More

    อยู่ที่ไหนก็ทำได้!! เปิดขั้นตอนชำระภาษีรถยนต์ประจำปี

    รถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนนนั้นจะมีอายุทะเบียนที่ทางการอนุญาตเพียง 1 ปี เท่านั้น ซึ่งเมื่อครบรอบจะต้องไปยื่นชำระค่าภาษีเป็นประจำปีทุก ๆ ปี หรือที่เรียกว่าต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ซึ่งถือเป็นระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ระบุไว้ว่า “รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี” เมื่อถึงกำหนดต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีแล้ว จะต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนยังไง มาดูกันเลย

    พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
    • ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ผู้ที่เดินเท้า ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
    • หากเกิดอุบัติเหตุ จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด
    • จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายถูก สูงสุด 80,000 บาท
    • ขับรถไม่มีพ.ร.บ. หากเกิดอุบัติเหตุ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยด้วยตัวเอง
    • ไม่มีพ.ร.บ. ไม่สามารถชำระภาษีรถได้

    ป้ายภาษี/เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี แสดงให้รู้ว่ารถคันนี้จดทะเบียนถูกต้อง ชำระภาษีรถประจำปีแล้ว
    • การใช้รถไม่ต่อภาษี มีโทษปรับ 2,000 บาท
    • ไม่แสดงป้ายภาษี มีโทษปรับ 2,000 บาท
    • ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถถูกระงับ หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่

    ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้

    • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุไม่เกิน 7 ปี
    • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุไม่เกิน 7 ปี
    • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุไม่เกิน 7 ปี
    • รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุไม่เกิน 5 ปี
    • เป็นรถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
    • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
    • ประกันรถยนต์ชั้น 1
    ขั้นตอนชำระภาษีรถประจำปี
    1. ตรวจสอบวันครบอายุภาษีรถประจำปี ได้จากคู่มือรถ, เครื่องหมายการเสียภาษี หรือเว็บไซต์ชำระภาษีรถออนไลน์ https://eservice.dlt.go.th/ (เมนู “สอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี”)
    • รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ก่อน
    • รถที่ติดตั้งแก๊ส ต้องมีใบรับรองการติดตั้งแก๊ส ตามระยะเวลาที่กำหนด
    2. เตรียมเอกสาร ได้แก่ คู่มือรถฉบับจริงหรือสำเนา และ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
    3. ชำระภาษีรถประจำปีล่วงหน้า 90 วัน ได้หลากหลายช่องทาง
    • สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน
    • เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
    • ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
    • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
    • ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
    • ที่ทำการไปรษณีย์
    • ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก
    • เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
    • แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax
    • แอปพลิเคชั่น mPay / True Money Wallet

    การตรวจสอบสถานะ สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระต่อภาษีรถยนต์ สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

    ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จ จนถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 วันทำการ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการจากหมายเลข EMS หรือกรณีพบข้อผิดพลาดระหว่างการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ผ่านเว็บไซต์ ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” เช่นกัน

    รู้วิธีการต่อภาษี พ.ร.บ. ง่าย ๆ สะดวกทุกที่อย่างนี้แล้ว อย่าปล่อยให้รถของคุณเป็นรถเถื่อน ขับไปไหนมาไหนต้องคอยระแวงเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ หากเจอตรวจเรียกอาจจะต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ สู้เอาเงินที่ต้องเสียตรงนี้ไปต่อภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายดีกว่า แล้วจะได้ขับไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจกันนะครับ


    บทความอื่น ๆ 

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts