More

    ช็อก! Subaru หยุดผลิตไทย! เลิกจ้างคนงาน! เตรียมนำเข้าขายอย่างเดียว

    หลังจากพึ่งประกาศหั่นราคาจำหน่ายรถยนต์ Subaru ทั้ง Subaru Forester และ Subaru XV สูงสุดถึง 300,000 บาท เพื่อให้เป็นเจ้าของง่ายขึ้นได้ไม่นาน

    Subaruล่าสุดมีข่าวออกมาว่า Subaru เตรียมยุติการประกอบรถยนต์ในไทยพร้อมเลิกจ้างพนักงานภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 โดยในส่วนของการเลิกจ้างพนักงงานนั้นจะเป็นในส่วนของพนักงานผลิตทั้งหมดจะมีการชดเชยให้ตามความเหมาะสมและหลังจากหยุดการประกอบแล้วยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจนว่ามีการขายให้ค่ายรถยนต์อื่นหรือประกอบยี่ห้ออื่นๆในเครือตันจงในอนาคต

    สำหรับโรงงานในไทยเป็นความร่วมมือของกลุ่มตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) และซูบารุ คอร์ปอเรชั่น (SBR) ประเทศญี่ปุ่น ในชื่อบริษัท ตันจง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (TCSAT) ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เปิดโรงงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 บนพื้นที่รวมกว่า 100,000 ตารางเมตร มีพนักงานกว่า 400 คน ทั้งชาวไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

    มีการถือหุ้นกันระหว่างกลุ่ม TCIL ร้อยละ 74.9 ผ่านบริษัทฯในเครือของตนอีกหนึ่งบริษัทฯ คือ บริษัท ทีซี แมนูแฟคแจอริ่ง แอนด์ แอสเซมบลี (ประเทศไทย) จำกัด  (TCMA) ในขณะที่ซูบารุ คอร์ปอเรชั่น (SBR) ถือหุ้นที่เหลืออีก 25.1% ประกอบ Subaru Forester เจเนอเรชันที่ 5 ในรหัส SK ขุมพลังสูบนอน Boxer 2.0 ลิตร 156 แรงม้า พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบสมมาตร “Symmetrical All-Wheel Drive” พร้อม X-MODE จะช่วยให้ผู้ขับฝ่าเส้นทางขรุขระและท้าทาย

    Subaruมีกำลังการผลิตช่วงแรกมากกว่า 6,000 คันและกำลังการผลิตในปีถัดมาสูงสุด 100,000 คัน นอกจากผลิตในไทยแล้วยังส่งออกไปยังประเทศอื่นๆในอาเซียนทั้ง มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชาและเป็นโรงงานในไทยเป็นโรงงานนอกประเทศญี่ปุ่นแห่งที่ 3 ต่อจากโรงงานที่รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อ Subaru of Indiana Automotive กับโรงานในเครือตันจงภายใต้การดูแลของบริษัท Tan Chong Motor Holdings Berhad ผ่านบริษัทย่อยคือ Tan Chong Motor Assemblies Sdn. Bhd.

    และหลังจากที่โรงานในเครือตันจงทั้งมาเลเซียและไทยยกเลิกการประกอบรถยนต์ Subaru รวมถึงเหตุการณ์ยอดขายในไทยลดลงตั้งแต่ปี 2563 การเข้ามาของรถยนต์อีวีจากประเทศจีนที่แข่งขันอย่างรุนแรงผนวกกับค่ายรถเพื่อนร่วมชาติของ Subaru ทำออปชันล้นคันในราคาที่สู้ได้ ทำให้เปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายด้วยการนำเข้าสำเร็จรูปหรือ CBU จากประเทศญี่ปุ่นแทนและยังคงดำเนินธุรกิจในไทยต่อไปจับตาการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของค่ายดาวลูกไก่จะเป็นอย่างไรนั้นต้องติดตาม

     

    Subaru

    ล่าสุดทาง Subaru ได้ส่งหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโดยยังไม่ทิ้งและบริการลูกค้าทุกท่านอย่างเต็มที่ดังนี้ ตัน จง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) และซูบารุ คอร์ปเปอรเรชั่น ประกาศการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งขับเคลื่อนกิจการร่วมค้า ตัน จง ซูบารุ ออโตโมทีฟ ประเทศไทย (TCSAT) ไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความจำเป็นของแนวทางที่มองไปข้างหน้าและรองรับอนาคตที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดเกิดใหม่ ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป รถที่จำหน่ายในตลาดประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชาจะเปลี่ยนไปจำหน่ายรถนำเข้า หรือ Complete Build Up (“CBU”) จากประเทศญี่ปุ่น อันจะทำให้สามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเช่นประเทศไทยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังเสริมการสร้างแบรนด์ผ่านรถยนต์ซูบารุรุ่นใหม่ๆ ในตลาดกลุ่มพรีเมียมที่เน้นเทคโนโลยีเป็นหลัก

    กิจการร่วมลงทุนจะยังคงความแข็งแกร่งเพราะตัน จง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) และซูบารุ คอร์ปเปอรเรชั่น จะได้ความคล่องตัวและรุดหน้าต่อไปบนเส้นทางธุรกิจที่มีศักยภาพทั้งในประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชา  อีกทั้งการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์นี้จะทำให้แบรนด์ซูบารุประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในตลาดที่มีพลวัตเหล่านี้ นับเป็นก้าวย่างใหม่ของ ตัน จง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) ที่ร่วมกับซูบารุ คอร์ปเปอเรชั่น ในการส่งมอบคุณค่าที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้าชาวไทย

    Suabru

    สำหรับตลาดประเทศไทย แบรนด์ซูบารุนับว่ามีชื่อเสียงในด้านเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์และคุณภาพการขับขี่ในอีกระดับ คุณค่านี้ของแบรนด์จะยังคงดึงดูดแฟนซูบารุชาวไทยต่อไปด้วยการเปิดตัวรถซูบารุรุ่นใหม่ๆ ในตลาดกลุ่มพรีเมี่ยม ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) ในฐานะผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ซูบารุแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นและยืนยันในการดูแลเจ้าของรถซูบารุทุกคนในประเทศไทยผ่านบริการไว้วางใจได้ของตัวแทนจำหน่ายซูบารุในประเทศไทย ไม่ว่าการดูแลลูกค้าด้านบริการหลังการขาย ความพร้อมของอะไหล่ และมาตรฐานการรับประกันตัวรถ จะยังเป็นคุณภาพเดียวกันกับปัจจุบันแม้จะเปลี่ยนไปจำหน่ายรถรุ่นใหม่ๆ ที่นำเข้าโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นก็ตาม

     

    ที่มา เดลินิวส์

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts