More

    เปิดกฎหมาย ” ห้ามรถบรรทุก” วิ่งในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ

    บทความนี้เราจะมา เปิดกฎหมาย ” ห้ามรถบรรทุก” วิ่งในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ  ห้ามอย่างไร มีกฎแบบไหน ต้องปฎิบัติตามอย่างไร วันนี้มาหาคำตอบกันครับ

    ก่อนขับรถบรรทุก อันดับแรก ควรเรียนหัดขับก่อน เพราะการขับรถบรรทุกนั้น จะมีข้อแตกต่างกว่าการขับรถยนต์ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะขับรถยนต์เป็นอยู่แล้ว ก็ใช่ว่าจะขับรถบรรทุกได้ง่ายๆ เพราะด้วยช่วงความยาว น้ำหนัก ขนาดรถที่ต่างกัน ดังนั้นแนะนำว่าควรมีการเรียน ฝึกขับรถบรรทุกเพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถก่อนออกถนนจริง

    เมื่อขับรถบรรทุกเป็นแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องมีคือ ใบขับขี่ ไม่ว่าจะขับรถประเภทใด ตามกฎหมายแล้ว จะต้องมีใบอนุญาตในการขับขี่ ในส่วนของรถบรรทุกนั้น ใบขับขี่จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    • ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลได้ เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว)
    • ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้สำหรับ ขนส่งเพื่อการค้า ธุรกิจส่วนตัว ใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง การขนส่งคน สิ่งของ หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ เช่น รถบรรทุกสาธารณะ รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง)

    การจำกัดเวลาของพื้นที่เปิดให้รถบรรทุกวิ่งในเขตของ กรุงเทพมหานครฯ 

    การจำกัดเวลา และพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก ในส่วนของพื้นที่ในกรุงเทพนั้น เรื่องการจราจรติดขัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนช่วงเช้าและช่วงเย็นหรือวันหยุดยาวต่างๆ จึงมีกฎหมายออกมากำหนดห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน ดังนี้

    • วิ่งบนทางราบ
        • ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น.ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
        • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
        • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00-10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
        • ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.

     

    • วิ่งบนทางด่วน
        • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
        • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
        • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

     

     

    มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุก หรือพิกัดน้ำหนักตามกฎหมายกำหนด

    ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถ เอาไว้ดังนี้

    • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน
    • รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
    • รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
    • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน

    ทุกครั้งที่บรรทุกของ ต้องมีผ้าคลุมแน่นหนา และมีอุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย การคลุมผ้าใบ จะต้องใช้ผ้าใบสีทึบ และยึดติดกับตัวรถให้มีความแข็งแรงพอที่ไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น จนทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก หรือรถกระบะก็ตาม หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการจะต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์อีกด้วย

    เพิ่มความปลอดภัยโดยการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง

     

    แผ่นสะท้อนแสง จะทำหน้าที่สะท้อนแสง กับไฟหน้าของรถคันอื่นๆ เพื่อช่วยในการมองเห็น ขณะขับรถบรรทุกในตอนกลางคืน เพิ่มความปลอดภัย โดยรถบรรทุกทุกคัน จะต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงให้ถูกตำแหน่ง โดยมีการประกาศนี้ บังคับใช้กับรถบรรทุกที่มีจำนวน เพลา ล้อและยางตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป (รถสิบล้อขึ้นไป) ยกเว้นรถลากจูง หากฝ่าฝืนจะผิด พรบ.ขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท

    GPS คือสิ่งสำคัญ รถบรรทุกต้องติดตั้ง และเปิด GPS ตลอดเวลา

    กฎบังคับใช้จากกรมการขนส่งทางบกโดยมีการกำหนดให้ รถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ), รถลากจูง, รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ทุกคันจะต้องติดตั้งระบบ GPS เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล กับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของภาครัฐ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่ เช่น การใช้ความเร็วในการขับขี่, เวลาในการเดินรถ รวมถึงพิกัดของตัวรถ หากไม่ติดตั้ง หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้

    น้ำมันรถต้องเพียงพอกับระยะทาง

    ทุกครั้งก่อนบรรทุกของเดินทาง ควรเช็คว่าน้ำมันรถเพียงพอต่อการวิ่งหรือไม่ ส่วนใหญ่ คนขับรถจะกะปริมาณน้ำมันไว้แล้วว่าจะสิ้นสุดที่ระยะจังหวัดใด เพราะการเข้าจอดเทียบเพื่อเติมน้ำมันรอบใหม่แต่ละครั้งนั้นกินเวลานาน เนื่องจากต้องต่อคิวนาน รวมถึงปั๊มสำหรับเติมน้ำมันรถบรรทุกนี้ไม่ได้สะดวกทุกที่ จะต้องเข้าจอดในปั้มเฉพาะรถบรรทุกอันมีพื้นที่เพียงพอให้เลี้ยวเข้าจอดและหักเลี้ยวกลับรถได้ถนัดกว่ากันด้วย


     

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts