More

    มีผลบังคับใช้แล้ว!! กฎหมายกำหนดความเร็วใหม่รถล่าสุดปี 2565 ขับเท่าไรไม่ให้โดนปรับ!!??

    หลังจากที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ เผยแพร่ กฎกระทรวงคมนาคมว่าด้วยการกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด ไปแล้ว

    โดยข้อความสำคัญของ ประกาศฉบับดังกล่าวคือ รถยนต์ที่นอกเหนือจากข้อยกเว้น 6 ข้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม. ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้น มีข้อจำกัดด้านการจราจร หรือทัศนวิสัยมีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงนี้ยังไม่ครอบคลุมถนนทุกเส้น แต่ต้องเป็นทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบท ที่มีช่องเดินรถทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป (4 ช่องจราจรไป-กลับ) มีเกาะกลางถนนแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน

    เส้นทางกำหนดอัตราความเร็วของรถยนต์ ไม่เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    เส้นทางแรกที่จะนำร่องกำหนดอัตราความเร็วของรถยนต์ ไม่เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง คือ

    • ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) แบ่งเป็น 2 ระยะ
      • ระยะที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา – จังหวัดอ่างทอง ระยะทาง 50 กิโลเมตร
      • ระยะที่ 2 จังหวัดอ่างทอง – จังหวัดชัยนาท ระยะทาง 100 กิโลเมตร

    หลังจากกฎกระทรวงบังคับใช้แล้ว ต้องรอกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ออกประกาศของกรมที่จะประกาศรายชื่อถนน ที่สามารถใช้ความเร็วตามกฎกระทรวงกำหนด ซึ่งทราบเพียงว่า ถนนที่กรมทางหลวงจะนำร่องคือ

    • ทางหลวงสายเอเชียช่วงบางปะอิน – อ่างทอง ส่วนกรมทางหลวงชนบท จะนำร่องที่ ถ.ราชพฤกษ์
      *** อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าถนนทั้ง 2 เส้นทาง ได้ปรับปรุงสภาพทางให้เป็นไปตามที่กฎกระทรวงกำหนดแล้วเสร็จหรือยัง คาดว่ากลางปีนี้จะเริ่มบังคับใช้ได้ โดย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ในส่วนของกรมฯ จะนำร่องที่ถนนราชพฤกษ์ทั้งเส้นทาง ระยะทางประมาณ 50 กม. โดยอยู่ระหว่างปรับปรุงเครื่องหมายจราจร (Traffic Signs) และเพิ่มเครื่องหมาย รวมถึงปรับปรุงสีบนพื้นผิวจราจร (Traffic Marking)

    หลังจากที่กฏกระทรวงมีผลบังคับใช้แล้ว แต่การบังคับใช้จะต้องรอให้ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงแต่ละพื้นที่เป็นผู้ออกประกาศเรื่องพื้นที่ และระยะเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว จะไม่ได้มีผลบังคับใช้กับถนนทุกสาย

    จะต้องใช้ความเร็วเท่าไร เพื่อให้ไม่โดนปรับ

    สำหรับข้อกำหนดความเร็วในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ที่มีทางเดินรถแบบจัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องเดินรถ มีเกาะกลางถนนเฉพาะแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) และไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน คือ

    • รถยนต์ ไม่เกิน 120 กม./ชม.
    • เลนขวา ไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม.

    กฎหมายกำหนดความเร็วรถใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว เลนขวาห้ามต่ำกว่า 100 กม./ชม.
    รถบรรทุก รถโดยสารเกิน 15 คน ไม่เกิน 90กม./ชม.

    • รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 80 กม./ชม.
    • รถจักรยานยนต์ 400cc ขึ้นไป ไม่เกิน 100 กม./ชม.
    • รถโดยสาร 7-15 คน ไม่เกิน 100 กม./ชม.
    • รถชักจูง รถยนต์สี่ล้อเล็ก รถยนต์สามล้อ ไม่เกิน 65 กม./ชม.
    • รถโรงเรียน-รับส่งนักเรียน ไม่เกิน 80 กม./ชม.

    รายละเอียดกฎหมายกำหนดความเร็วรถใหม่
    ข้อมูลจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎกระทรวง กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (1) แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

    • ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้ เกาะกลางถนนแบบกำแพง หมายความว่า กำแพงที่ใช้กั้นกลำงถนน (Barrier Median)

    เพื่อใช้แบ่งทางเดินรถในทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนและมีความมั่นคงแข็งแรง “เครื่องหมายจราจร” หมายความว่า รูปภาพ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข หมุด หลัก เส้น แถบสี หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่แสดง ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏไว้ในเขตทางหลวง ในลักษณะ และตำแหน่งที่เห็นได้โดยง่ายและชัดเจน เพื่อให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น หรือเป็นกำรแจ้งข้อมูล หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ทางหลวงนั้น “ช่องเดินรถ” หมายความว่า ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้

    • ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่ทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่มีทางเดินรถ

    ซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทำงเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องเดินรถขึ้นไป มีเกาะกลางถนนแบบกำแพงและไม่มีจุดกลับรถเสมอระดับถนน ตามที่ผู้อำนวยการทางหลวงประกาศกำหนด

    • ข้อ 3 อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทตามข้อ 2 มีดังต่อไปนี้
      • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกินสองพันสองร้อยกิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่ง คนโดยสารเกินสิบห้าคน ให้ใช้ความเร็วไม่เกินเก้าสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง
      • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน หกสิบห้ากิโลเมตรต่อชั่วโมง
      • รถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินแปดสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่รถจักรยานยนต์ ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่สามสิบห้ากิโลวัตต์ขึ้นไปหรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ สี่ร้อยลูกบาศก์เชนติเมตรขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกินหนึ่งร้อยสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง
      • รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกินแปดสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง
      • รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ให้ใช้ความเร็วไม่เกินหนึ่งร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง
      • รถแทรกเตอร์ รถบดถนน หรือรถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกินสี่สิบห้ากิโลเมตร ต่อชั่วโมง
      • รถอื่นนอกจาก (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ให้ใช้ความเร็วไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง
        ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น
    • ข้อ 4 ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตราย

    สำหรับเขตอันตรายให้ขับรถช้าๆให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร

    • ข้อ 5 ในกรณีที่ทางเดินรถหรือช่องเดินรถใดมีครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำกว่าอัตราที่กำหนดในข้อ 3 ให้ใช้ความเร็วไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้

    ในเขตชุมชน สำหรับกฎกระทรวงคมนาคมกำหนด
    ความหมายคือ พื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นหรือมีการสัญจรของประชาชนจำนวนมาก หรือมีสถานศึกษา สถานพยาบาล หรือโครงการพัฒนาพื้นที่ หรือมีกิจกรรมที่ทำให้ประชาชนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากข้างเขตทาง ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรประกาศกำหนด

      • เกาะกลางถนน หมายความว่า เกาะที่ใช้กั้นกลางถนนเพื่อแบ่งทางเดินรถในทิศทางตรงข้ามกันซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนและมีความมั่นคงแข็งแรง เช่น เกาะกลางถนนแบบยก (Raised Median) เกาะกลางถนนแบบกดเป็นร่อง (Depressed Median) และเกาะกลางถนนแบบราวหรือกำแพง (Barrier Median) แต่ไม่หมายความรวมถึงเกาะกลางถนนแบบสีหรือตีเส้น
      • ทางขนาน หมายความว่า ทางเดินรถคู่ขนานซึ่งใช้เดินรถในทิศทางเดียวกันกับทางเดินรถหลักโดยมีสิ่งกั้นกลางระหว่างทางเดินรถคู่ขนานกับทางเดินรถหลัก ในลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการเป็นทางเข้าออก เชื่อม หรือผ่านทางเดินรถหลักหรือผ่านที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
      • ทางพิเศษ หมายความว่า ทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
      • เครื่องหมายจราจร ให้หมายความรวมถึง เครื่องหมายจราจรตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงด้วย

    การขับรถในทางเดินรถบนทางพิเศษ และทางเดินรถนั้นอยู่ในระดับเหนือหรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ ให้ใช้อัตราความเร็ว ดังต่อไปนี้

    (1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    (2) รถขณะที่ลากจูงรถอื่น หรือรถยนต์สี่ล้อเล็ก ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    (3) รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    (4) รถอื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป ให้การขับรถในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น

    การขับรถในทางเดินรถบนทางพิเศษ และทางเดินรถนั้นอยู่ในระดับพื้นดิน ให้ใช้อัตราความเร็ว ดังต่อไปนี้

    (1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    (2) รถขณะที่ลากจูงรถอื่น หรือรถยนต์สี่ล้อเล็ก ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    (3) รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    (4) รถอื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ทั้งนี้ หากรถดังกล่าวอยู่ในทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป ให้การขับรถในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น
    ในกรณีที่มีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงหรือกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถหรือช่องเดินรถบนทางหลวงหรือทางพิเศษ แล้วแต่กรณี ไว้เป็นการเฉพาะ ให้การขับรถในทางเดินรถหรือช่องเดินรถดังกล่าว ใช้อัตราความเร็วตามที่กฎกระทรวงนั้นกำหนด

    ในเขตทางที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตราย หรือเขตให้ขับรถช้า ให้ลดความเร็วลงและเพิ่มความระมัดระวังขึ้นตามสมควร

    ในกรณีที่ทางเดินรถหรือช่องเดินรถใดมีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็ว
    ต่ำกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ให้การขับรถในทางเดินรถหรือช่องเดินรถนั้นใช้อัตราความเร็วไม่เกินที่เครื่องหมายจราจรดังกล่าวกำหนด

    ในช่วงท้ายระบุหมายเหตุด้วยว่า เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถให้สอดคล้องกับลักษณะของทางเดินรถ ประเภทของรถ สภาพของพื้นที่ และการจราจรในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้รถและประชาชนผู้ใช้ทาง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้


    บทความอื่น ๆ

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts