จากสีทึบเรียบง่ายในยุคแรกเริ่ม สู่สีสันสดใสและเทคนิคการพ่นสีที่ซับซ้อนในปัจจุบัน สีรถยนต์ได้ผ่านการวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน การเลือกสีรถยนต์ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกสีที่ชอบ แต่ยังเป็นการสะท้อนรสนิยมและบุคลิกของเจ้าของรถอีกด้วย ปัจจุบัน “สีรถยนต์” มีให้เลือกหลากหลายเฉดสีและประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป มาทำความรู้จักกับสีรถยนต์แต่ละประเภทกันค่ะ”
สีทึบ (Solid) – สีรถยนต์
เป็นสีพื้นฐานธรรมดาทั่วไป ที่มีลักษณะเป็นสีเนื้อเดียว ไม่มีการผสมสีหรือเม็ดสีพิเศษอื่น ๆ เช่น สีขาว สีแดง สีดำ สีเทา สีน้ำเงิน เป็นต้น โดยทั่วไปสีชนิดนี้มักจะผ่านการเคลือบสีเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนมาแล้ว ข้อดีคือเวลาต้องซ่อมแซมสีจะมีราคาไม่แพง เพราะซ่อมแซมง่ายโดยใช้สีเดียวกันทาลงไปได้เลย แต่ข้อเสียคือสีอาจซีดจางได้ง่ายเมื่อโดนแสงแดดเป็นเวลานาน
สีเมทัลลิก (Metallic)
สีเมทัลลิกมีการผสมผงโลหะขนาดเล็กที่สามารถสะท้อนแสงได้เข้าไป ทำให้สีดูมีมิติ มีความแวววาว เงางาม สะท้อนแสง สีประเภทนี้ให้ความรู้สึกหรูหราและทันสมัย ทั้งยังดูสกปรกยากแม้จะไม่ได้ล้างรถก็ตาม แต่ก็มีข้อเสียคือสีเมทัลลิกจะมีราคาที่สูงกว่าสีทึบ และเมื่อต้องการซ่อมแซมเฉพาะจุดขึ้นมา จะหาสีที่เหมือนเดิมเป๊ะได้ยากมากขึ้น
สีมุก (Pearlescent) หรือ สีไมกา (Mica)
สีมุกและสีไมก้า คือสีแบบเดียวกันแล้วแต่ผู้ผลิตจะเลือกใช้ เป็นสีที่มีการเติมผงเซรามิกคริสตัลเข้าไปในสีแทนผงโลหะ ตัวสีรถจะเปลี่ยนแปลงไปตามมุมมอง เนื่องจากมีการผสมเม็ดสีขนาดใหญ่ที่สามารถสะท้อนแสงได้หลายสี ทำให้สีดูมีมิติและแววาวสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูง และการดูแลรักษาอาจต้องใช้ความพิถีพิถันมากกว่าสีประเภทอื่น ๆ ทั้งยังหาสีได้ยากเมื่อมีการทำสีเฉพาะจุด
สีแมท (Matte) – สีรถยนต์
เป็นสีที่มีความด้าน ไม่มีความเงางาม สีดูเรียบแต่เท่ ให้ความรู้สึกดุดัน ทรงพลัง สีประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่ต้องการความแตกต่างและความโดดเด่น แต่ข้อเสียคือสีแมทอาจดูดฝุ่นและรอยเปื้อนได้ง่าย เห็นลอยขีดช่วนเ,้ก ๆ ได้ชัดเจนกว่าสีชนิดอื่น ๆ การทำความสะอาดจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
การเลือกสีรถยนต์สักคัน ก็เหมือนเลือกชุดใส่ออกบ้าน เรียได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงรสนิยมและบุคลิกของเราได้เป็นอย่างดี นอกจากจะเลือกสีรถจากสไตล์และความชอบแล้ว ที่สำคัญคืออย่าลืมดูแลรักษาสีรถให้รถสวยงามเหมือนใหม่อยู่เสมอ
บทความที่น่าสนใจ
ทำความรู้จักกับ “ล้อแม็ก” เพิ่มความเท่ให้รถของคุณ
มือใหม่หัดขับ ทำความรู้จัก “เกียร์ออโต้” แต่ละเกียร์คืออะไร ใช้ตอนไหน