Lotus Theory 1 คือ ต้นแบบซูเปอร์คาร์ไฟฟ้า ที่ส่งสัญญาณถึงทิศทางในอนาคตของผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน-อังกฤษ โดยแนวคิดนี้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเทคโนโลบีใหม่ๆ ในด้านซอฟต์แวร์ของรถยนต์ไฟฟ้าและความสามารถในการขับขี่อัตโนมัติ
ขนาดมิติตัวถัง
- ความยาว 4,490 มม.
- ความสูง 1,140 มม.
- ความกว้าง 2,000 มม.
- ระยะฐานล้อ 2,650 มม.
- น้ำหนัก น้อยกว่า 1,600 กก.
Lotus Theory 1 ซูเปอร์คาร์ 3 ที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยใช้โครงคาร์บอนไฟเบอร์ ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ขนาด 70 kWh วิ่งได้ระยะทาง 402 กม. ตามมาตรฐาน WLTP ส่งกำลังด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ 987 แรงม้า เร่งความเร็วจาก 0 – 100 กม./ชม. ได้ภายใน 2.5 วินาที ใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ (AWD) ที่มีความเร็วสูงสุด 320 กม./ชม.
Ben Payne รองประธานฝ่ายออกแบบ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ว่า “รถต้นแบบ Theory 1 เป็นซูเปอร์คาร์ที่โลตัสได้สร้างสรรค์บนความสำเร็จตลอด 76 ปีที่ผ่านมา เพื่อขยายขอบเขตของการขับขี่รถยนต์สมรรถนะสูง”
คุณสมบัติของระบบช่วยเหลือการขับขี่ ถูกสร้างขึ้นโดยใช้แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ Nvidia Drive ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยี Lotuswear โดยมีความสามารถด้านฮาร์ดแวร์ถึงระดับ L4 รวมถึง Lidar ที่ปรับใช้ได้ 4 ตัว, กล้อง HD 6 ตัว และเรดาร์มิลลิเมตรระยะไกลและระยะสั้นแบบผสมผสาน รวมถึงเรดาร์อัลตราโซนิก ซึ่งโลตัสเรียกสิ่งนี้ว่าชุดเซ็นเซอร์การขับขี่อัตโนมัติ 360 องศา
Geely Group บริษัทสัญชาติจีนเจ้าของแบรนด์ Lotus ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นในตลาด ได้แก่ Eletre SUV และ Emeya sedan ซึ่งทั้งคู่ใช้แพลตฟอร์ม EPA ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม SEA ที่ปรับปรุงใหม่จาก Geely
นอกจากนี้ ยังมีรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่สาม อย่าง Lotus Evija ซูเปอร์คาร์ไฟฟ้า ซึ่งเปิดตัวในปี 2019 โดยเป็นรุ่นจำนวนจำกัดเท่านั้น ไม่เหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้า Lotus รุ่นอื่นๆ ที่ผลิตในสหราชอาณาจักร ในปี 2022 ทาง Lotus ประกาศว่าได้ผลิตรถยนต์ไปแล้ว 8 คัน โดยจะเริ่มส่งมอบในปี 2023
ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการผลิต แต่คาดว่ารุ่นที่ใช้ Theory 1 เป็นต้นแบบ จะถูกผลิตจำนวนมากในโรงงานใหม่ของ Geely ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเริ่มการผลิตในปี 2021 และเป็นที่ผลิต Eletre และ Emeya สำหรับตลาดส่งออก
Source: carnewschina