More

    Toyota เปิดโรงเรือนในโรงงาน ปลูกสตรอเบอรี่ มะเขือเทศเชอรี่ ให้พนักงานกินฟรี

    ผู้ผลิตรถยนต์หลายราย ได้ปรับเปลี่ยนจากโรงงานผลิตรถยนต์เดิม ให้กลายมาเป็นผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงโครงการริเริ่มอื่นๆ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงงานบางแห่งใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนกลับมาเป็นพลังงานด้านอื่นๆ บางแห่งผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากการพลาสติกรีไซเคิลและของเสียอื่นๆ แต่โรงงานของ Toyota สองแห่งในประเทศญี่ปุ่นใช้แนวทางที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้ความร้อนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการปลูกสตรอเบอร์รี่และมะเขือเทศเชอรี่

    โตโยต้าตระหนักดีถึงผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากความร้อนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากเกินไป ในเดือนเมษายน ปี 2022 ด้วยการร่วมมือของเกษตรกร ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือในการสร้างเรือนกระจกทดลองภายในโรงงาน Kamigo เพื่อปลูกสตรอเบอร์รี่ ซึ่งเป็นที่ที่ใช้สร้างเครื่องยนต์สำหรับ Toyota Crown และ Lexus รุ่นอื่นๆ และปลูกมะเขือเทศเชอรี่ที่โรงงาน Myochi

    จากความพยายามที่เพิ่มขึ้นของโตโยต้า ทำให้สามารถสร้างผลผลิตได้ใหญ่มากกว่า 1.5 เท่าของผลผลิตเดิม การออกแบบโรงเรือนนี้ ช่วยลดการสิ้นเปลืองพื้นที่สำหรับแถวที่ไม่ได้ใช้ระหว่างกระถางต้นไม้ ระบบช่วยให้ผู้ปลูกสามารถเดินเข้าถึงแนวเพาะปลูกได้ทุกที่ และทุกเวลาที่ต้องการ

    “เกษตรกรไม่ต้องเป็นกังวลว่าโตโยต้าจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจของตน เนื่องจากสตรอเบอร์รี่และมะเขือเทศเชอรี่ที่ปลูกได้ในโรงงานจะถูกแจกจ่ายให้กับพนักงานทานฟรีในโรงอาหาร แต่อีกด้านหนึ่งต้องการให้ใช้ความเชี่ยวชาญและประสิทธิภาพต่างๆ ของโรงงานจะสามารถช่วยสร้าง “ระบบการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ” ได้อย่างไร” ฮิโรชิ โอคาจิมะ ผู้จัดการทั่วไปโครงการโตโยต้า แผนกวิจัยและพัฒนาและการจัดการวิศวกรรม กล่าว

    โตโยต้าปลูกผลไม้โดยใช้ไฟ LED สีชมพู โดยได้นำไฟสีเขียวออก ทำให้โคมไฟมีสีที่เป็นเอกลักษณ์ โทนสีเขียวไม่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง

    Toyota ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์เพียงรายเดียวที่สำรวจวิธีการใหม่ๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Stellantis ประกาศลงนามข้อตกลงกับ Vulcan Energy Resources เพื่อสำรวจการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพที่โรงงานแห่งหนึ่ง นี่จะเป็นครั้งแรกสำหรับผู้ผลิตรถยนต์และอาจเกิดขึ้นภายในปี 2025 หากเป็นไปได้

    ทางด้าน Aston Martin ได้ประกาศความสำเร็จในการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนในโรงงานสองแห่ง บริษัทอยู่ในแผนอันทะเยอทะยานที่จะมีการดำเนินงานด้านการผลิตคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในสิ้นทศวรรษนี้ Aston Martin ในตุรกี ได้ติดตั้งกังหันลมมากกว่า 120 ตัว ซึ่งเป็นทางเลือกทดแทนการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

    ผู้ผลิตรถยนต์อาจใช้ความพยายามด้านการเกษตรอื่นๆ ในขณะที่พวกเขามองหาวิธีใหม่ๆ ในการเปลี่ยนของเสียให้เป็นทรัพยากร การผลักดันไปสู่แนวคิดสีเขียวยังรวมถึงการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในยานพาหนะใหม่ๆ เช่น อวนจับปลาและพลาสติกอื่นๆ

     

    Source: Motor1, Toyota Times

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts