More

    ข้อแตกต่าง ระหว่าง ” All New กับ Minor Change “

    หลายคนที่เคยซื้อรถไปแล้ว กับที่กำลังอยากจะซื้อรถใหม่ ยังคงสับสนกับการเรียกโมเดลรถของแต่ละรุ่น แต่ละปีอยู่ ซึ่งก็มีมาให้เรางงกันมากขึ้น สำหรับวันนี้ เราจะมาไขข้อข้องใจของคำว่า “All New และ Minor Change” กันก่อน ว่าศัพท์ที่เค้าเรียกโมเดลรถในแต่ละรุ่นในยุคนี้นั้น มีข้อแตกต่างและความหมายว่าอย่างไร 

    การใช้คำว่า All New มาเป็นจุดขายในการเปิดตัวและการโฆษณารถแต่ละครั้งนั้น มีความหมายว่า รถรุ่นนั้นจะต้องเปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งคัน โดยเฉพาะการออกแบบตัวถังใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิม ถึงแม้ว่าจะใช้ชื่อรุ่นเดิม  และในส่วนของภายในคอนโซลด้านใน หรือที่บางคนอาจจะเรียกการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า Model Change ซึ่งตามปกติแล้วรถแต่ละรุ่นจะเปลี่ยนโฉมหรือ Model Change กันทุก 7-10 ปี ตัวอย่าง เช่น รถยนต์ Honda Civic โมเดลปัจจุบัน ที่ขายอยู่ในโชว์รูมบ้านเรา ถือเป็น Civic เจอเนอเรชั่นที่ 11 นับตั้งแต่ค่ายรถ Honda ผลิตรถยนต์รุ่นนี้ออกมา ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น All New ในปัจจุบันแล้ว

    ในรุ่นที่ใช้คำว่า Minor Change คือการปรับโฉมไม่ใช่เปลี่ยนโฉม ในวงการรถยนต์บ้านเราน่าจะคุ้นหูกับคำว่า Minor Change ซึ่งรถที่มีการ Minor Change คือรถที่นำเอาโมเดลเดิมของรุ่นนั้นมา ปรับเปลี่ยนรายละเอียดอื่นๆ ยกเว้นรูปแบบตัวถังที่อาจจะยังคงรูปทรงเดิม แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือส่วนของกระจังหน้า ไฟหน้า และไฟท้าย รวมไปถึงเครื่องยนต์และเกียร์ ซึ่งบางสำนักในต่างประเทศอาจจะใช้คำว่า Facelift แทนที่ Minor Change ในการปรับโฉมนั้น ซึ่งความหมายเหมือนกัน

    และนี่คือความหมายที่แตกต่างกันของ All New และ Minor Change ที่ตลาดรถยนต์ในบ้านเราใช้เรียกกันของแต่ละรูปแบบ ที่ผู้ซื้อควรที่จะต้องรู้เท่าทันค่ายรถ รวมถึงคำโฆษณา เพราะบางที รถที่โฆษณาว่า All New บางรุ่น อาจไม่ All New เสมอไป เราจึงต้องอาศัยความรู้ในส่วนของการเป็นแฟนพันธุ์แท้ในค่ายนั้นๆ เพื่อที่จะได้มาประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อว่าคุ้มค่าเงินที่เราจะต้องเสียไปหรือไม่


    บทความที่เกี่ยวข้อง

    ABOUT THE AUTHOR

    Latest Posts