ตลาดรถยนต์เมืองไทยยังทรงตัวเช่นเดิมล่าสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาทำยอดขายได้ 58,963 คัน ลดลง 8.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยดาวเด่นอย่างรถยนต์นั่งเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 22,130 คัน เติบโต 13.7% เป็นผลมาจากการเติบโตของเซกเมนต์อีโคคาร์ด้วยยอดขาย 16,800 คัน เติบโตขึ้นถึง 20.3% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,833 คัน ลดลง 18.4% โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ปิดยอดขายที่ 22,998 คัน หดตัวถึง 35.1% โดยมีประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์จากปัจจัยหลักเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างลื่นไหล ผู้บริโภคยังคงชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องโดยมีอุปสรรคสำคัญก็คือความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากมีความกังวลต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้รับสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถเพื่อการพาณิชย์และตลาดรถปิกอัพ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกระแสการหมุนเวียนของสินเชื่อเป็นหลัก
ส่วนตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนมีความหวังฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ตามฤดูกาลขาย “High season” ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างมีแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อหวังกระตุ้นยอดขายและปิดตัวเลขการขายประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 40” หรือ “Thailand International Motor Expo 2023” ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน- 11 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งลูกค้าจำนวนมากต่างเฝ้ารอรับข้อเสนอพิเศษสุดแห่งปี อย่างไรก็ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์ทุกเซกเมนท์อย่างปฏิเสธไม่ได้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนตุลาคม 2566
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,963 คัน ลดลง 8.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,852 คัน ลดลง 18.0 % ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,962 คัน ลดลง 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 18.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,306 คัน เพิ่มขึ้น 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
อันดับที่ 4 บีวายดี 3,840 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
อันดับที่ 5 เอ็มจี 2,700 คัน เพิ่มขึ้น 43.2% ส่วนแบ่งตลาด 4.6%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,130 คัน เพิ่มขึ้น 13.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,165 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,462 คัน ลดลง 36.5% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%
อันดับที่ 3 บีวายดี 2,413 คัน ส่วนแบ่ตลาด 10.9%
อันดับที่ 4 เอ็มจี 2,127 คัน เพิ่มขึ้น 187.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
อันดับที่ 5 เนต้า 1,058 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.8%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,833 คัน ลดลง 18.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,687 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,962 คัน ลดลง 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 3,844 คัน เพิ่มขึ้น 744.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 2,539 คัน ลดลง 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
อันดับที่ 5 บีวายดี 1,427 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3.9%
4. ตลาดรถปิกอัพ 1 ตัน (Pure Pick up และ รถ PPV*) ปริมาณการขาย 22,998 คัน ลดลง 35.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,725 คัน ลดลง 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,338 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,539 คัน ลดลง 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 977 คัน ลดลง 48.5% ส่วนแบ่งตลาด 4.2%
อันดับที่ 5 นิสสัน 308 คัน ลดลง 24.7% ส่วนแบ่งตลาด 1.3%
*ปริมาณการขายรถปิกอัพดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 4,325 คัน ลดลง 19.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 1,704 คัน ลดลง 30.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 1,482 คัน เพิ่มขึ้น 42.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 848 คัน ลดลง 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 19.6%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 231 คัน ลดลง 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
อันดับที่ 5 นิสสัน 60 คัน ลดลง 34.1% ส่วนแบ่งตลาด 1.4%
5. ตลาดรถปิกอัพ Pure Pick up ปริมาณการขาย 18,673 คัน ลดลง 37.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 8,243 คัน ลดลง 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,634 คัน ลดลง 39.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,691 คัน ลดลง 54.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 746 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 4.0%
อันดับที่ 5 นิสสัน 231 คัน ลดลง 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ตุลาคม 2566
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 645,833 คัน ลดลง 7.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 220,144 คัน ลดลง 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 131,256 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 20.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 77,188 คัน เพิ่มขึ้น 14.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
อันดับที่ 4 ฟอร์ด 31,329คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
อันดับที่ 5 มิตซูบิชิ 28,280 คัน ลดลง 33.8% ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 241,798 คัน เพิ่มขึ้น 9.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 84,522 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 47,369 คัน ลดลง 7.9% ส่วนแบ่งตลาด 19.6%
อันดับที่ 3 เอ็มจี 15,459 คัน เพิ่มขึ้น 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 13,419 คัน ลดลง 24.8% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
อันดับที่ 5 เนต้า 10,565 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.4%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 404,035 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 135,622 คัน ลดลง 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 131,256 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 31,312 คัน ลดลง 89.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
อันดับที่ 4 ฮอนด้า 29,819 คัน เพิ่มขึ้น 89.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
อันดับที่ 5 บีวายดี 17,350 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4.3%
4. ตลาดรถปิกอัพ 1 ตัน (Pure Pick up และ รถ PPV*) ปริมาณการขาย 278,897 คัน ลดลง 25.7%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 117,883 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 109,531 คัน ลดลง 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 31,312 คัน ลดลง 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 14,767 คัน ลดลง 40.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.3%
อันดับที่ 5 นิสสัน 3,813 คัน ลดลง 34.4% ส่วนแบ่งตลาด 1.4%
*ปริมาณการขายรถปิกอัพดัดแปลง PPV ปริมาณการขาย 51,555 คัน ลดลง 0.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,896 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,031 คัน เพิ่มขึ้น 19.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,118 คัน เพิ่มขึ้น 48.4% ส่วนแบ่งตลาด 19.6%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 3,524 คัน ลดลง 43.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
อันดับที่ 5 นิสสัน 986 คัน ลดลง 3.4% ส่วนแบ่งตลาด 1.9%
5. ตลาดรถปิกอัพ Pure Pick up ปริมาณการขาย 227,342 คัน ลดลง 29.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 99,852 คัน ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 90,635 คัน ลดลง 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 21,194 คัน ลดลง 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ 11,243 คัน ลดลง 39.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.9%
อันดับที่ 5 นิสสัน 2,827 คัน ลดลง 41.0% ส่วนแบ่งตลาด 1.2%