More

    All New & Minor Change มีข้อแตกต่างกันอย่างไร

    All New & Minor Change หลายคนที่เคยซื้อรถไปแล้ว กับที่กำลังอยากจะซื้อรถใหม่ ยังคงสับสนกับการเรียกโมเดลรถของแต่ละรุ่น แต่ละปีอยู่ ซึ่งก็มีมาให้เรางงกันมากขึ้น

    All New & Minor Change

    สำหรับวันนี้ Car2day เราจะมาไขข้อข้องใจกันก่อน ว่าศัพท์ที่เค้าเรียกโมเดลรถในแต่ละรุ่นในยุคนี้นั้น มีข้อแตกต่างและความหมายว่าอย่างไร 

    All New & Minor Change

     การใช้คำว่า All New มาเป็นจุดขายในการเปิดตัวและการโฆษณารถแต่ละครั้งนั้น มีความหมายว่า รถรุ่นนั้นจะต้องเปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งคัน โดยเฉพาะการออกแบบตัวถังใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิม ถึงแม้ว่าจะใช้ชื่อรุ่นเดิม  และในส่วนของภายในคอนโซลด้านใน หรือที่บางคนอาจจะเรียกการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า Model Change ซึ่งตามปกติแล้วรถแต่ละรุ่นจะเปลี่ยนโฉมหรือ Model Change กันทุก 7-10 ปี ตัวอย่าง เช่น รถยนต์ Honda Civic โมเดลปัจจุบัน ที่ขายอยู่ในโชว์รูมบ้านเรา ถือเป็น Civic เจอเนอเรชั่นที่ 11 นับตั้งแต่ค่ายรถ Honda ผลิตรถยนต์รุ่นนี้ออกมา ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น All New ในปัจจุบันแล้ว

    ในรุ่นที่ใช้คำว่า Minor Change คือการปรับโฉมไม่ใช่เปลี่ยนโฉม ในวงการรถยนต์บ้านเราน่าจะคุ้นหูกับคำนี้ซึ่งรถที่มีการใช้คำในรุ่น คือรถที่นำเอาโมเดลเดิมของรุ่นนั้นมา ปรับเปลี่ยนรายละเอียดอื่นๆ ยกเว้นรูปแบบตัวถังที่อาจจะยังคงรูปทรงเดิม แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือส่วนของกระจังหน้า ไฟหน้า และไฟท้าย รวมไปถึงเครื่องยนต์และเกียร์ ซึ่งบางสำนักในต่างประเทศอาจจะใช้คำว่า Facelift แทนที่ในการปรับโฉมนั้น ซึ่งความหมายเหมือนกัน

    และนี่คือความหมายที่แตกต่างกันสำหรับรถรุ่นใหม่ที่ตลาดรถยนต์ในบ้านเราใช้เรียกกันของแต่ละรูปแบบ ที่ผู้ซื้อควรที่จะต้องรู้เท่าทันค่ายรถ รวมถึงคำโฆษณา เพราะบางที รถที่โฆษณาว่า All New บางรุ่น อาจไม่ All New เสมอไป เราจึงต้องอาศัยความรู้ในส่วนของการเป็นแฟนพันธุ์แท้ในค่ายนั้นๆ เพื่อที่จะได้มาประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อว่าคุ้มค่าเงินที่เราจะต้องเสียไปหรือไม่


    บทความที่เกี่ยวข้อง

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts