More

    ราคาลิเทียมแพงขึ้น 6 เท่า เหตุตลาดรถ EV โตเกินคาด!! คาดราคารถยนต์ไฟฟ้าขึ้นตาม

    ตลอดระยะเวลาที่ทั่วโลกมีการผลักดันให้ผู้คนหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV บวกกับสถานการ์สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นโดยอัตราเฉลี่ยเติบโตเกิดคาด ส่งผลให้ลิเทียมแร่ธาตุหลักในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ขาดแคลนและในปัจจุบันนี้มีราคาพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 6 เท่าตัว!!

    โดยบริษัทอังกฤษ (Benchmark Market Intelligence) ที่ปรึกษาด้านข้อมูลของลิเทียมสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ เผยว่า มิถุนายนปีนี้ราคาลิเทียมขึ้นมาอยู่ที่ 62,000 ดอลลาร์ (ราว 2 ล้านบาท) ต่อตันซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ทำให้มีการกดดันต้นทุนของผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตาม โดยทางด้าน EA คาดการณ์ว่าจะทำให้ต้นทุนราคาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต่อคันจะพุ่งขึ้นอีก 5-6 หมื่นบาท

    ต้นทุนแร่ลิเทียมที่เพิ่มขึ้นมากถึง 6 เท่านี้ ส่งผลกระทบต่อทั้งด้านอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนของการผลิตแบตเตอรี่ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) เพิ่มขึ้น และไม่ใช่เพียงแค่ลิเทียมเท่านั้น แต่วัตถุดิบอื่นๆ ก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน

    “ส่วนของ EA ต้นทุนเราเพิ่มขึ้นราว 20% จาก 135-140 ดอลลาร์ต่อ kWh เป็น 170 ดอลลาร์ต่อ kWh คิดว่าทั้งอุตสาหกรรมน่าจะเพิ่มขึ้นในระดับใกล้เคียงกัน”

    ซึ่งแน่นอนว่าหากต้นทุนการผลิตในทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้นอย่างนี้ ราคาจำหน่ายที่จะส่งผลกระทบกับราคารถยนต์ไฟฟ้าก็จะมีมูลค่าสูงขึ้นอีกเช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถยนต์ว่าจะผลักต้นทุนมาที่ผู้บริโภคหรือไม่ แต่โดยปกติแล้วรถยนต์ที่ประกาศราคาขายมาแล้วมักจะไม่ได้ปรับราคา และผู้ผลิตจะเป็นผู้แบกต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยประสงค์ผลกำไรในส่วนอื่นแตกต่างกันออกไป

    ด้วยเหตุที่มีผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้า หรือสมาร์ตโฟนในปัจจุบันมีการใช้งานสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาต่อก็คืออุปสงค์และอุปทานของแร่ลิเทียม ซึ่งเริ่มจะเห็นธุรกิจเหมืองลิเทียมเริ่มเปิดมากขึ้นหลังจากที่ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายเริ่มหันมารุกยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มตัว ในช่วงแรกอาจจะเห็นอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าและผลักให้ราคาขึ้นแรง แต่หลังจากนั้นราคาจะเริ่มปรับตัวลงมา แต่คงจะไม่ลงไปถึงระดับต่ำเหมือนตอนเริ่มต้น

    สิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดมากที่สุด ก็คือ ประเด็นระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นว่าการใช้รถยนต์ดั้งเดิมก็มีความเสี่ยงในเรื่องของพลังงานน้ำมันที่มีการผันผวนสูง ขณะที่เรื่องของสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้อุตสาหกรรมเติบโตต่อ”

    ซึ่งหลายสำนักก็เริ่มมีการวิจัยถึงพลังงานที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของ EV กับยานยนต์ดั้งเดิม โดยมั่นใจว่าการพัฒนา EV ยังมีช่องว่างให้พัฒนาต่อได้อีกมาก โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ ซึ่งภาครัฐทั่วโลกให้การสนับสนุนในส่วนนี้เป็นอย่างมากและจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องแน่นอน โดยมีการผลักดันนโยบายเริ่มต้น อย่างเรื่องของภาษี คือ การเก็บภาษีในส่วนของรถยนต์ดั้งเดิมที่อาจจะสูงขึ้น โดยอิงจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในหลายประเทศ

    อย่างไรก็ดี กรณีของผู้ผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่าง EA คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะลดลงจาก 20% มาเหลือประมาณ 17% เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

    ส่วนในภาพรวมของอุตสาหกรรมอีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตขึ้นอีก 20-30% ต่อปี จากฐานที่ยังต่ำและการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงภาวะที่น้ำมันแพงเช่นนี้อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้เติบโตได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ “เทียบจากเทรนด์ของโลก รถ EV จะมีอัตราส่วนการใช้งานอยู่ราวๆ 6% ของรถยนต์ใหม่แต่ละปี สำหรับในประเทศไทยปกติแล้วจะมีรถยนต์ใหม่ราว 7 หมื่นคัน แบ่งเป็นอัตราส่วนที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 4.2 พันคัน”


    บทความอื่น ๆ

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts