694 คัน ลดลง 47.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
อันดับที่ 5 นิสสัน 203 คัน ลดลง 55.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.4%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 11,481 คัน ลดลง 35.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,327 คัน ลดลง 25.2% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,333 คัน ลดลง 45.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 963 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 545 คัน ลดลง 39.8% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
อันดับที่ 5 นิสสัน 150 คัน ลดลง 59.9% ส่วนแบ่งตลาด 1.3%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 2,954 คัน ลดลง 30.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 1,194 คัน ลดลง 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 918 คัน ลดลง 38.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 640 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 149 คัน ลดลง 63.3% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
อันดับที่ 5 นิสสัน 53 คัน ลดลง 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.8%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 518,659 คัน ลดลง 26.7 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 199,487 คัน ลดลง 17.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 77,429 คัน ลดลง 45.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 67,322 คัน ลดลง 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.0%
อันดับที่ 4 บีวายดี 25,530 คัน ลดลง 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 24,640 คัน ลดลง 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 203,421 คัน ลดลง 23.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 59,784 คัน ลดลง 35.0% ส่วนแบ่งตลาด 29.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 41,169 คัน ลดลง 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 20.2%
อันดับที่ 3 บีวายดี 17,951 คัน เพิ่มขึ้น 127.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 16,640 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 11,500 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 5.7%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 315,238 คัน ลดลง 28.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 139,703 คัน ลดลง 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 44.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 77,429 คัน ลดลง 45.3% ส่วนแบ่งตลาด 24.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 26,153 คัน ลดลง 21.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 19,023 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 8,000 คัน ลดลง 50.5% ส่วนแบ่งตลาด 2.5%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pickup และรถ PPV) ปริมาณการขาย 181,286 คัน ลดลง 39.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 82,940 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 45.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 67,267 คัน ลดลง 47.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 19,023 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 7,951 คัน ลดลง 50.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
อันดับที่ 5 นิสสัน 2,684 คัน ลดลง 37.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 148,937 คัน ลดลง 39.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 71,464 คัน ลดลง 26.9% ส่วนแบ่งตลาด 48.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 56,146 คัน ลดลง 47.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 11,736 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 5,913 คัน ลดลง 51.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.0%
อันดับที่ 5 นิสสัน 2,257 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 32,349 คัน ลดลง 43.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,476 คัน ลดลง 43.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,121 คัน ลดลง 43.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 7,287 คัน ลดลง 33.5% ส่วนแบ่งตลาด 22.5%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 2,038 คัน ลดลง 48.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%
อันดับที่ 5 นิสสัน 427 คัน ลดลง 59.9% ส่วนแบ่งตลาด 1.3%