ขั้นตอนการทำใบขับขี่สำหรับ คนพิการ ในการทำใบขับขี่สำหรับผู้พิการ ผู้สอบจะต้องได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ก่อน ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ ก็คล้ายกับผู้สอบใบขับขี่ปกติ ดังนี้
- จองคิวทำใบขับขี่ล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือผ่านเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th ของกรมการขนส่งทางบก
- ไปที่สำนักงานขนส่ง ติดต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมยื่นคำขอทำใบขับขี่คนพิการ
- เข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- เข้าอบรมใบขับขี่ 2 ชั่วโมง
- สอบข้อเขียน โดยต้องผ่าน 75% หรือต้องทำให้ได้ 23 ข้อ จาก 30 ข้อขึ้นไป กรณีที่สอบไม่ผ่านสามารถสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง หากยังไม่ผ่านอีกต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไป
- สอบขับรถ จะต้องสอบทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่ ถอยหลังและเดินหน้าในทางตรง, จอดรถเทียบทางเท้า และถอยเข้าออกจากช่องว่างด้านซ้าย หากไม่ผ่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอสอบแก้ตัวเฉพาะท่าที่ไม่ผ่านได้
- ชำระค่าธรรมเนียมพร้อมถ่ายรูปทำบัตร
เอกสารที่ใช้ทำใบขับขี่คนพิการ
- บัตรประชาชนตัวจริง
- ใบรับรองแพทย์ไม่เกิน 1 เดือน (ต้องเป็นใบรับรองจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแสดงว่าร่างกายสามารถใช้งานในการบังคับรถได้
สำหรับรถที่ผู้พิการจะใช้ขับอาจจะต้องได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล อย่างเช่นรถของผู้พิการขา จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมแฮนด์คอนโทรลในรถยนต์ ใช้การโยกเข้าหาตัวเพื่อเร่งเครื่อง และโยกไปด้านหน้าเพื่อเบรก การดัดแปลงจึงต้องมีมาตรฐาน และต้องได้รับการตรวจสอบจากวิศวะผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าขับแล้วจะปลอดภัยต่อตัวผู้ขับเองและผู้ใช้รถคนอื่น ๆ นอกจากนี้ เมื่อถึงเวลาต่อใบขับขี่ จะต้องสอบขับรถใหม่ทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่ายังสามารถขับรถได้ตามปกติ
Credit Pic : Urban Institute