More

    เตือน!! ใครชอบถอดรองเท้าขับรถ ควรรู้!!

    การฝึกฝนขับรถหรือขับเป็นมานานแล้ว ความถนัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มันมีหลายกรณีอย่างเช่น ขับรถเกียร์ออโต้ 2 เท้า อะไรประมาณนี้ เรื่องการถอดรองเท้าหรือไม่นี้ก็เช่นกัน บางคนใส่รองเท้าแล้วขับไม่ถนัด ไม่มั่นใจ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดอันตรายได้มากกว่าที่คิด ลองมาดูกันค่ะว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากคุณไม่สวมรองเท้าขับรถ จะมีอะไรบ้าง

     

    กลิ่นเท้าและผิวเท้าด้าน แบคทีเรียนั้นมีอยู่ทุกที่ ซึ่งการที่ผิวของเราสัมผัสโดยตรงโดยเฉพาะจุดอ่อนโยนบอบบางต่างๆ ไปโดนเข้าก็จะทำให้เกิดกลิ่นหรือระคายเคืองได้ การที่คุณถอดรองเท้าขับรถนั้น จะทำให้เกิดการสัมผัสกับคันเร่งหรือเบรกจนเกิดการเสียดสีและถูกกับสิ่งสกปรกโดยตรง ก็จะเป็นการสะสมเชื้อโรคแบคทีเรียจนทำให้เกิดกลิ่นเท้า หรือระคายเคืองคัน หากเกิดเป็นการคันเรื้อรังก็จะเป็นแผลและรักษายาก อีกอย่างการที่ผิวเท้าสัมผัสกับคันเร่งหรือเบรกเป็นเวลานานก็ส่งผลให้ผิวเท้าเราหนาและด้านขึ้นด้วยเช่นกัน

    เท้าพลิกหรือบาดเจ็บ การขับรถโดยไม่สวมรองเท้านั้นหากคุณขับเกียร์ออโต้ก็อาจจะง่าย เพราะเหยียบอย่างเดียว แต่ถ้าหากเป็นเกียร์ธรรมดานั้น การลงน้ำหนักเท้าจะไม่เท่ากัน แล้วการที่เราสลับเท้าไปมาบ่อยๆนั้น อาจจะทำให้เกิดการผิดพลาดเท้าไปกระแทกกับเกียร์จนบาดเจ็บ หรือพลิกขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถขับต่อได้ และส่งผลต่อกล้ามเนื้อเนื่องจากแรงกดเป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้เกิดการฟกช้ำ เคล็ดขึ้นมาได้ อาจมีผลต่อการเดินหรือใช้งานเท้าในอนาคต

    รองเท้าคั่นเบรก การที่คุณถอดรองเท้าเอาไว้ที่ด้านคนขับด้วยความเคยชิน ว่าทำมานานแล้วไม่เห็นจะไหลไปคั่นเบรกอย่างที่ใครว่า อันนี้คือความคิดที่ประมาทมาก ซึ่งหากเกิดการเบรกกระทันหัน หรือเลี้ยวรถแล้วรองเท้ากลิ้งไปคั่นเบรกหรือคันเร่งขึ้นมาแล้ว อาจเกิดอันตรายได้มากกว่าที่คิด ถือว่าเสี่ยงเป็นอย่างมาก ไม่ควรประมาท โดยเฉพาะส้นสูงหรือรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ หากไปคั่นเบรกหรือคันเร่งขึ้นมา คุณอาจจะควบคุมสถานการณ์การขับขี่ได้ยาก หากต้องจอดก็เบรกอาจเบรกไม่อยู่ เพราะฉะนั้นอย่างเสี่ยงถอดรองเท้าจะดีที่สุดค่ะ

    ผิดกฏหมาย หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การถอดรองเท้าขับรถนั้นผิดกฎหมายด้วยหรอ ใช่ค่ะ ผิดกฎหมายค่ะ  โดย พ.ร.บ. ขนส่งทางบก มาตรา 102(1) และกฎกระทรวง พ.ศ. 2555 ระบุว่า “ในขณะขับรถรับจ้าง รถยนต์สาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยรัดกุม และสวมใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ หากฝ่าฝืนจะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 127” ข้อนี้บังคับใช้กับผู้ใช้รถยนต์ทั้งส่วนบุคคล สาธารณะ เอกชนต่างๆ บังคับใช้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารทุกคน

    หากรู้อย่างนี้แล้ว แต่คุณจะยังคงชินกับการถอดรองเท้าขับรถตามความถนัดของตัวเอง ควรที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม ค่อยๆปรับไปทีละนิด ก็อาจจะช่วยให้เราเคยชินมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง รองเท้าที่เลือกสวมใส่ควรกระชับแล้วแต่ความถนัดของผู้ขับขี่อีกเช่นกัน ไม่ควรใช้รองเท้าส้นสูงหรือส้นหนา หลวมหลุดง่าย ยังไงก็ตามขอให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัย ขับขี่รถอยู่บนความไม่ประมาท ระมัดระวังในทุกๆด้านนะคะ


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts