More

    รู้หรือไม่!! ขยะจากหน้ากากอนามัยสามารถทำถนนได้

    จากสถานการณ์ COVID-19 ที่กลับมาระบาดหนักอีกครั้งในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สร้างวิกฤตสุขภาพทั่วโลก ส่งผลให้การใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งรวมถึงขยะจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วทั้งจากบ้านเรือน และจากสถานพยาบาล สถานที่สำหรับผู้กักตัว และคนทั่วไปที่ใช้ป้องกัน มีมากถึง 25 ตัน/วัน จนหลายคนถามว่าจะกำจัดอย่างไรให้หมดไป เพราะหากปล่อยไว้ การทิ้งขยะหน้ากากอนามัยอย่างไม่ถูกวิธี จะปะปนไปกับขยะในครัวเรือน ทำให้เกิดขยะติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นทวีคูณไม่จบไม่สิ้น เพราะยังมีผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอีกเป็นจำนวนมาก และการจะจำกัดให้ผู้คนแยกทิ้งขยะอนามัยนั้นคงเป็นเรื่องยาก แต่วันนั้น Car2Day จะมาบอกข่าวดีที่สามารถนำขยะติดเชื้อเหล่านี้มารีไซเคิลให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยมาบอกต่อค่ะ เพื่อขอความร่วมมือร่วมแรงจากทุกภาคส่วนให้ช่วยกันส่งเสริมและรณรงค์ในการกำจัดขยะจากหน้ากากอนมัยให้เกิดประโยชน์ในต่อไป

    Dr.Mohammad Saberian นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RMIT ประเทศออสเตรเลีย ได้หาทางออกให้กับเรื่องนี้ โดยนำขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งที่ผลิตจากผ้าชนิดไม่ถักทอจากเส้นใยพอลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) นำมารีไซเคิลเป็นวัสดุทำพื้นถนนหรือทางเท้า ด้วยการนำมาผสมลงในคอนกรีตรีไซเคิล จากการทดลองนี้พบว่า ถนนมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งการทำถนน 2 เลน ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะต้องใช้ขยะหน้ากากอนามัยถึง 3 ล้านชิ้น นับว่าเป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาขยะติดเชื้อล้นเมืองได้เป็นอย่างดี

     

    แม้ในการทดลองของกระบวนการนี้จะใช้หน้ากากอนามัยสะอาด เพื่อความปลอดภัยตามข้อกำหนดของการทดสอบในห้องทดลอง แต่เมื่อนำมาใช้จริง ขยะหน้ากากอนามัยที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจะต้องฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่ 75 องศาเซลเซียสก่อนจะนำมารีไซเคิล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ซึ่งจากงานวิจัยได้มีการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของถนนที่ใช้หน้ากากใหม่กับหน้ากากที่ใช้แล้วด้วยเช่นกัน และพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีไม่แตกต่างกันเลย

    เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงลบที่เกิดจากการระบาดใหญ่ จำเป็นต้องมีความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพอย่างเร่งด่วน ชุมชนวิทยาศาสตร์ธรณีเทคนิคสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ทักษะทางวิชาชีพที่สั่งสมมายาวนานเพื่อสร้างคุณูปการสำคัญในการต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 การใช้วัสดุเหลือใช้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อในการใช้งานทางธรณีเทคนิคได้รับการแนะนำว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียที่เกิดจากการระบาดใหญ่


    อ้างอิงจาก :  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/

    The COVID-19 pandemic has greatly increased the use of surgical masks. Infectious waste from COVID-19 and used masks from households, hospitals, and the general public totals 21.63 tons each day, according to Environment Department information on 10 May.​
    So how do we solve this? Incorrect disposal means masks are mixed in with household waste, increasing the huge amount of infectious waste. We need to separate waste properly or find a new approach.​

    Dr. Mohammad Saberian, a researcher from RMIT in Australia, found a solution by recycling single-use surgical masks from polypropylene (PP) and mixing them into recycled concrete. He found that streets are more durable and flexible when surgical masks are used. Building a kilometer of 2-lane road would use 3 million surgical masks.
    This research used clean surgical masks for safety, under laboratory policy. In practice, masks would need to be disinfected with 75°C heat before recycling. The study also compared used and unused surgical masks and found the same efficiency.​
    Story by: Supunnapang Raksawong, Materials Researcher​


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts