อยากเปลี่ยนสีรถให้โลกจำ แต่คุณตำรวจไม่เข้าใจ!! ก็คนมันชอบไม่เหมือนใคร ทำยังไงได้หละ มาดูกันว่า การจะเปลี่ยนสีรถให้ไม่ซ้ำใคร ไม่อยากได้สีเดิมจากโรงงาน มีข้อกฎหมายกำหนดอะไรไว้บ้าง สามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการหรือไม่ มาดูกันเลยค่ะ
การเปลี่ยนสีรถยนต์
ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกําหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำสีรถยนต์ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีตัวเลือกในการเปลี่ยนรูปแบบการทำสีไปต่างๆ เช่น การพ่น การแร็ป การเพ้นท์ และสามารถทำได้ง่าย ๆ ใช้เวลาไม่นาน เพื่อให้การกำหนดสีสำหรับการจดทะเบียน และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสีรถภายหลังจดทะเบียน
การกําหนดสีและลักษณะของรถยนต์
สำหรับระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นมา อีกทั้งยังเป็นการยกเลิกการกําหนดสี และลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2549 และใช้หลักเกณฑ์การกำหนดสีดังต่อไปนี้
- กรณีตัวรถมีสีเดียว ให้กำหนดเป็นสีหลัก โดยไม่ต้องระบุถึงความเข้มหรืออ่อนของสีที่แตกต่างกัน เช่น การกําหนดสีและลักษณะของรถยนต์
- กรณีตัวรถมีหลายสี บนตัวถังที่เป็นส่วนหลักของรถมีสีที่แตกต่างกันกับส่วนอื่น เช่น ฝากระโปรงหน้า ฝากกระโปรงหลัง หลังคาหรือประตู ให้กำหนดสีหลักไม่เกิน 3 สี ดังต่อไปนี้
– ตัวถังรถมี 2 สี ให้กำหนดดังด้านล่างนี้
– ตัวถังรถมี 3 สี ให้กำหนดดังด้านล่างนี้
– ตัวถังรถมีมากกว่า 3 สี ให้กำหนดสีหลัก 2 สี และสีสุดท้ายเป็น “หลายสี”
– หากตัวถังรถไม่สามารถกำหนดสีหลักได้ ให้กำหนดเป็น “หลายสี” เพียงอย่างเดียว
- ส่วนสีคาด หรือแถบที่ใช้แต่งรถ โดยไม่ทำให้สีตัวรถเปลี่ยนแปลง “ไม่กำหนดเป็นสีรถ” (หากสีตัวรถเปลี่ยนให้กำหนดสีรถตามหลักเกณฑ์การกำหนดสี)
- การเปลี่ยนสีรถไม่ว่าจะเป็นการ ติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือคาร์บอนเคฟล่า “ให้กำหนดเป็นสีรถตามหลักเกณฑ์การกำหนดสีรถ”
- การติดสติกเกอร์ ฟิล์ม หรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อการโฆษณา หรือแต่งรถ ที่เป็นรูปภาพ ข้อความ ตัวอักษร และลวดลายต่าง ๆ บนตัวถังของรถในภายหลัง “ไม่ต้องกําหนดเป็นสีรถ”
ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสารรถยนต์จากทั่วทุกมุมโลก ทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงสาระน่ารู้ต่างๆ การดูแลรักษารถยนต์ อุปกรณ์แต่งรถยนต์ ได้ที่ Car2Day