More

    ตลาดรถยนต์ Q1 ทะลุ 2 แสนคันลดลง 6% เก๋งโต ปิกอัพร่วง พีพีวีรุ่ง

    จบไตรมาสแรกของปี 2566 กับสถิติการขายรถยนต์ประจำปี ปิดการขายที่  217,073 คัน ลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

    Cars

    โดยแบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่งด้วยยอดขาย 77,566 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 2.4% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 139,507 คัน ลดลง 10.3% โดยรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้มียอดขายจำนวน 101,472 คัน ลดลง 17.3%และในส่วนของเดือนมีนาคมขาย 79,943 คัน ลดลง 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่งด้วยยอดขาย 29,835 คัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 50,108 คัน ลดลง 12.8% โดยรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้มียอดขายจำนวน 36,066 คัน ลดลงเช่นกันที่ 22.2% โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

    ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม 2566 มีปริมาณการขาย 79,943 คัน เติบโตลดลง 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมียอดขาย 29,835 คัน เติบโตเล็กน้อยที่ 0.2% ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีตัวเลขการขาย 50,108  คัน ลดลงที่ 12.8% เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้อของลูกค้า หลังจากที่มียอดสั่งซื้อของลูกค้าเป็นจำนวนมากในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของตัวเลขการขายสะสมไตรมาสแรกสามารถทำตัวเลขสะสมทะลุ 2 แสนคันที่ 217,073 คัน แต่ยังน้อยกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ 6.1%

    ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนมีแนวโน้มขยับตัวดีขึ้น โดยมียอดจองรถยนต์ของทุกค่ายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44 ที่มากถึง 42,871 คัน โดยเป็นการเปิดฤดูกาลขายประจำปีด้วยเงื่อนไขการขาย “แคมเปญมอเตอร์โชว์” ที่ทุกค่ายรถยนต์ต่างแข่งขันกันเพื่อหวังกวาดยอดจองในช่วงนี้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงก็คือลูกค้าที่ต่างเฝ้ารอ “ข้อเสนอพิเศษสุดแห่งปี” ตัวเลขยอดจองดังกล่าวจะทยอยส่งมอบถึงมือลูกค้า ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนมีตัวเลขการขายที่ดีต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคม

    ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2566

    Toyota

    1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 79,943 คัน ลดลง 8.4%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      25,713 คัน       ลดลง 14.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.2%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ          17,133 คัน       ลดลง 21.4% ส่วนแบ่งตลาด 21.4%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า       10,185 คัน      เพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%

    อันดับที่ 4 ฟอร์ด           4,077 คัน      เพิ่มขึ้น 46.6% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%

    อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ         4,072 คัน      ลดลง 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%

    Honda

    2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,835 คัน เพิ่มขึ้น 0.2%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      9,953 คัน       เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%

    อันดับที่ 2 ฮอนด้า       7,053 คัน       ลดลง 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 23.6%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      1,789 คัน       เพิ่มขึ้น 0.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%

    อันดับที่ 4 เอ็มจี           1,170 คัน      ลดลง 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 3.9%

    อันดับที่ 5 ซูซูกิ           1,089 คัน      ลดลง 37.2% ส่วนแบ่งตลาด 3.7%

    ISUZU

    3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 50,108 คัน ลดลง 12.8%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           17,133 คัน       ลดลง 21.4%  ส่วนแบ่งตลาด 34.2%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      15,760 คัน      ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.5%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด        4,074 คัน       เพิ่มขึ้น 46.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%

    อันดับที่ 4 ฮอนด้า       3,132 คัน      เพิ่มขึ้น 86.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%

    อันดับที่ 5 บีวายดี         2,434 คัน     ส่วนแบ่งตลาด 4.9%

    4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)ปริมาณการขาย 36,066 คัน ลดลง 22.2%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           15,845 คัน       ลดลง 22.0%  ส่วนแบ่งตลาด 43.9%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      13,103 คัน       ลดลง   31.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด           4,074 คัน        เพิ่มขึ้น  46.6% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ           2,271 คัน     ลดลง 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%

    อันดับที่ 5 นิสสัน             568 คัน        ลดลง 40.3% ส่วนแบ่งตลาด 1.6%

    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) 6,444 คัน เพิ่มขึ้น 11.7%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า           2,342 คัน    ลดลง 10.2%  ส่วนแบ่งตลาด 36.3%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ              2,322 คัน      เพิ่มขึ้น  19.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.0%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด           1,184 คัน       เพิ่มขึ้น  281.9% ส่วนแบ่งตลาด 18.4%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ           465 คัน       ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

    อันดับที่ 5 นิสสัน             131 คัน       ลดลง 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 2.0%

    Ford

    5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,622 คัน ลดลง 27.0%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           13,523 คัน       ลดลง 26.4%  ส่วนแบ่งตลาด 45.7%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      10,761 คัน       ลดลง   34.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,890 คัน       เพิ่มขึ้น  17.1%  ส่วนแบ่งตลาด  9.8%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ     1,806 คัน        ลดลง 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%

    อันดับที่ 5 นิสสัน          437 คัน        ลดลง 45.0% ส่วนแบ่งตลาด 1.5%

     

    สถิติการจำหน่ายรถยนต์เดือนมกราคม – มีนาคม 2566

    ISUZU

    1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 217,073 คัน ลดลง 6.1%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      75,121 คัน      ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ          47,159 คัน       ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า       25,961 คัน       เพิ่มขึ้น  1.3%   ส่วนแบ่งตลาด 12.0%

    อันดับที่ 4 ฟอร์ด           11,047 คัน     เพิ่มขึ้น 50.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%

    อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ        10,962 คัน      ลดลง 22.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%

    Honda

    2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 77,566 คัน เพิ่มขึ้น 2.4%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      28,080 คัน      เพิ่มขึ้น 38.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%

    อันดับที่ 2 ฮอนด้า       17,786 คัน      ลดลง 10.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%

    อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ       5,218 คัน       ลดลง 5.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%

    อันดับที่ 4 เอ็มจี           3,976 คัน      ลดลง 14.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.1%

    อันดับที่ 5 ซูซูกิ           2,645 คัน      ลดลง 47.2% ส่วนแบ่งตลาด 3.4%

    ISUZU

    3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 139,507 คัน ลดลง 10.3%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           47,159 คัน      ลดลง 17.9%  ส่วนแบ่งตลาด 33.8%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      47,041 คัน      ลดลง 17.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด        11,040 คัน      เพิ่มขึ้น 50.2% ส่วนแบ่งตลาด  7.9%

    อันดับที่ 4 ฮอนด้า       8,175 คัน      เพิ่มขึ้น 42.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%

    อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ         5,744 คัน    ลดลง 33.0% ส่วนแบ่งตลาด 4.1%

    4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 101,472 คัน ลดลง 17.3%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ            43,522 คัน     ลดลง 18.1% ส่วนแบ่งตลาด 42.9%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า       39,287 คัน     ลดลง 21.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด         11,040 คัน     เพิ่มขึ้น 50.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.9%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ           5,717 คัน   ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.6%

    อันดับที่ 5 นิสสัน            1,336 คัน     ลดลง 46.3% ส่วนแบ่งตลาด 1.3%

    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) 18,227 คัน เพิ่มขึ้น 12.1%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า           6,733 คัน    ลดลง 13.3%  ส่วนแบ่งตลาด 36.9%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ                6,194 คัน    เพิ่มขึ้น  25.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด              3,562 คัน    เพิ่มขึ้น  224.7% ส่วนแบ่งตลาด 19.5%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ           1,392 คัน     ลดลง 35.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

    อันดับที่ 5 นิสสัน                 346 คัน      เพิ่มขึ้น 7.5% ส่วนแบ่งตลาด 2.0%

    Toyota

    5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 83,245 คัน ลดลง 21.8%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           37,328 คัน      ลดลง 22.6%  ส่วนแบ่งตลาด 44.8%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      32,554 คัน      ลดลง 23.1%  ส่วนแบ่งตลาด 39.1%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด        7,478 คัน       เพิ่มขึ้น 19.6%  ส่วนแบ่งตลาด 9.0%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ     4,325 คัน        ลดลง 32.3% ส่วนแบ่งตลาด 5.2%

    อันดับที่ 5 นิสสัน          990 คัน        ลดลง 54.3% ส่วนแบ่งตลาด 1.2%

     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts