ระบบเตือนหลับใน เตือนจนหัวจะปวด ปัญหาเกิดขึ้นจริงกับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจีน เรื่องจริงที่กลายเป็นไวรัลในจีน เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2025 Mr. Li ผู้ใช้รถ Xiaomi SU7 Max จากมณฑลเจ้อเจียง อัปโหลดคลิปโชว์การขับขี่ปกติ แต่ระบบ DMS กลับเตือนว่า:
“Please focus on driving, pay attention to safety” ซ้ำกว่า 20 ครั้ง ทั้งที่เขาลืมตาขับปกติ
คลิปไวรัลนี้สร้างกระแสทันทีบน Weibo โดยผู้ใช้รถแบรนด์จีนหลายคนยืนยันว่ามีปัญหาคล้ายกันกับ XPeng และ NIO
เมื่อไม่นานมานี้ มีเรื่องราวไวรัลในจีนจากผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อดัง เช่น XPeng และ NIO ที่ต้องออกมาเล่าประสบการณ์ตรงในโซเชียลมีเดีย หลังจากถูกระบบแจ้งเตือนในรถว่า “คุณกำลังหลับใน” ทั้งที่ความจริงคือ… “ไม่ได้หลับเลย แค่ตาตี่!”
ระบบนี้เรียกว่า Driver Monitoring System (DMS) หรือระบบตรวจจับความง่วง หรือที่เรียกว่า ระบบเตือนหลับใน ของผู้ขับ โดยจะคอยสังเกตพฤติกรรมใบหน้า ดวงตา และศีรษะ เพื่อแจ้งเตือนหากพบความเสี่ยงว่าคนขับอาจเผลอหลับหรือมีการตอบสนองช้าเกินไป
“ไม่ได้หลับ! ผมแค่ตาตี่!”
ผู้ใช้ Weibo รายหนึ่ง ซึ่งใช้รถ XPeng ออกมาเล่าว่า
“ผมโดนระบบเตือนตลอดทางเลยครับ ทั้งที่ยังตื่นเต็มตา แต่เหมือนกล้องเข้าใจว่าผมหลับ เพราะตาผมเล็ก มันมองไม่ออกว่าผมยังลืมตาอยู่”
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีผู้ใช้รายอื่นระบุว่า ระบบของ XPeng หักคะแนน Smart Driving Points ซึ่งเป็นคะแนนสำหรับการขับขี่ปลอดภัยของผู้ใช้งานอีกด้วย
เมื่อ AI ยังไม่เข้าใจ “โครงหน้าเอเชีย”
ปัญหานี้สะท้อนถึง “ช่องโหว่ของเทคโนโลยี” โดยเฉพาะ AI ที่ใช้ฐานข้อมูลฝึกจากใบหน้าสากล ซึ่งอาจจะยังมีอคติ (bias) กับลักษณะใบหน้าของคนเชื้อสายเอเชีย โดยเฉพาะลักษณะ “ตาตี่” หรือ “หนังตาเยอะ” ทำให้กล้องอินฟราเรดหรือกล้องจับความเคลื่อนไหวของตา ไม่สามารถประเมินได้อย่างแม่นยำ
ค่ายรถไฟฟ้าเร่งแก้ไขซอฟต์แวร์
ทาง Xioami เอง ได้มีการแจ้งว่าสามารถปิดการใช้งานระบบดั่งกล่าได้ ในส่วนของ XPeng ออกมายอมรับผ่านสื่อในประเทศว่า ได้รับทราบปัญหา และอยู่ระหว่างปรับปรุงซอฟต์แวร์ของระบบ DMS ให้มีความแม่นยำมากขึ้นกับผู้ใช้งานที่มี “ตาเล็ก” หรือ “โครงหน้าแบบเอเชียตะวันออก” ส่วนทาง NIO ก็ระบุว่ากำลังตรวจสอบข้อมูลจากผู้ใช้กลุ่มเดียวกันและจะมีการอัปเดตในเร็วๆ นี้
“เราให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้ และจะอัปเดตให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกประเภท”
– โฆษก XPeng (อ้างอิงจากสื่อจีน)
โซเชียลมีเดียจีนแซวกันใหญ่
หลังเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น หลายคนใน Weibo และ Xiaohongshu พากันแซวระบบว่า:
-
“ถ้าแบบนี้ คนจีนทั้งประเทศก็ต้องปิดระบบหมดสิ”
-
“อยากใช้ระบบตรวจจับง่วง แต่ต้องแต่งหน้าทาตาให้กล้องเข้าใจ”
-
“หรือเราต้องไปทำตาสองชั้นก่อนถึงจะใช้ระบบนี้ได้”
บทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์นี้
-
AI ยังมี bias หากใช้ชุดข้อมูลฝึกที่ไม่ครอบคลุมประชากรโลก
-
ผู้ผลิตรถต้องมีทางเลือกให้ผู้ใช้ เช่น ปรับ sensitivity, ตั้งค่ารูปแบบการตรวจจับให้เหมาะกับผู้ขับ
-
ระบบอัตโนมัติไม่ควร overreact เพราะอาจทำให้คนขับรำคาญและเลือก “ปิดระบบ” ซึ่งเสี่ยงกว่า