ระบบการป้องกันความปลอดภัยอย่างนึงที่รถยนต์ทุกคันจะติดตั้งมาให้ทุกๆคันก็คือ “ถุงลมนิรภัย” ซึ่งจะช่วยเซฟรองรับแรงกระแทกของผู้ขับขี่หากเกิดอุบัติเหตุให้บาดเจ็บน้อยลงได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายต่อหลายคนสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมข่าวอุบัติเหตุรถชนกันต่างๆ นาๆ ยังคงมีผู้เสียชีวิตกันอยู่มากมายนับไม่ถ้วนรายวัน ทั้งๆที่มีระบบป้องกันจากถุงลมนิรภัยมาช่วยรับแรงกระแทก เรามาไขข้อข้องใจกันดีกว่าค่ะ ว่าสาเหตุที่ทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานเมื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุจนทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสหรือถึงขั้นเสียชีวิตนั้นเกิดจากอะไร
ลักษณะการชน
หลักการทำงานของถุงลม คือจะมีตัวเซ็นเซอร์ที่สำหรับวัดความแรงหรือแรงกระแทกตามจุดที่ซ่อนไว้ต่างๆในตัวรถที่จะส่งสัญญาณกระตุ้นไปถึงตัวถุงลมให้ทำงานนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการชน ต่อให้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถควบคุมรถได้แล้วเกิดการเหวี่ยงไปกระแทกจุดที่เซ็นเซอร์ไม่ตรวจจับนั้น ก็อาจจะทำให้ถุงลมไม่ทำงานได้
เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระแทก
สำหรับการทำงานอื่นที่ผสานกันระหว่างถุงลมนั้นก็คือเซ็นเซอร์ที่จะมีการตั้งค่าการตรวจจับความแรงของการกระแทกจากรถแต่ละคัน จะไม่เหมือนกัน ซึ่งตัวเซ็นเซอร์นั้นจะส่งสัญญาณให้ถุงลมทำงานอีกนั้นก็ต่อเมื่อแรงกระแทกที่เกิดขึ้นมีความกระเทือนถึงขีดการตั้งค่าที่ทางโรงงานได้ตั้งเอาไว้ ทั้งนี้หากผู้ที่ประสบอุบัติเหตุแต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต และถุงลมของคุณไม่ทำงานนั้นก่อนจะไปฟ้องร้องกับทางบริษัทรถ ควรที่จะตรวจเช็ควัดระดับค่าการรับแรงกระแทกของเซ็นเซอร์เสียก่อนว่าถึงมาตรฐานที่ถุงลมจะทำงานหรือไม่ หากถึงแล้วถุงลมไม่พองตัว ก็สามารถทำการเรียกร้องความเสียหายจากทางบริษัทรถได้ หรืออีกกรณีคือตัวเซ็นเซอร์ของตัวถุงลมนิรภัยไม่สามารถตรวจจับวัดแรงกระแทกได้เป็นปกติ อาจมาจากที่ผู้ผลิตค่ายรถยนต์ออกแบบ และทำการทดสอบได้ไม่ดีพอ รวมไปถึงจำนวนเซ็นเซอร์เพื่อจับวัดแรงกระแทกของตัวถุงลมมีน้อยเกินไปที่จะตรวจจับวัดแรงกระแทกจากการชนได้ทั่วถึง
*เจ้าของรถสามารถนำรถไปเซ็ทค่าการรับแรงกระแทกของถุงลมใหม่ได้
คำแนะนำของ NHTSA หน่วยงานความปลอดภัยด้านการจราจรทางหลวงในอเมริกา ชี้ว่าตำแหน่งการชนหรือจุดที่รถได้รับแรงกระแทกมีผลต่อการทำงานของถุงลมนิรภัยโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตัวรถชนที่ด้านหน้าจังๆ การทำงานของถุงลมนิรภัยจะเชื่อมั่นได้มากกว่าว่าถุงลมนิรภัยจะพองโตขึ้นมาเมื่อเทียบกับการชนที่มุมด้านหน้าของตัวรถ เป็นต้น
ระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องชำรุด
เซ็นเซอร์ของตัวถุงลมทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ถ้าส่วนประกอบต่างๆ เกิดชำรุดย่อมส่งผลให้การทำงานของถุงลมผิดพลาด เช่น สายไฟที่ออกแบบมาเพื่อส่งสัญญาณไปยังถุงลมเกิดขาดหรือชำรุด หรือเสื่อมสภาพ การเดินวางสายไฟไม่ดีพอ วางสายไฟไว้ในตำแหน่งที่ขาดได้ง่ายเมื่อรถเกิดการชน โดยเกิดจากทางผู้ผลิต ดังนั้นควรตรวจเช็คสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ
ข้อผิดพลาดจากตัวถุงลมนิรภัย
เมื่อระบบเซ็นเซอร์ทำงานปกติ ระบบไฟฟ้าทำงานปกติแล้วนั้น แต่ตัวถุงลมก็ยังไม่พองออกมา นั่นก็เป็นไปได้ว่าเกิดข้อผิดพลาดจากตัวถุงลมเอง ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการออกแบบ ขั้นตอนการผลิตซอฟแวร์ระบบของการทำงานของถุงลม
การทำงานของถุงลมนั้นมีหลายขั้นตอนหลายระบบที่จะต้องคอยตรวจเช็คเพื่อความปลอดภัยของรถและตัวคุณเอง ซึ่งเราไม่สามารถไว้ใจอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยต่างๆได้ทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงเลยความปลอดภัยโดยการไม่ประมาทในการขับรถ ไม่ว่าจะสภาวะอากาศหรือแวดล้อมเป็นแบบไหน ความมีสติคอยระมัดระวังอยู่เสมอ ใช้ความเร็วให้เหมาะสม อย่าหวังพึ่งความแข็งแรงของรถหรือถุงลมนิรภัยเพียงอย่างเดียว