เข้าสู่ไตรมาสที่สองอย่างเป็นทางการประเดิมด้วยเดือนที่ร้อนที่สุดอย่างเดือนเมษายนแต่ปรากฏว่ายอดขายรถยนต์นั้นกลับไม่ร้อนแรงตามอากาศ
โดยรายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2566 ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ด้วยยอดขาย 59,530 คัน ลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 20,203 คัน ลดลง 1.4% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 39,327 คัน ลดลง 8.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้จำนวน 26,818 คัน ลดลงถึง 20.3% โดยมีประเด็นดังนี้
เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ด้วยยอดขาย 59,530 คัน ลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่รถยนต์นั่งชะลอตัวเล็กน้อยที่ 1.4% ด้วยยอดขาย 20,203 คัน ส่วนทางด้านรถเพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 8.4% ด้วยยอดขาย 39,327 คัน ประเด็นหลักที่ทำให้ตลาดรถยนต์ในเดือนนี้ชะลอตัวอยู่ที่ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งลดลงถึง 20.3%
ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้อของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับการเติบโตของเศรษฐกิจหลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด ที่มียอดสั่งซื้อรถยนต์ทุกประเภทเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมาส่วนตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงของการเลือกตั้ง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการชะลอการตัดสินใจซื้อ ซึ่งภาคประชาชน และภาคเอกชนต่างเฝ้ารอความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไป
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2566
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 59,530 คัน ลดลง 6.1 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,565 คัน ลดลง 9.8 % ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,336 คัน ลดลง 19.6 % ส่วนแบ่งตลาด 22.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,409 คัน เพิ่มขึ้น 25.5 % ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 2,871 คัน เพิ่มขึ้น 13.2% ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 2,858 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,203 คัน ลดลง 1.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,284 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,783 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,503 คัน ลดลง 1.7 % ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
อันดับที่ 4 เอ็มจี 1,213 คัน เพิ่มขึ้น 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
อันดับที่ 5 ซูซูกิ 949 คัน ลดลง 53.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,327 คัน ลดลง 8.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,336 คัน ลดลง 19.6.% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,281 คัน ลดลง 16.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,869 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
อันดับที่ 4 ฮอนด้า 2,626 คัน เพิ่มขึ้น 130.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
อันดับที่ 5 บีวายดี 1,743 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick upและรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 26,818 คัน ลดลง 20.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,880 คัน ลดลง 23.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,249 คัน ลดลง 18.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,869 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,342 คัน ลดลง 42.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
อันดับที่ 5 นิสสัน 300 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 1.1%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV 4,944 คัน เพิ่มขึ้น 8.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 1,900 คัน ลดลง 13.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 1,676 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 837 คัน เพิ่มขึ้น 163.2% ส่วนแบ่งตลาด 16.9%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 438 คัน ลดลง 31.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
อันดับที่ 5 นิสสัน 93 คัน ลดลง 6.1 % ส่วนแบ่งตลาด 1.9 %
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 21,874 คัน ลดลง 24.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,204 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 46.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,349 คัน ลดลง 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,032 คัน ลดลง 8.1 % ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 904 คัน ลดลง 46.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.1%
อันดับที่ 5 นิสสัน 207 คัน ลดลง 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 0.9%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2566
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 276,603 คัน ลดลง 6.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 94,686 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 60,495 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 32,370 คัน เพิ่มขึ้น 5.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 13,918 คัน เพิ่มขึ้น 40.6% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 13,820 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 97,769 คัน เพิ่มขึ้น 1.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 35,364 คัน เพิ่มขึ้น 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 21,569 คัน ลดลง 9.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 6,721 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
อันดับที่ 4 เอ็มจี 5,189 คัน ลดลง 6.3% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
อันดับที่ 5 ซูซูกิ 3,594 คัน ลดลง 49.1% ส่วนแบ่งตลาด 3.7%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 178,834 คัน ลดลง 9.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 60,495 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 59,322 คัน ลดลง 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 13,909 คัน เพิ่มขึ้น 40.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
อันดับที่ 4 ฮอนด้า 10,801 คัน เพิ่มขึ้น 57.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.07%
อันดับที่ 5 บีวายดี 7,285 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.1%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 128,290 คัน ลดลง 18.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 55,402 คัน ลดลง 19.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 49,536 คัน ลดลง 21.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 13,909 คัน เพิ่มขึ้น 40.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 7,059 คัน ลดลง 34.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
อันดับที่ 5 นิสสัน 1,636 คัน ลดลง 44.8% ส่วนแบ่งตลาด 1.3%
ตลาดรถกระบะดัดแปลง PPV 23,171 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,633 คัน ลดลง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,870 คัน เพิ่มขึ้น 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,399 คัน เพิ่มขึ้น 210.9% ส่วนแบ่งตลาด 19.0%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 1,830 คัน ลดลง 34.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
อันดับที่ 5 นิสสัน 439 คัน เพิ่มขึ้น 4.3 % ส่วนแบ่งตลาด 1.9 %
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 105,119 คัน ลดลง 22.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 47,532 คัน ลดลง 23.8% ส่วนแบ่งตลาด 45.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 40,903 คัน ลดลง 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 9,510 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.0%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 5,229 คัน ลดลง 35.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.0%
อันดับที่ 5 นิสสัน 1,197 คัน ลดลง 52.9% ส่วนแบ่งตลาด 1.1%