More

    โอนรถมอเตอร์ไซค์ เปลี่ยนชื่อเจ้าของ ต้องทำยังไงบ้าง?

    เมื่อรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่มาไวไปไวมาก กิเลสในการตามเทรนมอเตอร์ไซค์จึงบังเกิด วันนี้เรารวบรวมคำถามยอดฮิตที่หลายๆคนสงสัยกันอยู่ จะมาตอบ ทั้ง โอนรถมอเตอร์ไซค์ ทำยังไง ไปที่ไหน เสียค่าโอนกี่บาท ใช้เวลากี่วัน กี่วันได้เล่ม เป็นต้น
    โอนรถมอเตอร์ไซค์

    โอนรถมอเตอร์ไซค์ เปลี่ยนชื่อเจ้าของ

    การโอนมอเตอร์ไซค์ โดยเปลี่ยนชื่อเจ้าของ หรือ การโอนกรรมสิทธิ์ในการครอบครองรถมอเตอร์ไซค์คันนั้นให้กับเจ้าของใหมา จะเห็นได้ทั่วไปว่า ในบ้านเรานั้นมักมีกลุ่มขายรถมอเตอร์ไซค์มือสอง ส่งต่อ อยู่เยอะแยะมากมาย หากขายมอเตอร์ไซค์ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการโอนชื่อให้กับเจ้าของใหม่ แล้วเกิดมอเตอร์ไซค์คันนั้นไปก่อคดีความ คนที่รับผิดชอบอาจจะต้องเป็นคุณเอง

    หรือกรณีที่ต้องโอนรถมอเตอร์ไซค์ เปลี่ยนชื่อเจ้าของ เพราะรถมอเตอร์ไซค์เป็นของญาติหรือคนสนิทที่เสียชีวิตไปแล้ว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเจ้าของ เพื่อทำธุรกรรมในการต่อภาษี ต่อประกัน สินเชื่อซื้อรถเป็นต้น

    การโอนรถมอเตอร์ไซค์ มีกี่แบบ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

    ขั้นตอนในการโอนรถมอเตอร์ไซค์ มี 2 วิธีคือ

    โอนรถมอเตอร์ไซค์

    สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอได้ที่ > แบบฟอร์มคำขอ กรมขนส่งทางบก

    1. การโอนรถมอเตอร์ไซค์ตามขั้นตอนที่ต้องเข้าไปยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนที่กรมขนส่งทางบก
    เอกสารโอนรถมอเตอร์ไซค์ กับขนส่งทางบก ต้องมีดังนี้
    • สมุดทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ตัวจริง (เล่มเขียว)
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • สัญญาซื้อขายรถมอเตอร์ไซค์ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
    • แบบฟอร์มคำขอโอน และรับโอน (ต้องกรอกข้อมูลและลงชื่อผู้โอนกับผู้รับ)
    เอกสารโอนรถมอเตอร์ไซค์ สำหรับมรดกตกทอด ต้องมีดังนี้
    • สมุดทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ตัวจริง (เล่มเขียว)
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • สัญญาซื้อขายรถมอเตอร์ไซค์ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
    • แบบฟอร์มคำขอโอน และรับโอน (ต้องกรอกข้อมูลและลงชื่อผู้โอนกับผู้รับ)
    • สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์
    • เอกสารคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมตัวจริงและสำเนา

    2. การโอนลอย รถมอเตอร์ไซค์ ที่ผู้ขายต้องดำเนินการเองทุกอย่าง ส่งมอบเอกสารให้กับผู้ซื้อด้วยการเซ็นชื่อทุกฉบับ ซึ่งวิธีโอนลอยเป็นวิธีที่นิยม แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน แต่สำหรับการโอนลอย เป็นการเซ็นสัญญาการโอนของผู้ขาย แต่ยังไม่มีการกรอกชื่อผู้รับโอน หรือหากกรอกชื่อผู้รับโอนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปทำการโอนให้เรียบร้อยที่กรมขนส่งทางบก

    การโอนลอยรถดีหรือไม่?

    หลายๆคนคงกังวลกับวิธีการโอนลอย เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง แต่ข้อดีของการโอนลอยนั้นก็คือ เมื่อทำเอกสารโอนลอยแล้ว ผู้ขายสามารถรับเงินสดจากการขายรถได้ทันที ช่วยให้สะดวกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่จะไปดำเนินการต่อเพื่อการโอนเป็นเจ้าของให้เสร็จสิ้น

    เอกสารโอนรถ โอนลอย ต้องมีดังนี้

    • หนังสือสัญญาซื้อขาย
    • เล่มทะเบียนรถตัวจริง
    • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด
    • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ซื้อ (ในกรณีที่เจ้าของรถขายต่อกับผู้ซื้อโดยตรง)
    • สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด
    • แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด
    • หนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่ได้ไปทำเรื่องโอนที่กรมขนส่งเอง สามารถให้บุคคลอื่นหรือบุคคลที่ซื้อรถต่อไปทำเรื่องโอนแทนได้)

    ข้อควรระวังเมื่อทำการโอนลอย

    หากคุณกำลังจะขายรถ แล้วสะดวกที่จะโอนลอยมากกว่า สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือเรื่องเอกสารที่ต้องทำอย่างรัดกุมรอบครอบที่สุด คือ

    • กรอกวันที่และสัญญาทั้งหมดให้ครบถ้วน
    • สำเนาบัตรประชาชน เซ็นสำเนาถูกต้อง กำกับชื่อ พร้อมขีดคร่อม “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวข้องกับรถยนต์หมายเลขทะเบียน xxx เท่านั้น”
    • ในสัญญาซื้อขายให้ระบุว่ายังไม่ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง
    • ในสัญญาซื้อขายควรมีพยานเซ็นด้วยของทั้งสองฝ่าย

    ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากโอนลอย

    ถ้าหากเราได้ทำการโอนลอยไปแล้วนั้น แต่ผู้รับโอนยังไม่ได้ไปทำสัญญาการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานขนส่งให้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย เมื่อรถที่เราโอนขายไปเกิดต้องความผิด คนที่ต้องรับผิดชอบคือชื่อผู้ที่ยังเป็นเจ้าของรถคันนั้นๆ กรณีที่

    • ถูกใบสั่งจราจร
    • มีคดีเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุบนท้องถนน
    • นำไปก่อเหตุอาชญากรรม
    • นำไปขายต่อแบบผิดกฎหมาย

    โอนรถมอเตอร์ไซค์ ที่ไหนได้บ้าง

    สถานที่โอนรถมอเตอร์ไซค์ สามารถดำเนินการได้ที่ สำนักงานขนส่งในกรุงเทพ 5 แห่ง หรือถ้าเป็นต่างจังหวัดก็สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานขนส่งของจังหวัด ซึ่งคุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทยได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานขนส่งจังหวัด

    ค่าใช้จ่ายในการโอนรถมอเตอร์ไซค์ มี 2 แบบ คือโอนในจังหวัดและโอนข้ามจังหวัด

    โอนในจังหวัด มีค่าใช้จ่ายดังนี้

    • ค่าอาการแสตมป์ 10 บาท (เพื่อรับบัตรคิว)
    • ค่าโอนรถมอเตอร์ไซค์ 280 บาท (จำนวนเงินสุทธิอยู่ที่เจ้าหน้าที่ประเมินอีกครั้ง)

    *** รวม ค่าใช้จ่ายประมาณ 300 บาท อาจจะมีเพิ่มหรือลดอยู่ที่การประเมินหน้างาน

    โอนข้ามจังหวัด มีค่าใช้จ่ายดังนี้

    • ค่าคำขอการโอนรถมอเตอร์ไซค์ 5 บาท
    • ค่าธรรมเนียมในการโอนรถมอเตอร์ไซค์ 100 บาท
    • ค่าเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ 200 บาท
    • ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ 100 บาท
    • ค่าอาการแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินราคารถมอเตอร์ไซค์ 100,000 บาท

    *** รวม ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท อาจจะมีเพิ่มหรือลดอยู่ที่การประเมินหน้างาน

    โอนรถมอเตอร์ไซค์ประมาณกี่วันได้เล่มทะเบียน?

    ในการทำธุรกรรมการโอนรถมอเตอร์ไซค์ของทางขนส่งนั้นรวดเร็วอยู่พอสมควร ซึ่งจะสามารถได้เล่มทะเบียนใหม่อย่างไวที่สุดคือภายใน 2-3 ชั่วโมง และอย่างช้าที่สุดคือ 1 วัน ในกรณีที่โอนภายในจังหวัด

    ส่วนกรณีที่โอนข้ามจังหวัด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่า การโอนมอเตอร์ไซค์ข้ามจังหวัด สามารถใช้ทะเบียนเล่นเดิมได้ เพียงแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ขนส่งว่าจะใช้ทะเบียนเดิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะให้กรอกเอกสารเกี่ยวกับการแสดงหลักฐานว่ามีความประสงค์จะใช้ทะเบียนนี้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3 วัน และสามารถรับป้ายทะเบียนใหม่ได้เลย หรืออย่างนานสุดก็ภายใน 15 วัน

    การโอนรถมอเตอร์ไซค์ แบบโอนลอย กับโอนรถกับกรมการขนส่ง ก็มีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันครับ สำหรับการโอนรถกับกรมการขนส่งข้อเสียคือต้องทำเรื่องนาน หลายขั้นตอน และเวลาทำเรื่องก็ต้องมีทั้งผู้โอนให้กับผู้รับโอนไปคู่กันตลอดการดำเนินงาน ทำให้หลายคนเลือกใช้วิธีโอนรถมอเตอร์ไซค์ แบบโอนลอย เพราะสะดวกในการนัดหมายมากกว่า

    ซึ่งการโอนรถมอเตอร์ไซค์แบบโอนลอย มีข้อดีคือ “รวดเร็ว” เซ็นสำเนาถูกต้องมอบอำนาจให้กันได้เลย แต่ข้อเสียคือ ผู้ซื้อรถไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ารถนั้นได้ทำผิดกฎหมายใดๆมาหรือไม่ จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกหลอกได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจโอน


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts