More

    ทำความรู้จัก น้ำมันรถยนต์มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

    เป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จะต้องพารถคันโปรดไปเติมน้ำมันกันอยู่ทุกๆวัน ซึ่งก็ยังมีหลายๆคนที่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับน้ำมันแต่ละชนิดว่ามีกี่ประเภท เติมอันไหนดี อันไหนไม่ดี เหมาะสมกับรถของตัวเองหรือไม่ ในวันนี้เราจะมาแปะความรู้ เพื่อให้มือใหม่หลายๆคนได้ศึกษาว่าน้ำมันแต่ละชนิดนั้นมีกี่ประเภท มีความแตกต่างกันอย่างไร

    น้ำมันรถยนต์หรือ “เชื้อเพลิงเหลว” เป็นหนึ่งในส่วนองค์ประกอบสำคัญของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้สำหรับการจุดระเบิด นอกเหนือจาก “อากาศ” และ “ไฟ” ดังนั้น รถจะวิ่งได้ต้องเติมน้ำมันซึ่งใคร ๆ ก็รู้ แต่หลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นขับรถอาจ “งง” เมื่อต้องเติมน้ำมันแล้วพบว่า “น้ำมันรถยนต์” มันไม่ได้มีแบบเดียวแล้วจะต้องเลือกเติมประเภท น้ำมัน แบบไหนดี น้ํามันแก๊สโซฮอล์ 91, น้ํามันแก๊สโซฮอล์ 91, น้ำมัน 10, E20, E85, B7

    เลือกประเภท น้ำมัน แบบไหน

    อันดับแรกง่าย ๆ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องสนว่าน้ำมันรถยนต์มีกี่ประเภท ให้เลือกน้ำมันแบบไหน ยี่ห้อไหนก็ได้ขอแค่ให้เป็นไปตามที่ “ผู้ผลิตกำหนด” โดยดูได้จากด้านในฝาถังน้ำมันหรือคู่มือประจำรถหรือถามเซลล์ที่ขายรถก็ได้ว่าเรารถของเรานั้นใช้น้ำมันชนิดไหนดี

    น้ำมันรถยนต์ในปัจจุบัน หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือน้ำมันเบนซินกับน้ำมันดีเซล แต่ทั้ง 2 ชนิดจำแนกแยกย่อยประเภทออกไปได้อีก ดังนี้

    1. น้ำมันเบนซิน

    น้ำมันเบนซิน เป็นประเภทน้ำมันรถยนต์ที่ราคาแพงสุดและหลายปั๊มไม่มีจำหน่ายแล้ว ส่วนมากจำเป็นสำหรับรถรุ่นเก่าหรือรถรุ่นใหม่ก็เติมได้ถ้าอยาก ปัจจุบัน “น้ำมันเบนซิน” ที่มีจำหน่ายเป็นค่าออกเทน 95 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ไม่มีส่วนผสมของ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether)

    2. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95

    น้ำมันรถยนต์เบนซินประเภท แก๊สโซฮอล์ 95 คือมีค่าออกเทน 95 ใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินได้ จะต่างกันก็ตรง แก๊สโซฮอล์ 95 เป็นการนำน้ำมันเบนซิน 91 มาผสมกับ MTBE (ได้ออกออกเทน 95) แต่สำหรับรถสูงวัยที่ท่อน้ำมันไม่ได้ทนต่อสาร MTBE ก็ไม่ควรเติมถ้าไม่จำเป็นหรือถ้าจำเป็นต้องเติมเพราะหาปั๊มน้ำมันที่ขายเบนซินเพียว ๆ ไม่ได้ หรือเติมไปโดยไม่รู้ก็สามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำบ่อยและเมื่อเติมแล้วใช้ให้หมดถังโดยไวจะเป็นการดี

    3. น้ํามันแก๊สโซฮอล์ 91

    น้ำมันรถยนต์เบนซินประเภท แก๊สโซฮอล์ 91 (หรือน้ำมัน e10) เดิม ถูกสร้างมาเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 91 มีส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซินพื้นฐานกับ MTBE ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 (เบนซิน 9 ส่วน MTBE 1 ส่วน) ได้ค่าออกเทน 91

    4. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20

    น้ำมันรถยนต์เบนซินประเภท แก๊สโซฮอล์ E20 ได้ถูกกำหนดให้รถยนต์เครื่องเบนซินใหม่ที่ขายในไทย (ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นไป) ต้องรองรับน้ำมันชนิดนี้ได้ โดยแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นนํ้ามันที่เป็นการผสมน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว 80% กับ MTBE 20% มีค่าออกเทน 95

    5. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85

    น้ำมันรถยนต์เบนซินประเภท แก๊สโซฮอล์ E85 ก็เหมือน E20 แต่จะแตกต่างกันตรงอัตราส่วนผสม คือน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว 15% และผสม MTBE เยอะหน่อยที่ 85% เพื่อให้มีราคาต่ำลง แต่ก็เผาไหม้เร็วความสิ้นเปลืองต่อลิตรสูงกว่า E20 และยังกัดกร่อนชิ้นส่วนภายในระบบ ดังนั้น รถที่ระบุว่ารองรับ E85 ได้เท่านั้น จึงจะเลือกเติมน้ำมันชนิดนี้ได้

    6. น้ำมันพรีเมียมดีเซล

    น้ำมันรถยนต์ดีเซลประเภทพรีเมียม (B7 พรีเมียม) จะมีราคาสูงสุดในกลุ่มน้ำมันดีเซล ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์พรีเมียมที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลส่วนใหญ่มักแนะนำให้เติมน้ำมันพรีเมียมดีเซลเท่านั้น เรื่องนี้ก็มีเหตุผลของมันเพราะคุณภาพของน้ำมันดีกว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนสูง

    7. น้ำมันดีเซล B7

    น้ำมันดีเซล B7 คือชื่อใหม่ ที่เดิมคือ น้ำมันดีเซลเฉย ๆ (เพื่อที่จะเปลี่ยนดีเซล B10 มาใช้ชื่อ “ดีเซล” สับขาหลอกให้คนไปเติมน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมชีวภาพ B10 เป็นวิธีการที่แย่ของผู้คุมกฎ ควรสื่อสารถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย สนับสนุนด้านราคา ไม่ใช่มาทำแบบนี้ ไม่โอเค ไม่จริงใจ) คือน้ำมันดีเซลเดิมที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซลลงไปประมาณ 7%

    8. น้ำมันดีเซล

    น้ำมันดีเซล (เฉย ๆ) ในปัจจุบัน คือน้ำมันดีเซล B10 ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ดีเซล” มีส่วนผสมของไบโอดีเซลลงไปประมาณ 10% ทั้งหมดเป็นกลยุทธ์เพื่อให้คนหันมาเติม ดีเซล B10 โดยไม่รู้สึกนึกรังเกียจไบโอดีเซล 10% นั้น คำถามคือ “ทำไมต้องทำแบบนี้” ฟอร์…ว๊อททททท

    9. น้ำมันดีเซล B20

    นี่ก็อีก เป็นน้ำมันรถยนต์ดีเซลที่พยายามเอื้อให้ผู้ผลิตรถกระบะดีเซลที่รองรับเชื้อเพลิงดีเซล B20 ได้เสียอัตราภาษีสรรพสามิตต่ำลง (ขายรถได้มาก ๆ เพราะไทยตั้งให้กระบะดีเซลเป็น Product Champion เพื่ออะไรก็…) และขายดีเซล B20 ได้มากขึ้น แต่ราคาดีเซล B20 ก็ไม่ได้ถูกกว่าน้ำมันดีเซล (B10 เดิม) เท่าไรนัก

    ได้ความรู้เพิ่มเติมแบบนี้ เพราะฉะนั้นก็มาเลือกเติมน้ำมันที่เหมาะสมกับรถและรักษาระบบการขับเคลื่อนที่เป็นผลดีกับรถของเรา นอกจากนั้นยังมีวิธีการดูแลรถต่างๆอีกมากมาย ซึ่งสามารถหาดูได้ที่เว็ปไซต์ Car2Day.com


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts