เริ่มปี 2565 มานี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศในอาเซียนถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการจับจ่ายที่เหมาะสม แต่ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำเอาประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศก็ไม่ได้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเหมือนกัน บวกกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ทำเอาหลายประเทศกุมขมับกับการพุ่งขึ้นสูงของราคาน้ำมันอย่างรวดเร็ว
วันนี้ Car2day ได้หาข้อมูลอัตราค่าแรงขั้นต่ำของปี 2564-2565 ในประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อมาเปรียบเทียบว่าค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละประเทศนั้น สามารถเติมน้ำมันเบนซินในราคาปัจจุบัน ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565 ด้วยการทำงาน 1 วันและค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละประเทศนั้น มันจะได้สักกี่ลิตร!!
● พม่า – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันในเมียนมาจะมีการปรับทุก 2 ปี และการหารือครั้งล่าสุด ตามกำหนดคือจะต้องเริ่มเมื่อกลางปี 2563-2565 แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 (รวมถึงเหตุการณ์ทางการเมือง) ทำให้การหารือดังกล่าวต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยหากยึดตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันตามเดิม จะอยู่ที่ 4,800 จ๊าด (US$3.07) สำหรับการทำงานเป็นเวลา 8 ชั่วโมง และตามแผนการเดิมจะมีการเสนอให้ปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 7,200 จ๊าด (US$4.62)
● ลาว – ยังไม่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2561 โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับปี 2564-2565 ยังอยู่ที่ 1.2 ล้านกีบ (US$116)
● เวียดนาม – เราจะเห็นตามข่าวกันเป็นประจำว่าประเทศเวียดนามนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วมาก โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในปี 2564 ยังคงเป็นอัตราเดิมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และจะมีการปรับอีกครั้งวันที่ 1 กรกฎาคม 2564* ทั้งนี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามยังแตกต่างกันไปตาม 4 ภูมิภาคของประเทศ โดยที่ภูมิภาคที่ 1 (พื้นที่เมืองของฮานอยและกรุงโฮจิมินห์) เป็นภูมิภาคที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนมากที่สุด ที่ 4,200,000 ดง (US$181) ขณะที่ภูมิภาคที่ 4 เป็นภูมิภาคที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุด ที่ 3,070,000 ดง (US$132)
● กัมพูชา – กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมของกัมพูชา (Ministry of Labor and Vocational Training – MLVT) ออกประกาศกระทรวงฉบับที่ 33 (Prakas No. 33) กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 สำหรับแรงงานประจำ (regular workers) อยู่ที่ US$192 เพิ่มจากปี 2563 ที่ US$2 ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับแรงงานทดลองงาน (probationary workers) อยู่ที่ US$187
● ประเทศไทย – ค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในพื้นที่เขตเมืองต่อวันอยู่ระหว่าง 316 บาท (US$10.04) ถึง 336 บาท (US$10.77) แตกต่างไปตามแต่พื้นที่
● มาเลเซีย – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในเมืองหลัก 56 เมืองอยู่ที่ 1,200 ริงกิต (US$291) ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในเมืองชนบทและพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เมือง อยู่ที่ 1,100 ริงกิต (US$266) โดยคาดว่าภายในปี 2564 นี้จะมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด
● อินโดนีเซีย – โดยสำหรับค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับเมืองหลวงจาร์กาตานั้น อยู่ที่ 4,416,186 รูเปียห์ (US$306)
● ฟิลิปปินส์ – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันประจำปี 2564 ของฟิลิปปินส์แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค โดยอยู่ระหว่าง 316 เปโซ (US$6.57) ถึง 537 เปโซ (US$11.17)
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ผ่านการหารือและกำหนดไว้อย่างเหมาะสมจะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและสิทธิแรงงาน โดยที่หากกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่ยากจนที่สุด มีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการมีนโยบายทางการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม ก็จะช่วยให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมขึ้น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศตาม แต่หากค่าแรงขั้นต่ำไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจแล้ว ย่อมส่งผลต่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน