ช่วงนี้มีการพูดถึง ทางด่วนไร้ไม้กั้น ช่องทาง M-Flow โดยเป็นการเก็บค่าผ่านทางจากระบบ “AI” วิ่งก่อนจ่ายทีหลัง ซึ่งเกิดผลกระทบในการเรียกเก็บค่าผ่านทางย้อนหลัง พร้อมค่าปรับสุดโหด 10 เท่า ทำให้หลายคนถึงกับโบกมือลาก่อน ไม่เอาด้วยแล้ว บ้างก็ว่าเอาเปรียบ ขูดรีดค่าปรับจนเกินไป เนื่องจากไม่ได้รับการทวงถามค่าผ่านทางจากทางระบบในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ต้องจ่ายล่าช้าและถูกปรับ อีกทั้งยังมีคนพูดถึงว่าการกระจายข่าวสารประชาสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุมแล้วจะทราบวิธีการเรียกเก็บที่ถูกต้องได้อย่างไร??
ข้อดีของ M-Flow ที่หลายคนยังรู้สึกโอเคอยู่
1.ผู้ใช้รถยนต์สามารถขับขี่ผ่านบริเวณด่านฯ ด้วยความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. โดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ
2.ช่วยระบายรถได้ 2,000-2,500 คัน/ชม./ช่องทาง เร็วขึ้นกว่าระบบเดิมที่ใช้อยู่ถึง 5 เท่า
3.สะดวกสบายในการชำระเงิน ซึ่งสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หลังการใช้บริการ หรือ ระบบ Post Paid ทั้งแบบชำระเป็นรายครั้งหรือชำระตามรอบบิล รวมไปถึงการชำระผ่านเว็บไซต์หรือโมบายแอปพลิเคชันของระบบ M-Flow ตลอดจนการชำระด้วยระบบ QR Code และการชำระผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ
4.ลดการสัมผัสเงินสด ในช่วงสถานการณ์ Covid-19
ปัญหาที่พบจากการใช้ช่องทาง M-Flow
1.ผู้ใช้ช่องทางจะต้องบันทึกการใช้ทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์ เพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้ก่อนจ่ายเงิน เป็นการสร้างความยุ่งยาก
2.กรณีรถแท็กซี่และรถเช่าจะเกิดปัญหายุ่งยากในการจ่ายเงินระหว่างผู้เช่ารถกับเจ้าของรถ กล่าวคือ เจ้าของรถเมื่อได้รับใบแจ้งหนี้จะตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีการใช้ทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์จริงหรือไม่
3.กรณีรถป้ายแดง จะมีความยุ่งยากในการเรียกเก็บค่าผ่านทาง เพราะผู้เป็นเจ้าของป้ายแดงคือผู้ขายรถ ไม่ใช่เจ้าของรถ ดังนั้น เมื่อมีการเรียกเก็บค่าผ่านทาง ใบแจ้งหนี้จะถูกส่งไปที่เจ้าของป้าย ไม่ใช่เจ้าของรถ
4.หากผู้ใช้ทางมีที่อยู่ไม่ตรงกับที่อยู่ในทะเบียนบ้าน อาจทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ก็ได้ และกว่าจะรู้ตัวอาจต้องพบค่าปรับมหาศาล
5.ประชาชนยังเข้าไม่ถึงข้อมูลการใช้งานระบบ M-Flow เท่าไร จึงทำให้ต้องเจอค่าปรับสุดโหด รวมไปถึงดารานักแสดงอย่าง หลุยส์ สก็อต ได้โพสต์อินสตาแกรมถึงการใช้งานทางด่วนผ่านช่องทาง M-Flow เอาไว้ว่า
กรมทางหลวงอนุโลมให้วิ่งผ่านไปก่อนได้ โดยค่าผ่านทางปกติ 30 บาท เพียงแต่ต้องชำระเงิน ภายใน 2 วัน หากเกินกำหนดจะต้องถูกปรับ 10 เท่า หรือคิดเป็นขั้นต่ำ 330 บาท
หากไม่ชำระภายใน 12 วัน จะโดน ค่าปรับ 10 เท่า + ค่าปรับ 200 บาท และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท เช่น ค่าผ่านทางของรถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท + ค่าปรับ 10 เท่า (300)+ ค่าปรับ 200 บาท = 530 บาทและโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท รวมเป็น 5,530 บาท
ดราม่านี้จะจบอย่างไร ทางกระทรวงคมนาคมจะแก้ปัญหาได้อย่างไรต้องรอติดตามกันอีกยาวเลยค่ะ เพราะหลายคนยังคงรับไม่ได้กับค่าปรับสุดโหดอันนี้จริงๆ ไหนจะต้องรับมือกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปแตะ 30 กว่าบาทแล้วอีก และไม่มีทีท่าว่าจะลงมาขึ้นเลข 2 ภายในเร็ว ๆ นี้ด้วย บวกกับสถานการณ์โควิด-19 อีก เป็นลมกันถ้วนหน้าค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง