More

    UBTECH กับ FAW-Volkswagen สร้างโรงงานรถยนต์ฝีมือ ‘หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์’

    UBTECH กับ FAW-Volkswagen สร้างโรงงานรถยนต์ฝีมือ ‘ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ’

    UBTECH กับ FAW-Volkswagen

    UBTECH บริษัทวิจัยและผลิต หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ในนครเซินเจิ้นทางตอนใต้ของจีน และเอฟเอดับเบิลยู-โฟล์กสวาเกน FAW-Volkswagen หนึ่งในกิจการร่วมค้าผลิตยานยนต์เก่าแก่ที่สุดของจีน ประกาศแผนการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสายการผลิตอัจฉริยะและคล่องตัวสูง รวมถึงโรงงานผลิตรถยนต์ไร้มนุษย์

    ความร่วมมือนี้มุ่งบูรณาการ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ เข้าสู่การดำเนินงานในโรงงานของเอฟเอดับเบิลยู-โฟล์กสวาเกน ในเมืองชิงเต่าทางตะวันออกของจีน โดยเอฟเอดับเบิลยูฯ จะให้ยูบีเทคเข้าถึงสายการผลิตของโรงงานในเมืองชิงเต่า เพื่อใช้วอล์กเกอร์ เอส (Walker S) หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ของยูบีเทค ทำงานต่างๆ เช่น ขันสลักเกลียว ประกอบชิ้นส่วน และจัดการชิ้นส่วนยานยนต์

    UBTECH กับ FAW-Volkswagen

    ยูบีเทค จะจัดสรรทรัพยากรเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์สำหรับการประยุกต์ใช้งานทางอุตสาหกรรม ซึ่งสนับสนุนความพยายามของเอฟเอดับเบิลยู-โฟล์กสวาเกน ในการยกระดับความอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติในโรงงานแห่งต่างๆ

    UBTECH กับ FAW-Volkswagen

    ทั้งนี้ วอล์กเกอร์ เอส หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ เชิงอุตสาหกรรมของยูบีเทค ถูกใช้ในการฝึกฝนบนพื้นที่จริงที่โรงงานของนีโอ (NIO) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของจีน และโรงงานประกอบเครื่องยนต์ของตงเฟิง หลิ่วโจว (Dongfeng Liuzhou) แล้ว

    บริษัท อูบเทค เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ระดับโลกจากประเทศจีน ปัจจุบันได้ร่วมมือกับ SVOA เพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาเพียงผู้เดียวในประเทศไทย สำหรับการจัดแข่งขัน Thailand UBTECH Robotics Competition 2019 ครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนอายุระหว่าง 8 ถึง 16 ปี ร่วมแสดงความสามารถในการออกแบบหุ่นยนต์ และเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ โดยผู้ชนะจะได้ไปแข่งขันระดับภูมิภาคในประเทศจีน

    ยูบีเทค กับบทบาทผู้ช่วยส่งเสริมระบบนิเวศน์หุ่นยนต์ในประเทศไทย

    ยูบีเทค ได้เล่าว่า บริษัทได้เริ่มเข้ามาตลาดไทยตั้งแต่ปี 2018 โดยเห็นประเทศไทยเป็นตลาดใหม่ด้านหุ่นยนตร์ และการศึกษาด้าน AI ที่สามารถเข้ามาร่วมมือได้ โดยเมื่อเข้ามา ก็เริ่มมองเห็นปัญหาของ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศไทย โดยประกอบด้วย 4 เรื่องหลักๆคือ

    1. ขาดหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

    2. ขาดครูอาจารย์

    3. ขาดพื้นที่การฝึกซ้อม

    4. ไม่มีระบบนิเวศน์หุ่นยนต์ในประเทศไทย

    เมื่อเห็นปัญหา จึงได้เปิดเวทีเพื่อให้เด็กๆ มีสนามแข่ง และเป็นสร้าง Ecosystem โดยร่วมมือกับ SVOA ให้เด็กเห็นความสำคัญที่ต้องเรียน AI เพราะในอนาคตอีก 20 ปี มีการคาดการณ์ว่า จะมีหุ่นยนต์ถึง 10 พันล้านตัว

    ทั้งนี้ประเทศไทยมีความเติบโตเร็ว โดยในปี 2012 โรงเรียนไทยหลายแห่งในประเทศไทยได้เข้าสู่ STREAM Education ทำให้เด็กๆหลายคนมีพื้นฐาน แต่ก็ยังขาดการสร้าง Ecosystem จึงได้ร่วมกันสนับสนุนในส่วนนี้


    ที่มา: Chinadaily

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts