More

    อัปเดตกฎหมาย “เมาแล้วขับ 2565” นอนคุก ขึ้นศาล ไม่มีข้อยกเว้น!!

    ส่งท้ายปีด้วยเทศกาลแน่น ๆ หลายเทศกาลที่ทำให้นักดื่มหลาย ๆ คนนัดรวมตัวกันสังสรรค์กันไม่เว้นวัน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือการเดินทาง หากใครที่ใช้บริการรถสาธารณะเดินทางแทนการขับรถไปเอง อันนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะไม่เดือดร้อนหากคุณดื่มจนเมา ความสามารถในการขับขี่ลดลง วันนี้เรามาอัปเดตกฎหมาย “เมาแล้วขับ” เพื่อเตือนใจให้เพื่อน ๆ ที่กำลังจะออกไปดื่มในช่วงท้ายปีนี้ เช็กกันดูสักหน่อยว่า หากคุณเมาและขับ ถูกด่านตรวจจับได้นั้น จะโดนโทษอย่างไรบ้าง 

    สรุป “กฎหมายเมาแล้วขับ”

    “เมาแล้วขับ” ทั่วไป

    • เมื่อมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และเป็นผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 บริบูรณ์ หรือ มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ให้ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”
    • และเมื่อมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

    ให้ผู้ที่เข้าข่ายทั้ง 2 เกณฑ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับ

    “เมาแล้วขับ” แล้ว “ปฏิเสธการเป่า” หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุ

    • เบื้องต้นมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน นอกจากนี้ศาลยังสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน

    “เมาแล้วขับ” และทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ”

    • จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

    “เมาแล้วขับ” และทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”

    • จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 – 120,000 บาท และระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี

    “เมาแล้วขับ” และทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย”

    • จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที

    หาก “เมาแล้วขับ” ประกันรถยนต์จะช่วยจ่ายไหม?

    กรณีนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี เนื่องจากประกันรถยนต์มีทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และ ประกันชั้น 3+) ซึ่งแต่ละประเภทก็มีเงื่อนไขในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน

    กรณีที่ 1 พ.ร.บ. รถยนต์
    จะคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยไม่พิสูจน์ความถูกหรือผิด ซึ่งจะจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับ “ค่ารักษาพยาบาล” เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เอาประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่คุ้มครอง

    กรณีที่ 2 ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

    • ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
      กรณีที่คุณดื่มมา ถึงแม้ค่าแอลกอฮอล์จะไม่เกิน แต่ประกันรถของคุณไม่ว่าจะชั้นไหน จะคุ้มครองแค่คู่กรณีเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดความคุ้มครองเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่ซื้อไว้
    • ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
      ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองผู้เอาประกันและบุคคลภายนอกทุกกรณี แต่ทั้งนี้ ในส่วนความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ประกันภัยจะยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปก่อน แล้วไปเรียกเก็บคืนจากผู้ขับขี่ที่เอาประกันอีกที

    ด้วยความห่วงใยจาก Car2day หากคุณจะต้องออกไปสังสรรค์กับเพื่อน ไม่ว่าจะดื่มมากหรือดื่มน้อย หากจำเป็นต้องเดินทางไป ให้เลือกใช้รถโดยสารสาธารณะจะดีที่สุด อย่าประมาท อย่ามองข้ามเรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวคุณเองและของผู้อื่น เพราะคุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการร้ายแรงใดขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อจะได้ออกไปดื่มได้บ่อย ๆ สนุกสนานกับเพื่อนได้เต็มที่ ควรมีสติในการใช้ชีวิตและระมัดระวังให้มากนะคะ

    ขอบคุณข้อมูลจาก : EasyCompare


    บทความอื่น ๆ

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts