More

    ตลาดรถยนต์ 2566 มืดมนไม่ถึงฝันทำได้ 7 แสนกว่าคันลดลง 9 % เก๋งโต ปิกอัพทรุด

    จบปีกระต่ายกับตลาดรถยนต์ปี 2566 ด้วยตัวเลขไม่ถึง 8.55 แสนคันอยู่ที่  775,780 คัน  ลดลง 9% จากปัจจัยหลายๆอย่างที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาด

    Car

    จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ กำลังซื้อที่ชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนสูง ตลอดจนการชะลอซื้อรถยนต์ของภาคธุรกิจเพื่อรอความชัดเจนจากมาตรการรัฐซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

    อย่างไรก็ตาม ยังพอมีปัจจัยด้านบวกอื่นๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวม อาทิ สัดส่วนการขายของตลาดรถยนต์นั่งในประเทศที่ขยายตัวได้ดี โดยได้กระแสความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้อานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนด้านราคาของภาครัฐ ตลอดจนตัวเลขการส่งออกรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกในช่วงที่ผ่านมา เพื่อชดเชยการส่งมอบรถที่ล่าช้าจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญจนทำให้การผลิตล่าช้าออกไปในปีก่อนหน้านี้

    จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ได้สะท้อนมายังตลาดรถยนต์ในประเทศ โดยมีตัวเลขยอดขายรวมในปี 2566 อยู่ที่ 775,780 คัน หรือลดลง 9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบด้วยรถยนต์นั่ง 292,505 คัน เพิ่มขึ้น 10% รถเพื่อการพาณิชย์ 483,275 คัน  ลดลง 17% รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง PPV)  325,024 คัน  ลดลง 29% และรถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง PPV) 264,738 คัน ลดลง 32%

    แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 คาดว่าจะยังคงอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด โดยมีปัจจัยรอบด้านที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวม อาทิ การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายให้เร่งตัวขึ้น การขยายตัวของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลในด้านการส่งออก ตลอดจนสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง และทิศทางของนโยบายอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย ทำให้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2567 จะอยู่ที่ 800,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 296,500 คัน เพิ่มขึ้น 1% รถเพื่อการพาณิชย์ 503,500 คัน  เพิ่มขึ้น 4%

    สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือน มกราคม–ธันวาคม 2566

    Honda

    1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 775,780 คัน ลดลง 8.7%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า       265,949 คัน   ลดลง 7.9%     ส่วนแบ่งตลาด 34.3%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ            151,935 คัน   ลดลง 28.5%    ส่วนแบ่งตลาด 19.6%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า          94,336 คัน    เพิ่มขึ้น 13.9%  ส่วนแบ่งตลาด 12.2%

    อันดับที่ 4 ฟอร์ด            36,483 คัน    ลดลง 16.4%   ส่วนแบ่งตลาด  4.7%

    อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ         32,668 คัน    ลดลง 35.2%   ส่วนแบ่งตลาด  4.2%

    MG

    2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 292,505 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า        99,292 คัน   เพิ่มขึ้น  20.0%  ส่วนแบ่งตลาด 33.9%

    อันดับที่ 2 ฮอนด้า        56,723 คัน   ลดลง   8.0%   ส่วนแบ่งตลาด 19.4%

    อันดับที่ 3 เอ็มจี          19,409 คัน   เพิ่มขึ้น 34.3%  ส่วนแบ่งตลาด 6.5%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ       15,430 คัน   ลดลง  27.1%   ส่วนแบ่งตลาด 5.3%

    อันดับที่ 5 เนต้า          13,836 คัน   ส่วนแบ่งตลาด   4.7%

    ISUZU

    3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 483,275 คัน ลดลง 17.3%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า       166,657 คัน  ลดลง 19.1%    ส่วนแบ่งตลาด   34.5%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ           151,935 คัน   ลดลง 28.5%    ส่วนแบ่งตลาด   31.4%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า          37,613 คัน    เพิ่มขึ้น 77.6%  ส่วนแบ่งตลาด   7.8%

    อันดับที่ 4 ฟอร์ด             36,461 คัน    ลดลง 16.3%  ส่วนแบ่งตลาด   7.5%

    อันดับที่ 5 บีวายดี         19,213 คัน   ส่วนแบ่งตลาด   4.0%

    Ford

    4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ PPV) ปริมาณการขาย 325,024 คัน ลดลง 28.5%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ           136,350 คัน     ลดลง 30.4%    ส่วนแบ่งตลาด   42.0%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      128,689 คัน     ลดลง 26.8%    ส่วนแบ่งตลาด   39.6%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด         36,461 คัน    ลดลง 16.3%  ส่วนแบ่งตลาด   11.2%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ       17,142 คัน     ลดลง 40.8%    ส่วนแบ่งตลาด   5.3%

    อันดับที่ 5 นิสสัน          4,618 คัน     ลดลง 29.1%    ส่วนแบ่งตลาด   1.4%

    *ปริมาณการขายรถปิกอัพดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 60,286 คัน ลดลง 9.4%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      22,088 คัน     ลดลง 20.2%    ส่วนแบ่งตลาด 36.6%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ          20,851 คัน     เพิ่มขึ้น 1.6%  ส่วนแบ่งตลาด 34.6%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด          12,030 คัน    เพิ่มขึ้น 23.2%  ส่วนแบ่งตลาด 20.0%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ        4,169 คัน      ลดลง 43.7%  ส่วนแบ่งตลาด   6.9%

    อันดับที่ 5 นิสสัน           1,148 คัน      ลดลง 4.5%   ส่วนแบ่งตลาด  1.9%

    Mitsubishi

    5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 264,738 คัน ลดลง 31.8%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ         115,499 คัน     ลดลง  34.2%   ส่วนแบ่งตลาด 43.6%

    อันดับที่ 2 โตโยต้า      106,601 คัน   ลดลง  28.0%   ส่วนแบ่งตลาด 40.3%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด        24,431 คัน      ลดลง  27.8%   ส่วนแบ่งตลาด  9.2%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ      12,973 คัน    ลดลง 39.9%    ส่วนแบ่งตลาด  4.9%

    อันดับที่ 5 นิสสัน        3,470 คัน       ลดลง 34.7%   ส่วนแบ่งตลาด   1.3%

    Toyota

    ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2566

    1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,326 คัน ลดลง 17.5%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      24,105 คัน    ลดลง 20.2 %   ส่วนแบ่งตลาด 35.3%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ          10,264 คัน     ลดลง 43.7%    ส่วนแบ่งตลาด 15.0%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า         9,820 คัน    เพิ่มขึ้น 18.0%    ส่วนแบ่งตลาด 14.4%

    อันดับที่ 4 บีวายดี         4,055 คัน     เพิ่มขึ้น 1,199.7%    ส่วนแบ่งตลาด 5.9%

    อันดับที่ 5 ฟอร์ด           2,828 คัน     ลดลง 49.0%    ส่วนแบ่งตลาด 4.1%

    Honda

    2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 26,141 คัน เพิ่มขึ้น 5.8%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      7,258 คัน      ลดลง 18.8%    ส่วนแบ่งตลาด 27.8%

    อันดับที่ 2 ฮอนด้า      5,426 คัน       ลดลง 6.2%    ส่วนแบ่งตลาด 20.8%

    อันดับที่ 3 บีวายดี      3,334 คัน       ส่วนแบ่ตลาด​ 12.8%

    อันดับที่ 4 เนต้า       1,779 คัน        เพิ่มขึ้น 74.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%

    อันดับที่ 5 เอ็มจี        1,742 คัน       เพิ่มขึ้น 11.0%  ส่วนแบ่งตลาด 6.7%

    Toyota

    3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,185 คัน ลดลง 27.4%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      16,847  คัน     ลดลง 20.7%    ส่วนแบ่งตลาด 39.9%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ          10,264 คัน      ลดลง 43.7%    ส่วนแบ่งตลาด 24.3%

    อันดับที่ 3 ฮอนด้า          4,394 คัน    เพิ่มขึ้น 73.1%  ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

    อันดับที่ 4 ฟอร์ด            2,825 คัน      ลดลง 49.0%    ส่วนแบ่งตลาด  6.7%

    อันดับที่ 5 ฮีโน่               2,116 คัน      เพิ่มขึ้น 29.3%    ส่วนแบ่งตลาด 5.0%

    ISUZU

    4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ PPV*) ปริมาณการขาย 24,023 คัน ลดลง 44.5%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      10,614 คัน    ลดลง 41.3%    ส่วนแบ่งตลาด 44.2%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ          9,090 คัน       ลดลง 45.4%    ส่วนแบ่งตลาด 37.8%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด        2,825 คัน        ลดลง 49.0%    ส่วนแบ่งตลาด 11.8%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ       1,063 คัน       ลดลง 55.0%    ส่วนแบ่งตลาด   4.4%

    อันดับที่ 5 นิสสัน            353 คัน       ลดลง 17.7%    ส่วนแบ่งตลาด 1.5 %

    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (PPV) ปริมาณการขาย 4,480 คัน ลดลง 42.8%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า      1,770 คัน     ลดลง 35.8%    ส่วนแบ่งตลาด 39.5%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ           1,320 คัน      ลดลง 52.3%    ส่วนแบ่งตลาด 29.5%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด           1,067 คัน   ลดลง 31.8%    ส่วนแบ่งตลาด 23.8%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ         239 คัน      ลดลง 61.4%    ส่วนแบ่งตลาด   5.3%

    อันดับที่ 5 นิสสัน            84 คัน       ลดลง 30.0%    ส่วนแบ่งตลาด   1.9%

    Ford

    5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,543 คัน ลดลง 44.9%

    อันดับที่ 1 โตโยต้า        8,844 คัน      ลดลง 42.3%    ส่วนแบ่งตลาด 45.3%

    อันดับที่ 2 อีซูซุ            7,770 คัน       ลดลง 44.4%    ส่วนแบ่งตลาด 39.8%

    อันดับที่ 3 ฟอร์ด          1,758 คัน       ลดลง 55.8%    ส่วนแบ่งตลาด 9.0%

    อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ          824 คัน        ลดลง 52.7%    ส่วนแบ่งตลาด  4.2%

    อันดับที่ 5 นิสสัน            269 คัน        ลดลง 12.9%    ส่วนแบ่งตลาด 1.4 %

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts