More

    7 เรื่องเด่นวงการยานยนต์ไทยแห่งปี 2022

    ตลอดปี 2022 ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายทั้งปัจจัยทั้งปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะ โควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน เศรษฐกิจโลก ฯลฯ

    Toyota

    และปัจจัยภายในทั้ง สถานการณ์เงินเฟ้อ น้ำท่วม การเกษตร การเมือง ล้วนส่งผลกระทบไม่มากถึงแม้ช่วงปลายปีไตรมาส 4 ได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มดีขึ้นก็ตาม ตลอดปีเสือหรือปี 2022 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปทางทีมงาน Car2Day ขอรวบรวม 7 ที่สุดเรื่องเด่นแห่งปี สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยว่ามีอะไรบ้าง เริ่มกันที่

    1.วิกฤต “ชิปหาย” ลากยาว

    ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาปัญหา เซมิคอนดักเตอร์ หรือเรียกว่า ชิป ขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อค่ายรถยนต์แต่ละค่ายจนต้องใช้สรรพกำลังเจรจาการสั่งซื้อเซมิคอนดักเตอร์จากซัพพลายเออร์และบริหารอย่างรัดกุม ถึงขั้นค่ายรถยนต์เปิดตัวรุ่นพิเศษจำนวนจำกัดตัดออปชันบางรายการเพื่อบรรเทาปัญหาส่งมอบรถยนต์ที่ล่าช้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างเร็วที่สุด และการปิดประเทศของจีนเนื่องจาก ล็อกดาวน์ หรือ Zero COVID ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตเซมิคอนดักเตอร์มากที่สุดแบบปิดชั่วคราวหรือปิดถาวรก็มีผลกระทบ รวมถึงการขาดแคลนแบตเตอรี่รถยนต์ของทางจีน ก็มีผลทำให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าปิดรับจองชั่วคราวเพื่อต้องทยอยส่งมอบให้เร็วที่สุดเช่นเดียวกับรถยนต์เครื่องสันดาป

    ต่อให้ค่ายรถยนต์บริหารจัดการเรื่องชิปและยอดขายรถยนต์ปีหน้าจะดีเลิศกว่าขนาดไหน ผลกระทบขาดแคลนนี้ยังลากยาวไปถึงต้นปีหน้า

    2. มาตรการส่งเสริมรถไฟฟ้าToyota

    ปีเสือนี้ทางภาครัฐต้องการอยากให้คนไทยได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่สมเหตุผลรวมถึงส่งเสริมปัจจัยหลายๆอย่างที่เกี่ยวเนื่องทั้งการผลิตรถ ผลิตชิ้นส่วน  ผลิตแบตเตอรี่ สถานีชาร์จ ให้เติบโตขึ้น ทางภาครัฐ จึงออกมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% หรือ ZEV (Zero Emission Vehicle) ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2030 โดยมีข้อสรุปดังนี้

    MINE

    1. เงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน
    2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8 % เป็น 2 % และรถกระบะเป็น 0 %
    3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40 % สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566
    4. ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์ EV จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบรถEV ในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ

    Toyotaโดยจะแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก ปี 2021-2022 อุดหนุนส่วนลดซื้อรถEV 18,000 -150,000บาท/คัน และการลดภาษีนำเข้ารถและส่วนประกอบต่างๆ ช่วงสองปี 2023-2025 ค่ายรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีการผลิตภายในประเทศโดยมีเป้าหมายการผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะ 225,000 คัน รถจักรยานยนต์ 360,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 18,000 คัน ภายในปี 2025 รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศ โดยรัฐลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถ EV และกำหนดอัตราการนำเข้ารถทั้งคันต่อการผลิตในประเทศ 1.5 คัน ของผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม EV ในไทย

    ช่วงสุดท้าย ปี 2026-2030 ขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุตามนโยบาย 30/30 ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตรถ EV ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะให้ได้อย่างน้อย 30 % ทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์ 675,000 คัน คิดเป็น 30% ของการผลิตภายในปี 2030

    Mercedes-EQ

    ปัจจุบันมีค่ายรถยนต์เข้าร่วมแล้ว 9 ราย ตั้งแต่ MG, GWM, Toyota, Green Filter ประกอบรถ VOLT ให้กับ EV Primus, Mine Mobility, BYD, NETA, Mercedes-Benz และ Honda ซึ่งกำลังจะเตรียมเซ็น MOU เร็วๆนี้ ส่วนรถจักรยานยนต์ที่เข้าร่วมโครงการมี 3 ราย ทั้ง  Deco Green, Honda, และ HSEM โดยมีค่ายรถที่ประกอบรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการนั่นก็คือ Mercedes-Benz กับ EQS 500 4MATIC AMG Premium รถไฟฟ้าหรูรุ่นแรกของไทยที่ประกอบในประเทศด้วยราคา 7,900,000 บาท และ Toyota bZ4X รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของค่ายและรถญี่ปุ่นรุ่นแรกของไทยที่เข้าร่วมโครงการนี้

    3. ปีทองของค่ารถยนต์ไฟฟ้าแดนมังกรNETA

    หลังจากที่เปิดมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยค่ายรถยนต์เนื้อหอมต่างส่งรถยนต์ไฟฟ้ามาหลากหลายรุ่นหลากหลายแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายรถจากประเทศจีน ที่นอกจากจะมี MG, GWM แล้ว มีค่ายน้องใหม่เข้ามาทั้ง VOLT, NETA,BYD เข้ามาเป็นตัวเลือกตอบโจทย์ ทั้ง VOLT City EV, NETA V, BYD ATTO 3 และส่งท้ายปีกับการเปิดตัว MG4 Electric ในราคาไม่เกินล้าน และปีหน้ามีผู้เล่นหน้าใหม่เข้าโดยเฉพาะ Aiways ที่มาทำตลาดเงียบๆเน้นสหกรณ์แท็กซี่และองค์กร รวมถึง Chery กับ Changan พร้อมจริงจังกับการทำตลาดในเมืองไทย

    4. BYD – TESLA สองบิ๊กรถไฟฟ้าบุกแดนสยาม

    BYD

    ในต่างประเทศ BYD กับ TESLA ต่างขับเคี่ยวสู้กันทุกรูปแบบในการช่วงชิงความเป็นที่สุดของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และเมืองไทยก็เป็นตลาดที่สำคัญจนสองค่ายรถไฟฟ้าเบอร์ต้นๆ ต่างลงทุนมาทำตลาดในไทยอย่างเป็นทางการเริ่มที่  BYD จับมือกับทาง Rêver Automotive ของคุณประธานวงศ์ และคุณ ประธานพร พรประภาด้วยการลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เปิดตัวบริษัทไปตั้งแต่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ปั้นให้เป็น Top 5 ในตลาดยานยนต์ไทยภายใน 5 ปี พร้อมขยายโชว์รูมและศูนย์บริการมาตรฐาน 31 แห่งในปีนี้ และ 60 แห่งในปีหน้า พร้อมผนึกพลังการบริการการขายและหลังการขายทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ผ่าน Rêver Super Application พร้อมเปิดสถานีชาร์จให้ถึง 1,000 แห่งครอบคลุมทั้งประเทศ ประเดิมตลาดด้วย BYD ATTO 3 ในราคาล้านต้นๆ เปิดตัว 10 ตุลาคม ขายจริง 1 พฤศจิกายน จนล่าสุดปิดรับจองครบ 10,305 คัน ในช่วง 1 เดือน 12 วันที่ผ่านมา โดยจะส่งมอบครบตามกำหนดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2023

    และนอกจากนี้ BYD Auto Industry จากจีน เลือกนิคมอุตสาหกรรมระยอง 36 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นโรงงานประกอบรถพวงมาลัยขวาเพื่อขายในประเทศและส่งออก ด้วยมูลค่าการลงทุน 17,891 ล้านบาท แล้วเสร็จในปี 2024

    TESLATESLA

    ทาง TESLA ก็ไม่น้อยหน้าเปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 ธันวาคม ประเดิมตลาดสองรุ่นทั้ง TESLA Model 3 และ TESLA Model Y ในราคาเริ่มต้น 1.759 และ 1.959 ล้านบาท ด้วยราคาที่สร้างความตกตะลึงกันทั่วหน้านั้นเป็นราคาจาก FTA ไทย-จีน เป็นการเปิดรับจองผ่านทางออนไลน์ ล่าสุดมียอดจองมากกว่า 5,000 คันแล้ว ทำเอาเหล่าบรรดาผู้นำเข้าอิสระต่างตั้งรับสู้ยิปตาด้วยการลดแลกแจกแถมและพร้อมส่งมอบกันเลยทีเดียว ส่วนทาง TESLA จะส่งมอบในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566

    5. NETA ได้เพื่อนใหม่ในนาทีสุดท้าย

    NETAค่ายรถไฟฟ้าน้องใหม่อย่าง NETA ประเดิมตลาดด้วย NETA V ในราคาเดิม 549,000 บาท ถึงแม้จะโดนกรมสรรพสามิต ไม่อนุญาตให้ปรับราคาขึ้น แต่ก็ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งแต่ทว่าทาง NETA เองมีปัญหากับทางพันธมิตรเดิมอย่าง อรุณพลัส จนไม่สามารถเซ็นบันทึกข้อตกลงหรือ MOU เกิดผลกระทบต่อการส่งมอบ เกิดความไม่เชื่อมั่นต่อแบรนด์ และส่งผลให้การประกอบรถในไทยเกิดความล่าช้าก่อนกำหนด จนล่าสุด 24 พฤศจิกายน NETA Auto ไทยแลนด์ จับมือ บางชันเยนเนอเรลเอเซมบลี ในเครือ พระนครยนตการ ร่วมลงนามข้อตกลงเข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ MOU กับกรมสรรพสามิต เพื่อเดินหน้าผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยจะเปิดไลน์ในไทยช่วงปี 2024 เน้นผลิตในไทยและส่งออกต่างประเทศ

    6. ATIV ฟีเวอร์Toyotaนานๆทีจะมีรถยนต์ที่คนไทยนิยมสุดได้รับการตอบรับล้นหลามจนส่งมอบไม่ทันมาหนึ่งรุ่นนั่นก็คือ Toyota Yaris ATIV ซับคอมแพ็คซีดาน หรือ B-Segment เจเนอเรชันใหม่ เปิดตัวตั้งแต่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยไทยเปิดตัวเป็นที่แรกของโลก เริ่ม 539,000-689,000 บาท พ่วงด้วยออปชันระบบความปลอดภัยที่ให้มาเกินรุ่น ขุมพลังยังคงเดิมเพียง 1.2 ลิตร แต่ยอดจองมหัศจรรย์จริงๆเริ่มที่ 10 กว่าวันทะลุ 8,000 คัน นับตั้งแต่เปิดตัว ผ่านมา 1 เดือนมากถึง 21,350 คัน และล่าสุด 3 เดือนกวาดยอดจอง 45,802 คัน ส่งมอบไปแล้ว 12,972 คัน โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3,500 คัน/เดือนและได้ปรับไลน์การผลิตเพื่อทันความต้องการของสาวกสามห่วงและสาวกน้องแบมแบม เรียกว่ามาเหนือเมฆจริงๆสำหรับ Toyota Yaris ATIV

    7. ยอดขายรถยนต์ในประเทศโตต่อเนื่อง

    ISUZUสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในประเทศดีขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม ถึงแม้เดือนพฤศจิกายน ลดลงไป 4.8 % รวมทั้งสิ้น 68,284 คัน ลดลง 4.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,263 คัน ลดลง 14.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 48,021 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 36,286 คัน ลดลง 5.9% (รวมรถยนต์ พีพีวี 7,104 คัน เพิ่มขึ้น 31.3%)

    แต่เมื่อมาดูยอดขายสะสม 11 เดือนที่ 766,589 คัน เติบโตจาก 11 เดือนของปีที่แล้วถึง 14.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 240,371 คัน เพิ่มขึ้น 9.3% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 526,218 คัน เพิ่มขึ้น 17.4% รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 411,553 คัน เพิ่มขึ้น 17.4% (รวมรถยนต์พีพีวี 58,746 คัน เพิ่มขึ้น 28.4%) เรียกว่า 11 เดือนนี้โตขึ้นยกแผง และตลอด 11 เดือนที่ผ่านมามี 2 แบรนด์รถยนต์ที่เป็นที่หนึ่งของแต่ละกลุ่มเริ่มจาก Toyota ที่กวาดในส่วนตลาดรถยนต์รวม รถยนต์นั่งและ รถยนต์พีพีวี ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถปิกอัพนั้น เป็น ISUZU เช่นเคย จับตายอดขายเดือนธันวาคมอีก 113,411 คัน ประกอบด้วยรถยนต์นั่ง 50,129 คัน และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 63,282 คัน จะสามารถทำได้ตามเป้าจนครบปี อยู่ที่ 880,000 คัน เพิ่มขึ้น 16% (รถยนต์นั่ง 290,500 คัน เพิ่มขึ้น 15% และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 589,500 คัน เพิ่มขึ้น 16%) เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาได้สำเร็จหรือไม่ต้องติดตาม

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts