More

    อัปเดตกฎหมาย ปฏิเสธไม่เป่าแอลกอฮอล์ อาจเจอโทษหนัก!!

    หากเกิดอุบัติเหตุขับรถแล้วชน ปฏิเสธไม่เป่าแอลกอฮอล์ก็ได้ด้วยหรือ? กลายเป็นคำถามที่หลายๆ คนสงสัยกันมาตลอด ว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะเนื่องจากข่าวในบ้านเราหลายๆ ครั้งมักมีกรณีที่ผู้ขับรถหรู มีราคาสูงแสดงเจตจำนงไม่ประสงค์จะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง  กลายเป็นคำถามของสังคมว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ วันนี้เราจะพามาหาความรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกรณีนี้กันครับ

    เมาไม่ขับ
    ตามหลักว่าด้วยกฎหมายแล้ว ได้ระบุชีชัดไว้ว่า หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ ให้ทางเจ้าหน้าที่จะสันนิษฐานว่าเมาแล้วขับก่อนเลย (มาตรา 43 วรรคสี่) และสามารถดำเนินคดีฐานเมาแล้วขับได้เลย ตามพรบ.จราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2557 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.จราจรทางบก 2522 โดยมีการแก้ไข 2 ประเด็นคือ

    • แก้ไขเพิ่มเติมมาตร 142 เกี่ยวกับกำหนดข้อสันนิษฐานในกรณีผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบว่าหย่อนความสามารถในการขับขี่โดยไม่มีเหตุอันควร ซึ่ง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมใหม่จะให้อำนาจพนักงานจราจรหรือเจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ เมื่อเห็นว่ารถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้
    • และในกรณีที่มีผู้ขับขี่มีพฤติกรรมอันควรเชื่อว่าเมาสุรา หรือขับรถในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่

    เมาไม่ขับ

    กฎหมายใหม่ระบุอำนาจเจ้าพนักงานจราจรว่า สามารถสั่งให้ผู้ขับขี่เข้าช่องทางที่มีกรวยวางตั้งไว้ ให้ไขกระจกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ยื่นอุปกรณ์เข้าไปตรวจวัดแอลกอฮอล์ในรถได้ รวมทั้งสั่งให้ลงจากรถเพื่อตรวจดูว่าร่างกายสามารถรักษาสมดุลของการเดินได้หรือไม่ หากผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าหน้าที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นเมาสุรา เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินคดีฐานขับรถขณะเมาสุราได้

    เมาไม่ขับ

    สำหรับบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนตามกฎหมายใหม่

    • กรณีผู้ขับขี่ปฎิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานในการทดสอบ เดิมระวางโทษปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท
    • กรณียินยอมให้ทดสอบแต่พบว่าเมาสุราขณะขับรถ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลพักใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาติขับขี่
        • แต่กฎหมายใหม่ได้ปรับเพิ่มความเข้มงวดในการเอาผิดทางกฎหมาย โดยกรณีไม่ยอมให้ทดสอบให้สันนิษฐานว่าเมาไว้ก่อน มีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ถูกกล่าวหาไปสืบพยานหักล้างในศาลได้
    • ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้ง 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
    • ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 – 120,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
    • ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    เมาไม่ขับ

    รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าไม่อยากเจอค่าปรับสุดโหด หรือหนักสุดจำคุกเป็นปี ต้องอย่าเมาแล้วขับนะครับ เพราะทั้งเสียเวลา เสียงาน เสียหายไปจนถึงชีวิตผู้อื่นได้ หากจำเป็นต้องออกไปดื่มสุรา ทางที่ดีควรจะเรียกใช้บริการรถสาธารณะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้ร่วมทางจะดีที่สุด


    บทความอื่น ๆ

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts