More

    ต้นแบบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Zem EV รักษ์โลกของจริง ฟอกอากาศให้ด้วย!!

    ล่าสุดทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ร่วมกันพัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้า Zem EV ส่วนบุคคลแนวคิดใหม่ที่นอกจากปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์แล้วยังสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์รอบ ๆ ตัวรถและฟอกอากาศไปในตัวอีกด้วย

    เป็นโครงการที่ 7 แล้ว สำหรับการวิจัยศึกษาและพัฒนาของนักศึกษา TU/ecomotive ตามแนวคิด ของ Noah ในปี 2018 และ Luca ใน ปี 2020 ความท้าทายสำหรับทีม Zem (EM-07) คือการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าที่มีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

    โดยต้นแบบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Zem EV ที่ทีมงานนักศึกษาได้เลือกใช้โครงสร้างแบบโมโนค็อก (Monocoque) และแผงตัวถังโดยใช้เทคนิคการผลิตที่สามารถปล่อย “CO2 ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ในขณะเดียวกันก็ใช้พลาสติกรีนำมาไซเคิลใหม่ให้กลับมาใช้งานได้สำหรับการประกอบตัวรถ และโครงสร้างอื่น ๆ อย่างเช่นวัสดุโพลีคาร์บอเนตที่ใช้แทนตัวกระจกรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อีกด้วย

    ซึ่งทีมวิจัยกล่าวว่าดีจะช่วยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และติดตั้งระบบอินโฟเทนเมนท์แบบแยกส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบแยกส่วน และไฟแบบโมดูลาร์ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ทั้งหมด

    ต้นแบบ Zem EV ผลิตขึ้นโดยใช้พลาสติกรีไซเคิล การพิมพ์ 3 มิติ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบแยกส่วนและแบบใช้ซ้ำได้ และวัสดุที่ยั่งยืน

    ต้นแบบ Zem EV ผลิตขึ้นโดยใช้พลาสติกรีไซเคิล การตีพิมพ์แบบ 3 มิติ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ

    เนื่องจากโครงการนี้เน้นเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์และการรีไซเคิล โดยใช้อุปกรณ์พิเศษดูดจับอากาศผ่านเข้าสู่เครื่องฟอกอากาศในตัวรถยนต์ ทีมงานนักศึกษากล่าวว่าระบบดังกล่าวสามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 2 กิโลกรัม ส่วนในเรื่องของรายละเอียดเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนค่อนข้างจะยังไม่ได้มีการเปิดเผยมากนัก โดยตามรายงานข่าวจะมีการติดตั้งชุดแบตเตอรี่โมดูลาร์ขนาด 2.3 กิโลวัตต์ชั่วโมง มีมอเตอร์ขนาด 22 กิโลวัตต์ ระยะทางในการขับ 20,600 กิโลเมตรต่อปี หากรถยนต์ขับด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    หากเทคโนโลยีนี้จะเปิดตัวสู่รถยนต์หลายล้านคันบนท้องถนนทั่วโลก เทคโนโลยีดังกล่าวก็มีศักยภาพที่จะมีส่วนช่วยในการกำจัดคาร์บอนได้อย่างแท้จริง

    รถยนต์นั่งต้นแบบ Zem ถูกผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงคาร์บอนต่ำในระหว่างการผลิต การใช้งาน และการสิ้นสุดอายุการใช้งาน

    การทำงานของระบบตัวกรองของ Zem จะรีเซตด้วยการกำเปลี่ยนพลังงานคาร์บอนเป็นพลังงานสะอาดทุกครั้งที่มีการวิ่งถึง 320 กิโลเมตร และเข้ารับการชาร์จระบบไฟเข้าสู่ตัวรถ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อดักจับในการขับครั้งต่อไป

    หลุยส์ เดอ ลาต ผู้จัดการทีมกล่าวว่า “มันยังคงเป็นข้อพิสูจน์แนวคิด แต่เราเห็นแล้วว่าเราจะสามารถเพิ่มความจุของตัวกรองได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า” และ”การจับ CO2 เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับการชดเชยการปล่อยมลพิษระหว่างการผลิตและการรีไซเคิล”

    รถยนต์นั่ง Zem เป็นเครื่องพิสูจน์แนวคิดที่ออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นรับมือกับความท้าทายคาร์บอนเน็ตเป็นศูนย์

    ทางด้านนักศึกษายังได้พิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Zem เมื่อหมดอายุการใช้งาน เพื่อที่จะนำรถยนต์และส่วนประกอบกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้ได้มากที่สุดงาน ซึ่งยังคงปรับปรุงแนวคิดนี้และมุ่งสู่คาร์บอนเน็ต-ซีโร่ โดยสมาชิกในทีมและเซมจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมเพื่อเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยและบริษัทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าแนวคิดนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นให้มีส่วนช่วยในการพัฒนาโลกต่อไป

    “เราต้องการกระตุ้นอุตสาหกรรมด้วยการแสดงสิ่งที่เป็นไปได้อยู่แล้ว” Nikki Okkels ผู้จัดการฝ่ายสัมพันธ์ภายนอกของทีมกล่าว “หากนักศึกษาจำนวน 35 คนสามารถออกแบบ พัฒนาและสร้างรถยนต์ที่แทบไม่มีคาร์บอนได้ภายในระยะเวลาหนึ่งปี อุตสาหกรรมนี้ก็มีโอกาสและความเป็นไปได้เช่นกัน”

    “เราเรียกร้องให้อุตสาหกรรมรับความท้าทาย และแน่นอนว่าเรายินดีที่จะคิดไปพร้อมกับพวกเขา” Okkels กล่าวต่อ “เรายังพัฒนาไม่เสร็จเช่นกัน และเราต้องการก้าวสำคัญในปีต่อ ๆ ไป เราขอเชิญผู้ผลิตรถยนต์ร่วมกันพัฒนาผลงานชิ้นนี้ให้เกิดขึ้นจริง”

    ปัจจุบันเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นกับความฝันของทีมงานนักศึกษา 35 คน ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟน ประเทศเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าปัจจุบันต้นแบบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Zem EV ยังคงเป็นเพียงต้นแบบผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาแต่หากได้รับการต่อยอดอาจนำไปสู่การพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีส่วนช่วยลดและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการคิดที่เปลี่ยนรถยนต์ส่วนบุคคลธรรมดาให้กลายเป็นผู้พิทักษ์ภูมิอากาศของโลก
    ขอบคุณภาพจาก : Eindhoven University of Technology/Bart van Overbeeke

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts