จากสถานการณ์ COVID-19 ที่กลับมาระบาดหนักอีกครั้งในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สร้างวิกฤตสุขภาพทั่วโลก ส่งผลให้การใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งรวมถึงขยะจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วทั้งจากบ้านเรือน และจากสถานพยาบาล สถานที่สำหรับผู้กักตัว และคนทั่วไปที่ใช้ป้องกัน มีมากถึง 25 ตัน/วัน จนหลายคนถามว่าจะกำจัดอย่างไรให้หมดไป เพราะหากปล่อยไว้ การทิ้งขยะหน้ากากอนามัยอย่างไม่ถูกวิธี จะปะปนไปกับขยะในครัวเรือน ทำให้เกิดขยะติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นทวีคูณไม่จบไม่สิ้น เพราะยังมีผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอีกเป็นจำนวนมาก และการจะจำกัดให้ผู้คนแยกทิ้งขยะอนามัยนั้นคงเป็นเรื่องยาก แต่วันนั้น Car2Day จะมาบอกข่าวดีที่สามารถนำขยะติดเชื้อเหล่านี้มารีไซเคิลให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยมาบอกต่อค่ะ เพื่อขอความร่วมมือร่วมแรงจากทุกภาคส่วนให้ช่วยกันส่งเสริมและรณรงค์ในการกำจัดขยะจากหน้ากากอนมัยให้เกิดประโยชน์ในต่อไป
Dr.Mohammad Saberian นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RMIT ประเทศออสเตรเลีย ได้หาทางออกให้กับเรื่องนี้ โดยนำขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งที่ผลิตจากผ้าชนิดไม่ถักทอจากเส้นใยพอลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) นำมารีไซเคิลเป็นวัสดุทำพื้นถนนหรือทางเท้า ด้วยการนำมาผสมลงในคอนกรีตรีไซเคิล จากการทดลองนี้พบว่า ถนนมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งการทำถนน 2 เลน ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะต้องใช้ขยะหน้ากากอนามัยถึง 3 ล้านชิ้น นับว่าเป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาขยะติดเชื้อล้นเมืองได้เป็นอย่างดี
แม้ในการทดลองของกระบวนการนี้จะใช้หน้ากากอนามัยสะอาด เพื่อความปลอดภัยตามข้อกำหนดของการทดสอบในห้องทดลอง แต่เมื่อนำมาใช้จริง ขยะหน้ากากอนามัยที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจะต้องฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่ 75 องศาเซลเซียสก่อนจะนำมารีไซเคิล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ซึ่งจากงานวิจัยได้มีการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของถนนที่ใช้หน้ากากใหม่กับหน้ากากที่ใช้แล้วด้วยเช่นกัน และพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีไม่แตกต่างกันเลย
เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงลบที่เกิดจากการระบาดใหญ่ จำเป็นต้องมีความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพอย่างเร่งด่วน ชุมชนวิทยาศาสตร์ธรณีเทคนิคสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ทักษะทางวิชาชีพที่สั่งสมมายาวนานเพื่อสร้างคุณูปการสำคัญในการต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 การใช้วัสดุเหลือใช้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อในการใช้งานทางธรณีเทคนิคได้รับการแนะนำว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียที่เกิดจากการระบาดใหญ่
อ้างอิงจาก : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/
The COVID-19 pandemic has greatly increased the use of surgical masks. Infectious waste from COVID-19 and used masks from households, hospitals, and the general public totals 21.63 tons each day, according to Environment Department information on 10 May.
So how do we solve this? Incorrect disposal means masks are mixed in with household waste, increasing the huge amount of infectious waste. We need to separate waste properly or find a new approach.
Dr. Mohammad Saberian, a researcher from RMIT in Australia, found a solution by recycling single-use surgical masks from polypropylene (PP) and mixing them into recycled concrete. He found that streets are more durable and flexible when surgical masks are used. Building a kilometer of 2-lane road would use 3 million surgical masks.
This research used clean surgical masks for safety, under laboratory policy. In practice, masks would need to be disinfected with 75°C heat before recycling. The study also compared used and unused surgical masks and found the same efficiency.
Story by: Supunnapang Raksawong, Materials Researcher