ตลอด 10 เดือนที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทยเจอมรสุมลูกใหญ่อย่างต่อเนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจกำลังซื้อจำกัดและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
ฉุดตลาดรถยนต์ลดลงติดต่อกัน 37,691 คัน ลดลง 36.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 15,559 คัน ชะลอตัวที่ 29.7%
ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 22,132 คัน ชะลอตัวเช่นกันที่ 39.9% และรถกระบะขนาด 1 ตันรวม PPV มียอดขาย 13,347 คัน ลดลง 42%
ในส่วนของตลาด xEVมียอดขายทั้งหมด 12,243 คัน ลดลง 32% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วน 32% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด รถยนต์ HEV ทำยอดขายได้ 7,300 คัน ลดลง 21% ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ BEV อยู่ที่ 4,130 คัน ลดลง 47%
ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนตุลาคม แต่คาดว่าอัตราการเติบโตยังคงลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง รวมถึงรถยนต์รุ่นใหม่ และโปรโมชันการขายที่น่าสนใจจากหลากหลายค่ายรถยนต์ ที่จะถูกนำเสนอใน “งานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 41 Thailand International Motor Expo 2024” ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในช่วงปลายปี
สำหรับตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือน 476,350 คัน ลดลง 26.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 185,421 คัน ลดลง 23.3% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 290,929 คัน ลดลง 28% และรถกระบะขนาด 1 ตัน รวม PPV ยอดขายทั้งหมด 166,851 คัน ลดลง 40.2%
เป็นที่น่าสังเกตุว่ายอดขายรถยนต์สะสม 10 เดือนในส่วนของรถยนต์นั่งทาง BYD ทำยอดโตลดลง 259.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.8% จากตัวเลข 16,230 คัน จากปริมาณการขายรวม 185,421 คัน ลดลง 23.3% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วปีนี้ถึง 632.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.1% จากตัวเลข 15,399 คัน จากปริมาณการขายรวม 169,862 คัน ลดลง 22.7% ทั้งนี้เกิดจากการเปิดรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
ทางด้าน Mitsubishi ในตลาดรถยนต์นั่งกลับเติบโต 93.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.2% ด้วยต้วเลข 1,439 คัน ทำให้สะสม 10 เดือนทำได้ 15,179 คัน เพิ่มขึ้น 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.2% จากอภินิหาร Mitsubishi XPANDER HEV มาเรื่อยๆแต่เติบโตต่อเนื่อง
นอกจากนี้กลุ่มรถอเนกประสงค์ดัดแปลงจากรถปิกอัพหรือ PPV ISUZU MU-X The Next Peak หลังเปิดขายตั้งแต่ 18 มิถุนนายน สามารถครองอันดับ 1 ติดต่อกัน 4 เดือนโดยเเดือนตุลาคมทำได้ 1,007 คัน ลดลง 56.1% ส่วนแบ่งการตลาด 30.5% จากยอดขาย 2,451 คัน ลดลง 43.3% ทำให้สะสม 10 เดือนทำได้ 10,203 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.7% จากยอดขาย 29,395 คัน ลดลง 43.0%
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนตุลาคม 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 37,691 คัน ลดลง 36.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,162 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,092 คัน ลดลง 44.4% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 4,137 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 2,129 คัน เพิ่มขึ้น 23.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.6%
อันดับที่ 5 ฟอร์ด 1,316 คัน ]ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 3.5%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 15,559 คัน ลดลง 29.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,210 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,359 คัน ลดลง 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 21.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,439 คัน เพิ่มขึ้น 93.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
อันดับที่ 4 บีวายดี 831 คัน ลดลง 65.6% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 754 คัน ลดลง 64.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 22,132 คัน ลดลง 39.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,952 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 45.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,092 คัน ลดลง 44.4% ส่วนแบ่งตลาด 27.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,316 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%
อันดับที่ 4 ฮอนด้า 778 คัน ลดลง 79.8% ส่วนแบ่งตลาด 3.5%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 690 คัน ลดลง 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 3.1%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick upกับรถ PPV) ปริมาณการขาย 13,347 คัน ลดลง 42.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,787 คัน ลดลง 38.0% ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,204 คัน ลดลง 46.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,316 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 690 คัน ลดลง 29.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.2%
อันดับที่ 5 นิสสัน 199 คัน ลดลง 35.4% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 2,451 คัน ลดลง 43.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 1,007 คัน ลดลง 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 748 คัน ลดลง 56.1% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 509 คัน ลดลง 40.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 136 คัน ลดลง 41.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
อันดับที่ 5 นิสสัน 51 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 2.1%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 10,896 คัน ลดลง 41.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,039 คัน ลดลง 34.0% ส่วนแบ่งตลาด 46.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,197 คัน ลดลง 49.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 807 คัน ลดลง 52.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 554 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%
อันดับที่ 5 นิสสัน 148 คัน ลดลง 40.3% ส่วนแบ่งตลาด 1.4%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ตุลาคม 2567
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 476,350 คัน ลดลง 26.2 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 182,380 คัน ลดลง 17.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 71,361 คัน ลดลง 45.6% ส่วนแบ่งตลาด 15.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 62,448 คัน ลดลง 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.1%
อันดับที่ 4 บีวายดี 23,532 คัน เพิ่มขึ้น 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 22,485 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 185,421 คัน ลดลง 23.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 54,033 คัน ลดลง 36.1% ส่วนแบ่งตลาด 29.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 37,340 คัน ลดลง 21.2% ส่วนแบ่งตลาด 20.1%
อันดับที่ 3 บีวายดี 16,230 คัน เพิ่มขึ้น 259.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 15,179 คัน เพิ่มขึ้น 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 10,523 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.7%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 290,929 คัน ลดลง 28.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 128,347 คัน ลดลง 5.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 71,361 คัน ลดลง 45.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 25,108 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 17,420 คัน ลดลง 44.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 7,306 คัน ลดลง 50.8% ส่วนแบ่งตลาด 2.5%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถ PPV) ปริมาณการขาย 166,851 คัน ลดลง 40.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 76,419 คัน ลดลง 30.2% ส่วนแบ่งตลาด 45.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 62,016 คัน ลดลง 47.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 17,420 คัน ลดลง 44.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 7,257 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 4.3%
อันดับที่ 5 นิสสัน 2,481 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 29,395 คัน ลดลง 43.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,282 คัน ลดลง 45.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,203 คัน ลดลง 43.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 6,647 คัน ลดลง 34.3% ส่วนแบ่งตลาด 22.6%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,889 คัน ลดลง 46.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
อันดับที่ 5 นิสสัน 374 คัน ลดลง 62.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.3%
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 137,456 คัน ลดลง 39.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 66,137 คัน ลดลง 27.0% ส่วนแบ่งตลาด 48.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 51,183 คัน ลดลง 48.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,073 คัน ลดลง 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 5,368 คัน ลดลง 52.3% ส่วนแบ่งตลาด 3.9%
อันดับที่ 5 นิสสัน 2,107 คัน ลดลง 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%